"ถาวร" สวนมติส.ส.พรรคส่งชื่อประธานสภาฯแข่ง "พลังประชารัฐ"

ในวันที่ 25 พ.ค. 62 จะมีการเรียกประชุมสภาผู้แทนราษฎร ตามที่สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรได้ส่งหนังสือเรียก เพื่อลงมติเลือกประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งถือเป็นตำแหน่งสำคัญยิ่งทางการเมือง

ในวันที่ 25 พ.ค. 62 จะมีการเรียกประชุมสภาผู้แทนราษฎร ตามที่สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรได้ส่งหนังสือเรียก  เพื่อลงมติเลือกประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งถือเป็นตำแหน่งสำคัญยิ่งทางการเมือง

 

สำหรับผู้ท้าชิงจากทางฝั่งพรรคพลังประชารัฐ ค่อนข้างที่จะชัดเจนแล้วว่าน่าจะเป็น “สุชาติ ตันเจริญ” ส.ส. ฉะเชิงเทรา 8สมัย อีกทั้งเคยดำรงตำแหน่งเป็นรองประธานสภาฯ เมื่อปี 48 นับเป็นคนแรกๆที่ประกาศพร้อมทำหน้าที่ประธานสภาฯ

 

"ถาวร" สวนมติส.ส.พรรคส่งชื่อประธานสภาฯแข่ง "พลังประชารัฐ"

 

ล่าสุดนายสุชาติ ให้สัมภาษณ์ถึงความคืบหน้าการสรรหาบุคคลที่พรรคจะเสนอให้ดำรงตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎรว่า  บุคคลที่พรรคจะเสนอชื่อนั้นชัดเจนแล้วว่า เป็นชื่อของตนซึ่งเรื่องของประธานสภาฯจะได้ความชัดเจนพร้อมกับเรื่องการจัดตั้งรัฐบาลทั้งสองเรื่องนี้ต้องได้ข้อยุติพร้อมกัน

 

ในเวลาต่อมามีความเคลื่อนไหวจากฝากฝั่งพรรคประชาธิปัตย์. มีการประชุม ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ 52 คน  โดยมีนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เป็นประธานที่ประชุม

 

ขณะที่การหารือของคณะกรรมการบริหารพรรคเวลา 14.00 น. โดยมีนายนิพนธ์ บุญญามณี รองหัวหน้าพรรค ได้รับมอบหมายหัวหน้าพรรคให้ทำหน้าที่ประธานที่ประชุม โดยมีกรรมการบริหารพรรคเข้าประชุมอย่างพร้อมเพรียง

 

"ถาวร" สวนมติส.ส.พรรคส่งชื่อประธานสภาฯแข่ง "พลังประชารัฐ"

 

ทั้งนี้ นายนิพนธ์ ได้แจ้งให้ทราบว่า ขณะนี้ยังอยู่ในขั้นตอนการประสานงานเพื่อพิจารณาแนวทางในการจะเข้าร่วมรัฐบาลหรือไม่ จึงขอให้ กก.บห. กลับไปก่อน เพื่อให้ที่ประชุม ส.ส. พรรคแสดงความคิดเห็นได้อย่างเต็มที่ และได้นัดหมายกก.บห. มาเตรียมความพร้อม ในวันที่ 24 พ.ค.เวลา 16.00 น. เพื่อรอประชุมร่วมกับ ส.ส.กลับจากการเข้าร่วมรัฐพิธีเปิดสมัยประชุมสภาผู้แทนราษฏร

 

"ถาวร" สวนมติส.ส.พรรคส่งชื่อประธานสภาฯแข่ง "พลังประชารัฐ"

 

จากนั้นเวลา 16.30 น. นายราเมศ รัตนเชวง โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงหลังประชุมส.ส.ของพรรคว่า จากการมอบหมายให้คณะกรรมการบริหารพรรคไปประสานงานกับพรรคการเมืองต่างๆ ถึงแนวทางการจัดตั้งรัฐบาล นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน เลขาธิการพรรค ได้นำผลการประสานงานกลับมารายงานที่ประชุม ส.ส. โดยเบื้องต้นการประสานงานระหว่างพรรคการเมืองยังไม่เสร็จสิ้น จึงประชุมยังไม่มีข้อยุติว่าจะร่วมหรือไม่ร่วมรัฐบาล  จึงนัดประชุมร่วมกก.บห.และส.ส.พรุ่งนี้(24พ.ค.)ช่วงเย็น หลังเสร็จงานรัฐพิธี  ส่วนจะได้ข้อสรุปร่วมรัฐบาลหรือไม่ ต้องรอที่ประชุมร่วมพรุ่งนี้

"ที่ประชุมส.ส.ปชป.มีความเห็นร่วมกันว่า การทำงานของสภาที่ผ่านมาไม่เป็นกลาง เอื้อประโยชน์ให้บางพวกพ้อง ทำให้การทำงานของฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายบริหารไม่ก่อประโยชน์แก่ประเทศ จึงมีมติให้พรรคอาสาเป็นผู้นำฝ่ายนิติบัญญัติด้วยการส่งชื่อบุคคลที่เหมาะสมลงสมัครตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร ส่วนจะเป็นใครต้องขึ้นอยู่กับที่ประชุมคณะกรรมการบริหารพรรคและส.ส. ที่จะมีการประชุมในช่วงเย็นของ 24 พฤษภาคมนี้ " นายราเมศกล่าว

 

อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้มีการผนึกกำลังของพรรคตัวแปร  พรรคภูมิใจไทย พรรคประชาธิปัตย์ ดังนั้นหากจะไปร่วมรัฐบาลกับพรรคใดจะไปเป็นแพคทั้ง 2 พรรค และมีความเป็นไปได้เกือบร้อยเปอร์เซ็นว่าทั้งสองพรรคจากเข้าร่วมกับพรรคพลังประชารัฐ ด้วยข้อสรุปของที่ประชุมส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ เมื่อวันที่21 พ.ค.ที่ผ่านมา  คือ ให้นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์   ไปหารือการเข้าร่วมรัฐบาลกับใคร หรือพรรคไหนก็ได้  แต่ต้องไม่มีความเกี่ยวข้องกับพรรคเพื่อไทย  และ พรรคอนาคตใหม่  ซึ่งจะทำให้เสียงสนับสนุนของฝ่ายพลังประชารัฐสูงถึง 255 เสียง ชนะการโหวตเลือกประธานสภาค่อนข้างสูง เพราะฉะนั้น หากพรรคพลังประชารัฐ และพรรคประชาธิปัตย์ ยืนยันที่จะส่งชิงตำแหน่งถึง2คน จะเป็นการตัดทอนคะแนนพวกเดียวกันเองหรือไม่   และหากส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ เลือก คนจากพรรคประชาธิปัตย์เอง จะทำให้เสียงส.ส.หายไป52 เสียง  เหลือเพียง 203 เสียง

 

ดังนั้นจะทำให้โอกาสครองเก้าอี้ประธานสภาตกไปอยู่กับทางฝั่งพรรคเพื่อไทย ที่คาดว่าจะเสนอ นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ ส.ส.เชียงใหม่หลายสมัย อดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวง เข้าชิงเก้าอี้ประธานสภา จากเสียงสนับสนุนที่มีแล้ว 245 เสียง จากพรรคการเมืองอ้าง “ประชาธิปไตย” ประกอบด้วย  พรรคเพื่อไทย พรรคอนาคตใหม่  พรรคเสรีรวมไทย พรรคประชาชาติ พรรคเพื่อชาติ พรรคพลังปวงชนไทย และพรรคเศรษฐกิจใหม่  

 

"ถาวร" สวนมติส.ส.พรรคส่งชื่อประธานสภาฯแข่ง "พลังประชารัฐ"

 

ขณะที่ล่าสุดแหล่งข่าวระดับสูงของพรรคประชาธิปัตย์ ยืนยันกับ  "สำนักข่าวทีนิวส์" หากทางพรรคประชาธิปัตย์ยืนยันที่ส่งตัวแทนเข้าชิงตำแหน่งประธานสภา ทางด้านกลุ่มของนายถาวร เสนเนียม ส.ส.สงขลา  ประมาณ 27คน  งดออกเสียงสนับสนุนบุคคลที่พรรคประชาธิปัตย์เสนอเป็นประธานสภาฯ เพื่อแสดงจุดยืนในการไม่เห็นด้วยกับมติส.ส.พรรคที่เกิดขึ้น

 

ทั้งนี้ในข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2551 กำหนดขั้นตอนการเลือกประธานสภาและรองประธานสภา ไว้ในหมวด 1

เริ่มจากให้เลขาธิการเชิญสมาชิกผู้มีอายุสูงสุดทำหน้าที่เป็นประธานชั่วคราวของที่ประชุม เพื่อดำเนินการจากนั้นจะเปิดให้สมาชิกเสนอชื่อผู้เป็นประธานสภา โดยมีผู้รับรองไม่น้อยกว่ายี่สิบคน

 

หากมีผู้ได้รับการเสนอชื่อมากกว่าหนึ่งคนขึ้นไป จะต้องมี การลงคะแนนเป็นการลับ โดยเขียนชื่อผู้ที่ ส.ส.ประสงค์ลงคะแนนให้บนแผ่นกระดาษแล้วนำใส่ซอง แล้วจะเรียกชื่อตามลำดับอักษรให้นำซองมาใส่ภาชนะที่ใช้ในการตรวจนับคะแนน

 

ส่วนการเลือกรองประธานสภา ให้ดำเนินการแบบเดียวกันโดยเลือกรองประธานสภาคนที่หนึ่งก่อน แล้วจึงเลือกรองประธานคนที่สองต่อไป ดังนั้น กระบวนการทุกอย่างจะเป็นไปโดยลับไม่รู้ว่า ส.ส. คนใดลงคะแนนให้ผู้ได้รับการเสนอชื่อประธานสภาคนไหน

 

 

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง :

โบว์นัดเองแต่งดำ ฟอร์ดประกาศชุมนุมได้สส.เฮงซวยเข้าสภา

จับตาเย็นนี้ "เศรษฐกิจใหม่" จ่อลงมติ มีลุ้นร่วม "พลังประชารัฐ" ยกแผง!

ผู้มีอำนาจปชป.ดันมติเสนอชื่อ แข่งพปชร.ชิงเก้าอี้ปธ.สภาฯ จับตาไม่พ้น"ยุบสภา"เลือกตั้งใหม่"

"ถาวร" สวนมติพรรคส่งชื่อประธานสภาฯแข่ง "พลังประชารัฐ"