มาเหนือเมฆ!!ธรรมกายใช้ทฤษฎีEarworm!?"สะกดจิตผ่านเสียง"งัดไม้เด็ดปล่อยเพลง “ฉันก็รักวัดของฉัน”ฟังเพลินๆอาจโดนล้างสมอง..เข้าข่ายการปลุกระดม??!!

มาเหนือเมฆ!!ธรรมกายใช้ทฤษฎีEarworm!?"สะกดจิตผ่านเสียง"งัดไม้เด็ดปล่อยเพลง “ฉันก็รักวัดของฉัน”ฟังเพลินๆอาจโดนล้างสมอง..เข้าข่ายการปลุกระดม??!!

หลังจากการเผยแพร่บทเพลง “ฉันก็รักวัดของฉัน” ในยูทูป โดยล็อกอินที่มีชื่อว่า “072 ตรงนี้ที่พักใจ” โดยในโซเชียลมีเดียร์ได้มีการแชร์ต่อ เป็นเป็นกระแสพูดถึงอยู่ในขณะนี้  ซึ่งเนื้อหาของบทเพลง ดัดแปลงมาจากเพลง “ฉันก็รักของฉัน” ของศิลปินดูโอ้ “นิว จิ๋ว” ค่าย GMM Gammy และเนื้อเพลงบิดเบือนไปจากข้อเท็จจริง โดยอ้างว่าศาสนาพุทธกำลังถูกโจมตี ทั้งที่จริงเรื่องราวที่เกิดขึ้นทั้งหมด เพียงต้องการนำตัวพระธัมมชโย เข้าสู่กระบวนการทางกฏหมาย

 

และล่าสุดด้านแฟนเพจชื่อดังอย่าง "ปราชญ์ สามสี"ได้ออกมาวิภาควิจารณ์การกระทำดังกล่าวของเหล่าคนผู้คลั่งไคล้ธัมมชโย และวัดพระธรรมกายเป็นพฤติกรรมที่ไม่น่าไว้วางใจ และอยากให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจับตามดูอย่างเสมอ โดยข้อความระบุว่า...

 

หืม?!? เพลงล้างสมองมาอีกแล้ว

จริงๆสำหรับคนที่เรียนนิเทศศาสตร์ จะได้มีโอกาสเรียน ทฤษฎีการสื่อสารเรื่องนึงก็คือ "A big lie theory" การสื่อสาร "พูดซ้ำๆ" ย้ำๆ ให้คนเข้าใจไปในทิศทางเดียวกัน เพียงทิศทางเดียว ก็เพื่อหวัง กลบเกลื่อนไม่ให้ผู้คน สนใจใน"จุดอ่อน" หรือ ข้อเท็จจริงส่วนอื่นที่ทำให้เสียเปรียบ... และเชื่อในสิ่งที่ต้องการให้เชื่อเท่านั้น แม้ว่าจะมีการใช้ครั้งแรกๆ ในทางการเมือง โดย เลนิน และ ฮิตเลอร์ ... โดยมีประโยคอมตะ เช่น LIE OFTEN BECOME TRUTH แต่ก็ยังมีการนำทฤษฎีดัีงกล่าวมาใช้ในการสื่อสารโฆษณาประชาสัมพันธ์ ในยุคปัจจุบันฯอยู่เสมอ 

ถ้าคุณฟังโฆษณาถี่ๆที่ว่าสิ่งนึงดีกว่าอีกสิ่งนึง คุณก็จะเชื่อว่า สิ่งนั้นอาจจะดีจริงอย่างที่โฆษณาไว้ เหมือนพวก โฆษณาhome shopping ทางทีวีมักชอบใช้กัน 

การที่ ธรรมกายจงในผลิตเพลง ที่มีเนื้อหาเล่าเรื่องราวว่าธรรมกายโดนรังแกจากมารร้าย-คนที่แสนเลือดเย็น มันเป็นกลยุทธการสื่อสารที่กำลังเข้าข่ายการปลุกระดม แบบหนึ่งซึ่งภาครัฐต้องจับตามองครับ 
ซึ่งเผยแพร่ด้วยความถี่มากใน อินเตอร์เน็ต เครือข่าย DMC ก็ต้องการหวังที่จะบิดเบือนความจริงเช่นกัน

และฝากถามไปยังหน่วยงานรัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับงานลิขสิทธิ์เพลง ถือเป็นความผิดด้านลิขสิทธิ์เพลงหรือไม่?ที่ธรรมกายนำมาทำซ้ำและเผยแพร่โดยหวังผลเป็นประโยชน์ให้ผู้คนหันมาเชื่อธรรมกาย ซึ่งในปัจจุบันก็ใช้ไปในการแก้ตัวในเรื่อง การจับพระธัมมชโยอีกเว้ย

 

 

อย่างไรก็ตามการกระทำดังกล่าวเข้าเหล่าบรรดาผู้คลั่งไคล้ธรรมกายได้เข้าข่ายการใช้ทฤษฎีEarworm

จากการวิจัย พบว่า 98% ของคนทั่วไปเคยมีประสบการณ์เสียงเพลงที่เล่นวนเวียนอยู่ในหัว ที่รู้จักกันในชื่อ earworm (แปลตรงตัวว่า หนอนรูหู) กันมาแล้วทั้งนั้น earworm นี้พบบ่อยในผู้หญิง และนักดนตรี และสร้างความรำคาญให้กับผู้หญิงมากกว่า แม้ว่าเราจะยังไม่รู้ชัดเจนว่า earworm มันมีประโยชน์กับเรายังไง แต่ก็มีทฤษฎี และการทดลองที่อธิบายปรากฏการณ์นี้จาก ความพยายามเติมเต็มช่องว่างของสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับการฟัง (auditory cortex) เช่นเดียวกับ เวลาที่เราสามารถนึกทำนองเพลงที่คุ้นหู ต่อเนื่องได้แม้ว่าเสียงเพลงจริงๆ จะหยุดไปแล้ว แต่ไม่ใช่ทุกเพลงที่จะกระตุ้นให้เกิดปรากฏการณ์ earworm ได้เสมอไป คุณสมบัติของเพลงที่มีแนวโน้มจะเป็น earworm คือ

  • จำง่ายมาก และง่ายต่อการร้องตาม
  • เป็นทำนองซ้ำๆ (repetitive) เป็นที่สังเกตว่า earworm มักเป็นท่อนฮุกที่เล่นซ้ำไปซ้ำมา เราก็มักจะจำได้แค่ท่อนฮุกนั่นแหละ และสมองจะพยายามหาทางออกจากท่อนฮุกนั้นให้ได้ แต่'ติดหล่ม'หาทางออกจากท่อนฮุกที่ว่า ไม่เจอ 
  • มีการเปลี่ยนแปลงจังหวะ หรือทำนอง ที่กระตุกชวนให้สมองติดตาม เติมเต็มช่องว่าง และ 'ติดหล่ม' ในที่สุด

 

ทั้งนี้การกระทำดังกล่าวที่กล่าวมาข้างต้น ตอกย้ำถือความคิดและแผนการที่เป็นขั้นเป็นตอน และแนบเนียนสุดๆ ถ้าไม่ตั้งตัวหรือประคองสติให้ดีอาจตกเป็นเหยื่อโดยไม่รู้ตัว

 

เรียบเรียง วิลา

ขอบคุณ FB ปราชญ์ สามสี