เตือน "นายกฯ" ระวัง "ที่ปรึกษาโครงการประชารัฐ"  ส่อถูกขึ้นบัญชีดำ (คลิป)

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติม www.tnews.co.th

 

ภายหลังการประชุม คณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (คตช.) ครั้งที่ 5/2559 ที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. เป็นประธานการประชุม  ร่วมกับ นายประยงค์ ปรียาจิตต์ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ หรือ ปปท. ,นายสังศิต พิริยะรังสรรค์ อนุกรรมการด้านการประชาสัมพันธ์ของคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ ,นายมานะ นิมิตรมงคล ผู้อำนวการองค์กรต่อต้านคอรัปชั่น,นางจุรี วิจิตรวาทการ กรรมการศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติและ นางสาวุทธิรัตน์ รัตนโชติ อธิบดีกรมบัญชีกลาง 

เป็นทางด้าน นายสังศิต พิริยะรังสรรค์ อนุกรรมการด้านการประชาสัมพันธ์ของคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ  ที่ออกมาเปิดเผยว่า  นายกรัฐมนตรีได้สั่งการเร่งรัดคดีทุจริตที่สร้างความเสียหายกับประเทศอย่างร้ายแรง เช่น โครงการบ้านเอื้ออาทร ที่ผ่านมาแล้วกว่า 20 ปี ไปรวบรวมข้อมูลและรายงานความคืบหน้าคดีนี้ ในการประชุมครั้งต่อไป และสั่งให้มีการรวบรวมรายชื่อนักธุรกิจที่มีพฤติกรรมทุจริตขึ้นบัญชีดำ เพื่อไม่ให้คนเหล่านี้เข้ามาทำธุรกิจหรือประมูลงานของภาครัฐได้อีก

 

จุดสำคัญคือที่ประชุมยังได้เน้นย้ำผลการทำงานที่ผ่านมาของรัฐบาลคสช.  ว่ามีส่วนสำคัญทำให้ดัชนีชี้วัดความโปร่งใสของประเทศไทย  ที่ประเมินโดยองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ ในรอบกว่า 10 ปี  และประเทศไทยสอบตกมาตลอด  เริ่มมีค่าวัดผลดีขึ้นหรือได้คะแนนที่ดีที่สุด คือ 38 คะแนน จาก 100 คะแนน

 

 

ขณะเดียวกันทางด้าน  นายประยงค์  ปรียาจิตต์  เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ปปท.)   ยังได้พูดถึงความคืบหน้าการตรวจสอบข้อมูลผู้ที่ต้องรับผิดชอบความเสียหายในการรับจำนำข้าว  ในส่วนร้อยละ 80  ของความเสียหายทั้งหมด  ว่า ขณะนี้กำลังรอข้อมูลในระดับจังหวัดที่จะส่งมาตรวจสอบเร็ว ๆ นี้   ทั้งในส่วนของคดีที่ ปปท.  ดำเนินการอยู่  986  คดี   โดยทาง ปปท.แต่งตั้งอนุกรรมการตรวจสอบแล้ว  911 คดี และกำลังจะเชิญอนุกรรมการชุดต่าง ๆมาหารือภายในสัปดาห์นี้ เพื่อสอบถามความคืบหน้าการทำงาน โดยยังคงกรอบการทำงานอยู่ที่ 6 เดือน ตามเดิม แต่ขึ้นอยู่กับพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้อง และความเชื่อมโยงกับคดีอื่นๆ ก็จะส่งผลต่อกรอบเวลาไต่สวนได้

 

ส่วนการใช้คำสั่งมาตรา 44   สำหรับการพิจารณาโยกย้ายข้าราชการ  ล่าสุดมีจำนวน 353 คน  โดยทางต้นสังกัดพิจารณาข้อมูลและวินิจฉัยลงโทษแล้วจำนวน  81 ราย   และทางด้านป.ป.ช.มีการชี้มูลจำนวน 17  ราย   และนอกจากนี้ยังมีในส่วนต้นสังกัดตรวจสอบทางวินัยตามอำนาจหน้าที่  40  ราย

 

 

อย่างไรก็ตามกับผลการประชุมคตช.ล่าสุด   ยิ่งตอกย้ำให้เห็นชัดเจนถึงการเอาจริงเอาจังของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี  และหัวหน้าคสช.  โดยเฉพาะการสั่งให้มีกการดำเนินการกับข้าราชการและขึ้นบัญชีดำสำหรับเอกชนที่เคยทำงานกับรัฐแล้วทิ้งงาน สร้างความเสียหาย เพื่อป้องกันการทุจริตซ้ำอีก

 

โดยจากข้อมูลที่สำนักข่าวทีนิวส์     ได้ติดตามพบรายงานการศึกษานโยบายป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตคอรั่ปชั่น    พบว่าลักษณะการทุจริตภาครัฐในสังคมไทย  มีด้วยกันอย่างน้อย 14   ประเภท   ประกอบด้วย

 

1. การทุจริตเชิงนโยบาย

2. การทุจริตในการบริหารราชการแผ่นดิน

3. การทุจริตต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ

4. การทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้าง

5. การทุจริตในการให้สัมปทาน

6. การทุจริตที่เกิดจากการขาดประสิทธิภาพในการดำเนินงาน

7. การมีผลประโยชน์ทับซ้อน

8. การปกปิดการบริหารงานที่ไม่ถูกต้อง  การปิดบังข้อมูลและให้การเท็จ

9. การใช้นโยบาย กฎหมาย กฎเกณฑ์ และข้อบังคับต่าง ๆ อย่างมีอคติและลำเอียง

10.การใช้ทรัพยากรของรัฐไปในทางมิชอบ  การปลอมแปลงเอกสาร  และการฉ้อฉล

11.ไม่กระทำการตามหน้าที่  แต่ใช้ลัทธิพรรคพวกแทน  เช่น การจัดฮั้วประมูล

12.การให้การและการรับสินบน  การขู่เข็ญบังคับและการให้สิ่งล่อใจ

13.การยอมรับของขวัญที่ไม่ถูกต้อง  เช่น เช็คของขวัญมูลค่าสูง

14.การทุจริตโดยการทำลายระบบตรวจสอบอำนาจรัฐ

ขณะที่พฤติการณ์ที่เกี่ยวเนื่องกับการทุจริตที่มีเอกชนเข้าไปเกี่ยวข้องเข้าร่วมการกระทำผิดจะมี 2 รูปแบบใหญ่ ๆ  คือ

 

1. พฤติกรรมของการทุจริต  เบิกจ่ายหากินจากงบประมาณราชการ  ซึ่งกรณีนี้จะมีความเสียหายเพียงเล็กน้อย

 

2. การทุจริตที่ภาคเอกชนมีส่วนร่วม   อันนี้สำคัญและมีผลความเสียหายเป็นจำนวนมาก  ทั้งการร่วมทุจริตในเชิงนโยบาย และการทุจริตจากโครงการที่ได้ทำงานกับรัฐ ซึ่งเราพบเห็นอยู่เป็นจำนวนมากในปัจจุบัน

ตรงนี้สำคัญเพราะหลายโครงการที่ผ่านมาและมีการทุจริตเกิดขึ้น  ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นความร่วมมือระหว่างข้าราชการการเมือง  ,  ข้าราชการประจำ  และภาคเอกชน  จึงทำให้การทุจริตที่ผ่านๆ มาเป็นเรื่องยากที่จะเอาผิดให้ทั้งกระบวนการ     

 

ยกเว้นกรณีโครงการรับจำนำข้าวที่ดูเหมือนว่าใกล้งวดจะได้เห็นความชัดเจนว่าผู้ถูกกล่าวหาตั้งแต่ระดับอดีตนายกรัฐมนตรี   รัฐมนตรี  ไปจนถึงข้าราชการระดับต่าง ๆ และเอกชนจะต้องได้รับผลของการกระทำผิดหรือไม่อย่างไร  จากการยินยอมเดินตามกลไกลของระบอบทักษิณ

 

โดยเฉพาะต้องไม่ลืมว่านโยบายการรับจำนำข้าวเปลือกเจ้าทุกเมล็ด ตันละ 15,000  บาท  ที่อ้างว่าเป็นแนวทางการพยุงราคาข้าว แต่แท้จริงแล้วคือการที่รัฐบาลใช้งบประมาณแผ่นดินไปแทรกแซงราคาให้เป็นไปตามนโยบายประชาชนนิยม   และทำให้ปริมาณข้าวที่รัฐบาลรับจำนำมาทั้งหมดในรอบ 2-3 ปีกลายกองข้าวสารที่ถูกเก็บกองบไว้ในโกดังเก็บของรัฐบาล  ถึงขั้นต้องจ้างเอกชนชนดูแล เพราะทั้งอคส.และอตก. ไม่สามารถรองรับปริมาณข้าวได้ทั้งหมด หรือเป็นการทำให้เกิดอาชีพใหม่  คือการสร้างโกดังเก็บข้าวเปลือกให้รัฐบาลเช่า ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่ารัฐบาลทำสัญญาจ่ายค่าเช่าโกดังเอกชนเดือนละ 2บาท/ต่อกระสอบ  และเมื่อคิดคำนวณจำนวนข้าวที่รัฐบาลรับจำนำทั้งประเทศ  ในระยะเวลาตั้งแต่มีการรับจำนำ พบว่ารัฐบาลใช้เงินส่วนนี้ปีละหมื่นล้านบาทเลยทีเดียว

 

ขณะเดียวกันก็มีข้อน่าสังเกตว่า   ถึงแม้ว่ารัฐบาลจะรับจำนำข้าวหรือซื้อข้าวเปลือกทุกเมล็ดจากชาวนา  แล้วนำสีบรรจุเก็บใส่ในโกดังเช่าของภาครัฐและเอกชน  ตลอดระยะเวลาตั้งแต่ปี 2554-2557 รวม 5 รอบ ด้วยปริมาณข้าวที่สูง  34.5 ล้านตัน ต่อเนื่องตลอด 3 ปีที่ผ่านมา แต่ปรากฎว่าตลาดข้าวของผู้ค้าข้าวในประเทศรายใหญ่กลับแทบไม่ได้รับผลกระทบ โดยประชาชนยังมีข้าวรับประทานและซื้อขายในราคาปกติ  เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้นทั้งที่โดยตรรกะข้าวทั้งหมดควรจะอยู่ในโกดังและการบริหารจัดการของรัฐบาลทั้งหมด

 

แล้วความจริงผู้ค้าข้าวรายใหญ่นั้นเอาข้าวมาจากไหน   ไม่ว่าจะเป็นข้าวตราฉัตร หรือข้าวมาบุญครอง   ช่วงที่ผ่านมาพบว่ามีวางจำหน่ายข้าวตามตามปกติ   กลายเป็นข้อคำถามค้างใจมาโดยตลอดว่าผู้ค้าข้าวเจ้าใหญ่ทั้งหลาย เอาข้าวมาจากไหนมาขาย     โดยเฉพาะกรณี ข้าวตราฉัตร ที่มีบริษัท ข้าว ซี.พี. จำกัด เป็นผู้ผลิต  และเป็นบริษัทลูกของธุรกิจเครือเจริญโภคภัณฑ์ ที่มีนายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหาร  ซึ่งก่อนหน้านี่มีจุดยืนสนับสนุนโครงการรับจำนำข้าวมาโดยตลอด  ในขณะที่หลายฝ่ายคัดค้านเพราจะทำให้กลไกการค้าข้าวถูกผูกขาดโดยนโยบายภาครัฐ

 

 

ยกตัวอย่าง    นายชูเกียรติ  โอภาสวงศ์   นายกกิตติมศักดิ์  สมาคมผู้ส่งออกข้าว   ซึ่งเคยให้ข้อมูลว่า   การเข้ามาบิดเบือนกลไกราคาของตลาดข้าว  ด้วยการจำนำข้าวในราคาที่สูงกว่าตลาดมากถึงประมาณ 40-50%    ทำให้การส่งออกข้าวไทยมีปัญหาและไม่สามารถทวงคืนส่วนแบ่งทางการตลาดกลับคืนมาได้และยังง่ายต่อการทุจริต ดังนั้นหากต้องการช่วยเหลือเกษตรกรควรใช้วิธีอื่นมากกว่า มิฉะนั้นการส่งออกข้าวไทยจะถึงกาลอวสาน

 

ไม่เท่านั้น   นายชูเกียติระบุด้วยว่า    ระบบการจำนำข้าวส่งผลให้คุณภาพข้าวของไทยนับวันจะลดต่ำลง เนื่องจากชาวนาต้องการเพิ่มผลผลิต แต่ไม่เน้นด้านคุณภาพ เนื่องจากรัฐบาลรับซื้อหมด ไม่ว่าจะคุณภาพแบบไหน อย่างข้าวหอมมะลิก็หันมาใช้ปุ๋ยเคมี ทำให้ความหอมอโรมาหายไป หรือหอมไม่นาน และมีบางส่วนหันมาปลูกข้าวที่สามารถเก็บเกี่ยวได้ในเวลาเพียง 75-80 วัน จากปกติที่ต้องปลูก 120 วัน ซึ่งเป็นข้าวที่ไว้ปลูกหนีน้ำ และมีคุณภาพต่ำกว่าปกติแทน เพราะจะได้รอบมากขึ้น

 

แต่ในมุมกลับ  นายธนินท์ เจียรวนนท์   ประธานกรรมการ และประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี)   เลือกที่จะแสดงจุดยืนสนับสนุนโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร   โดยกล่าวช่วงหนึ่งระหว่างบรรยายแนวคิดด้านเศรษฐกิจ  แก่คณะนักศึกษาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร  ( กันยายน-ตุลาคม 2554)   ว่า  “ตนเห็นว่าคนที่ออกมาคัดค้านโครงการรับจำนำ  โดยให้เหตุผลว่าราคาข้าวไทยในตลาดโลกจะสูงขึ้น แล้วถูกประเทศเวียดนามแย่งขายข้าวนั้น คนที่พูดอย่างนี้ พูดอย่างไม่เข้าใจ เพราะเวียดนามขายข้าวเพียงปีละ 4-5 ล้านตันเท่านั้น ส่วนไทยขายได้มากถึงปีละประมาณ 10 ล้านตัน   ดังนั้นต่อให้ไทยขายข้าวในราคาถูก เวียดนามก็จะขายในราคาถูกกว่า   แต่ไทยต้องมีข้าวเก็บในสต็อกอย่างน้อย 4  เดือน  เพื่อป้องกันการขาดตลาด    ซึ่งจำเป็นต้องมีการสร้างไซโลเก็บข้าวอย่างดีไว้จำนวน 5 ล้านตัน ใช้เงินลงทุนประมาณ 20,000 ล้านบาท แต่มีมูลค่าข้าวกว่า 1 แสนล้านบาท แล้วจ้างคนมาดูแลโดยไม่ต้องใช้ข้าราชการ ให้บริษัทเซอร์เวเยอร์เข้ามาช่วย แล้วให้ธนาคารเป็นผู้รับรอง  ... ผมยืนยันเลยว่าถ้าทำได้แบบนี้ แล้วไม่มีใครกล้าเอา ผมเอาเอง"

 

ไม่เท่านั้นกับท่าทีของผู้บริหารเครือซีพี  อย่าง  นายสุเมธ   เหล่าโมราพร   ประธานคณะผู้บริหาร กลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ   เครือเจริญโภคภัณฑ์   และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ซี.พี.อินเตอร์เทรด จำกัด   ล่าสุดก็ยังไปให้ปากคำในฐานะพยานฝ่ายจำเลย หรือ  น.ส.ยิ่งลักษณ์  ต่อศาลฎีกาฯ  โดยอ้างว่าโครงการรับจำนำข้าวได้ประโยชน์กับชาวนาและยังไม่มีผลต่อการส่งออกข้าวไทย    สวนทางกับข้อเท็จจริงก่อนหน้าจากสมาคมส่งออกข้าวไทย ที่ยืนยันผลกระทบจากโครงการรับจำนำข้าวในหลายระดับ

 

     โดยนายสุเมธ    ในฐานะผู้บริหารในเครือซีพี    อ้างว่าเครือซีพีไมได้ประโยชน์จากโครงการนี้    ทั้งการสร้างรายได้จากงบอุดหนุนซื้อผลิตภัณฑ์ปุ๋ย  ยาฆ่าแมลง และผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรอื่น ๆ  ในเครือซีพี รวมทั้งยังปฏิเสธว่า  เครือซีพีไม่ได้มีการกักตุนสต็อกข้าวไว้ในช่วงที่พรรคเพื่อไทยหาเสียง   ก่อนนำมาขายในราคาแพง   แต่การซื้อข้าวของเครือซีพีเป็นไปตามระเบียบของกระทรวงพาณิชย์   เพื่อให้บริษัทมีสต็อกประมาณ 2-3 แสนตัน  เพื่อรองรับการคงปริมาณข้าวในสต็อกให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมสำหรับการส่งออกข้าวปีละประมาณ 1 ล้านตันเศษ

 

    และไม่ได้เห็นว่านโยบายรับจำนำข้าวทุกเมล็ดของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์จะเป็นเรื่องผิดปกติ     เพราะนโยบายหาเสียงของพรรคการเมืองหลายพรรคขณะนั้น ต่างก็เน้นถึงนโยบายช่วยเหลือเกษตรกรทำให้ราคาสินค้าเกษตรแพงขึ้นอยู่แล้ว ไม่ใช่มีแต่พรรคเพื่อไทยพรรคเดียวจึงไม่เกี่ยวกัน ส่วนประเด็นที่บริษัทในเครือซีพีที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรได้รับประโยชน์หรือไม่ คงตอบแบบนั้นไม่ได้ แต่ว่าสินค้าขายได้มากขึ้น แต่ไม่ทราบว่ามีกำไรหรือขาดทุนเท่าไหร่ อย่างไร

 

ที่สำคัญยังรับรองด้วยซ้ำไปว่า    โครงการรับจำนำข้าวเป็นโครงการที่เกิดขึ้นเพื่อช่วยเหลือชาวนา  ทำ ให้ชาวนามีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น  ดั งนั้นการจำนำข้าวจึงต้องมีราคาแพงกว่าตลาด และไม่ได้เป็นสาเหตุที่ทำให้อันดับการส่งออกข้าวไทยลดลง   แต่กลับทำให้การขายข้าวในตลาดโลกของไทยได้ราคาสูงขึ้นด้วย  ซึ่งหากคิดตามต้นทุนการผลิต ทำให้ชาวนาไม่เป็นหนี้สินล้นพ้นจนหมดตัว

 

เรียบเรียงโดย : วัสดา สำนักข่าวทีนิวส์