เปิดข้อมูล "สินบนโรยส์รอยส์ก้อน 2" ชงยุค‘บรรหาร’-อนุมัติยุค‘บิ๊กจิ๋ว’ใครได้ประโยชน์?

เปิดข้อมูล "สินบนโรยส์รอยส์ก้อน 2" ชงยุค‘บรรหาร’-อนุมัติยุค‘บิ๊กจิ๋ว’ใครได้ประโยชน์?

เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า กรณีการจ่ายเงินสินบนบริษัท โรลส์-รอยซ์  ระหว่างเจ้าหน้าที่บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และเจ้าหน้าที่รัฐ รวมถึงฝ่ายการเมือง เพื่อเอื้อประโยชน์ให้ การบินไทย ซื้อเครื่องยนต์โรลส์-รอยซ์ โดยแบ่งเป็น 3 ช่วง

ช่วงแรกปี 2534-2535 วงเงินประมาณ 663 ล้านบาท

ช่วงที่สองปี 2534-2540 วงเงินประมาณ 336 ล้านบาท

และช่วงที่สามปี 2547-2548 วงเงินประมาณ 264 ล้านบาท

 

วันนี้ 4 ก.พ. 60 ทางสำนักข่าวอิศราได้มีการเปิดเผย "ข้อมูลคดีสินบนโรลส์-รอยซ์ก้อน 2 ปี 35-40" โดยข้อความตอนหนึ่งระบุว่า...

ตามสำนวนสอบสวนของสำนักงานปราบปรามการทุจริตของสหราชอาณาจักร (SFO) ระบุว่า บริษัท โรลส์-รอยซ์ จ่ายเงินสินบนให้กับนายหน้ารวมทั้งสิ้น 10.38 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ (ราว 336 ล้านบาท) โดยเมื่อวันที่ 8 ก.พ. 2539 มีการทำบันทึกข้อตกลงจะจ่ายล่วงหน้า 1 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ หลังจากจ่ายเงินแล้ว บอร์ดการบินไทย อนุมัติการสั่งซื้อเครื่องยนต์ T-800 สำหรับเครื่อง B777 ทั้งหมด 6 ลำ แต่ในชั้นนี้การอนุมัติของรัฐบาลไทยยังคงไม่มีหลักประกันแน่นอน

ต่อมาในเดือน พ.ค. 2539 มีบันทึกอ้างการจ่ายเงินอีกครั้งจำนวน 1.14 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ถึงพนักงานของไทย โดยระบุว่า ยอดเงินดังกล่าวถูกแบ่งสรรไปยัง “กลุ่มผู้ให้ความช่วยเหลือด้านการเมืองที่ใช้มาตลอด” หลังจากนั้นในเดือน พ.ย. 2539 พนักงานของไทยคนเดิม เรียกร้องให้พนักงานระดับสูงของโรลส์-รอยซ์ จ่ายเงินอีก 1 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ จากทั้งหมด 5 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ที่ค้างจ่ายเพื่อให้ทางการไทยนำเงินดังกล่าวมาจัดการ “ในกระบวนการจัดการขั้นตอนทางการเมือง”

ทางสำนักข่าวอิศราได้เปิดเผยอีกด้วยว่า ..มติคณะรัฐมนตรีระหว่างปี 2535-2540 พบว่า การบินไทยทำแผนวิสาหกิจปี 2538/39-2542/43 ถึงกระทรวงคมนาคมขออนุมัติการจัดซื้อเครื่องบินล็อตใหม่ จำนวน 21 ลำ

ต่อมาเมื่อวันที่ 21 มิ.ย. 2539 นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา รมว.คมนาคม (ขณะนั้น) สมัยรัฐบาลนายบรรหาร ศิลปอาชา เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ให้ความเห็นชอบตามแผนวิสาหกิจของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) โดยให้จัดซื้อเครื่องบินเพิ่มในระหว่างปี 2538/39-2542/43 จำนวน 21 ลำ ประกอบด้วย 

B737-400/500 จำนวน 4 ลำ A300-600R จำนวน 5 ลำ A330-300 จำนวน 4 ลำ B777-300 จำนวน 6 ลำ B747-400 จำนวน 2 ลำ รวมวงเงิน 68,794 ล้านบาท พร้อมให้จัดหา และจัดซื้ออะไหล่เครื่องบินระหว่างปี 2538/39-2542/43 ในวงเงินลงทุน 13,649 ล้านบาท รวมถึงให้ความเห็นชอบการขอยกเว้นการทำการค้าต่างตอบแทนสำหรับการจัดซื้อเครื่องบินและเครื่องฝึกจำลองตามแผนวิสาหกิจดังกล่าว

เปิดข้อมูล "สินบนโรยส์รอยส์ก้อน 2" ชงยุค‘บรรหาร’-อนุมัติยุค‘บิ๊กจิ๋ว’ใครได้ประโยชน์?

เปิดข้อมูล "สินบนโรยส์รอยส์ก้อน 2" ชงยุค‘บรรหาร’-อนุมัติยุค‘บิ๊กจิ๋ว’ใครได้ประโยชน์?

 

เปิดข้อมูล "สินบนโรยส์รอยส์ก้อน 2" ชงยุค‘บรรหาร’-อนุมัติยุค‘บิ๊กจิ๋ว’ใครได้ประโยชน์?

เปิดข้อมูล "สินบนโรยส์รอยส์ก้อน 2" ชงยุค‘บรรหาร’-อนุมัติยุค‘บิ๊กจิ๋ว’ใครได้ประโยชน์?

 

เปิดข้อมูล "สินบนโรยส์รอยส์ก้อน 2" ชงยุค‘บรรหาร’-อนุมัติยุค‘บิ๊กจิ๋ว’ใครได้ประโยชน์?

 

เปิดข้อมูล "สินบนโรยส์รอยส์ก้อน 2" ชงยุค‘บรรหาร’-อนุมัติยุค‘บิ๊กจิ๋ว’ใครได้ประโยชน์?

น่าสังเกตว่า หากเทียบช่วงเวลาการอนุมัติของกระทรวงคมนาคมกับสำนวนการสอบสวนของ SFO มีความใกล้เคียงกันมาก เนื่องจาก นายวันมูฮัมหมัดนอร์ มะทา รมว.คมนาคม ได้อนุมัติตามแผนวิสาหกิจของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เมื่อเดือน มิ.ย. 2539 โดยมีการจัดซื้อเครื่องบิน B777 จำนวน 6 ลำ ซึ่งคล้อยหลังเพียง 1 เดือน ที่ SFO พบว่า เมื่อเดือน พ.ค. 2539 มีบันทึกการจ่ายเงินจำนวน 1.14 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ถึงพนักงานของไทย โดยระบุว่า ยอดเงินดังกล่าวถูกแบ่งสรรไปยัง “กลุ่มผู้ให้ความช่วยเหลือด้านการเมืองที่ใช้มาตลอด” 

อย่างไรก็ดีรัฐบาลของนายบรรหาร ศิลปอาชา ถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน ในช่วงเดือน ก.ย. 2539 นอกจากนี้พรรคความหวังใหม่ พรรคนำไทย และพรรคมวลชน ได้กดดันนายบรรหาร ให้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่นายบรรหาร ตัดสินใจยุบสภา เมื่อวันที่ 27 ก.ย. 2539 ส่งผลให้การอนุมัติเครื่องบินดังกล่าวยังไม่เกิดขึ้นในรัฐบาลนี้ 

กระทั่งเดือน พ.ย. 2539 พรรความหวังใหม่ ที่มี พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ชนะการเลือกตั้งเป็นรัฐบาล และ พล.อ.ชวลิต ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี แผนวิสาหกิจการบินไทยได้ถูกกระทรวงคมนาคม (ข้อมูลจากเว็บไซต์สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ระบุว่า นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ เป็น รมว.คมนาคม ขณะนั้น แต่ยังไม่มีข้อมูลยืนยันชัดเจนว่า นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ เป็นผู้นำเสนอเรื่องต่อที่ประชุมเองหรือไม่) นำเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง และได้รับการอนุมัติ เมื่อวันที่ 20 มี.ค. 2540 

โดยมีการระบุว่า ในการเจรจาต่อรองในเรื่องการค้าต่างตอบแทน หรือการเจรจาต่อรองกับบริษัทผู้ขายในรูปอื่นใด ให้คำนึงถึงประโยชน์ของทางราชการให้มากที่สุด (ดูเอกสารประกอบ)

ซึ่งในช่วงเวลาที่นายบรรหาร ยุบสภา กระทั่งพรรคความหวังใหม่ ได้รับการเลือกตั้ง ระหว่างเดือน ก.ย.-พ.ย. 2539 ในสำนวนสอบของ SFO ระบุว่า เมื่อเดือน พ.ย. 2539 มีพนักงานของไทย เรียกร้องให้พนักงานระดับสูงของโรลส์-รอยซ์ จ่ายเงินอีก 1 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ จากทั้งหมด 5 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ที่ค้างจ่ายเพื่อให้ทางการไทยนำเงินดังกล่าวมาจัดการ “ในกระบวนการจัดการขั้นตอนทางการเมือง” 

อย่างไรก็ดี สำนวนการสอบสวนของ SFO ไม่ได้ระบุชื่อว่า ใครเป็นผู้ถูกกล่าวหาในคดีรับสินบนแต่อย่างใด

 

เปิดข้อมูล "สินบนโรยส์รอยส์ก้อน 2" ชงยุค‘บรรหาร’-อนุมัติยุค‘บิ๊กจิ๋ว’ใครได้ประโยชน์?

 

เปิดข้อมูล "สินบนโรยส์รอยส์ก้อน 2" ชงยุค‘บรรหาร’-อนุมัติยุค‘บิ๊กจิ๋ว’ใครได้ประโยชน์?

 

เรียบเรียง : Wila

ขอบคุณ : สำนักข่าวอิศรา