ซีรี่ส์การเมืองเรื่อง “จะดีจะชั่วก็ผัวกู” จาก แกนนำกลุ่มอีสานกู้ชาติ ต้านระบอบทักษิณ หลังกระแสข่าวเปลี่ยนขั้ว

เป็นกระแสข่าวออกมาเป็นระยะๆสำหรับนายไทกร พลสุวรรณ แกนนำกลุ่มอีสานกู้ชาติ ในการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และแกนนำกลุ่มกองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณ (กปท.) ที่ก่อนหน้านี้ได้ขอโทษประชาชนที่เคยสนับสนุนพล.อ.ประยุทธ์เป็นนายกฯ ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว เมื่อมีคนถามว่า ไทกรขอโทษ อดีตนายกทักษิณ ชินวัตรหรือเปล่า นายไทกรได้ตอบกลับว่า  มันเหมือนฝางเส้นสุดท้ายครับ หลายๆครั้งมาแล้ว ไม่นับการบริหารประเทศที่เอาแต่นายทุนใหญ่  และการปฏิรูปที่ล้มเหลว เสียเวลาเปล่าๆไป 3 ปี ไม่มีอะไรเกิดขึ้นเลย ประชาชนต้องการลดอำนาจรัฐเพิ่มอำนาจประชาชน แต่กับเพิ่มอำนาจรัฐ กดหัวประชาชน

ซีรี่ส์การเมืองเรื่อง “จะดีจะชั่วก็ผัวกู” จาก แกนนำกลุ่มอีสานกู้ชาติ ต้านระบอบทักษิณ หลังกระแสข่าวเปลี่ยนขั้ว

ล่าสุด นายไทกร ยังได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กระบุดังนี้ "จะดีจะชั่วก็ผัวกู"(1) จิตใต้สำนึก
เราเคยสงสัยว่าทำไมผู้ชายบางคนประพฤติตัวไม่ดี ติดเหล้า ติดการพนัน ติดยาเสพติด ตีลูกตีเมีย ฯลฯ ผู้หญิงที่เป็นเมียยังทนอยู่กับผู้ชายคนนั้นได้ เมื่อเราไปเตือนทั้งผู้หญิงทั้งผู้ชาย ว่าคู่ชีวิตของเขาประพฤติตัวไม่ดี เขาไม่สนใจ แถมบางคนยังด่าว่าเราอีกว่า อย่ายุ่ง อย่าเสือก ตัวมึง(คนที่ไปเตือน)ดีนักหรือ! จนเราต้องถอยห่างและปล่อยพวกเขาใช้ชีวิตของพวกเขาไป แต่เราก็ยังได้ยินผัวเมียทะเลาะด่าทอกันเป็นระยะ ก็ด้วยเหตุที่ว่าผัวกูหรือเมียกูกูด่าได้คนเดียวคนอื่นห้ามด่า จะดีจะชั่วก็ผัวกู

ซีรี่ส์การเมืองเรื่อง “จะดีจะชั่วก็ผัวกู” จาก แกนนำกลุ่มอีสานกู้ชาติ ต้านระบอบทักษิณ หลังกระแสข่าวเปลี่ยนขั้ว

เคยสงสัยไหมว่า ทำไมเมื่อเราวิพากษ์วิจารณ์ทักษิณว่า เป็นเผด็จการ บ้าอำนาจ คอร์รัปชั่น บริหารประเทศผิดพลาด คนเสื้อแดงก็จะด่าเรากลับอย่างสาดเสียเทเสีย หาคำแก้ตัวต่างๆนานามาอธิบาย ความเป็นจริงคนเสื้อแดงเหล่านั้นรู้ไหมว่าทักษิณเป็นเผด็จการ บ้าอำนาจ คอร์รัปชั่น บริหารประเทศผิดพลาด คำตอบคือ รู้ รู้ดีมากๆ แต่ไม่ยอมให้คนอื่นพวกอื่นๆ มาวิพากษ์วิจารณ์ทักษิณ แต่เมื่อพวกเดียวกันสุมหัวกันก็เริ่มด่า วิพากษ์วิจารณ์ทักษิณเหมือนที่เราๆท่านๆวิพากษ์วิจารณ์ด้วยข้อมูลเดียวกันกับที่เราวิพากษ์วิจารณ์ไป แต่ด้วยอารมณ์ความรู้สึกว่า"ผัวกูกูด่าได้คนเดียว""จะดีจะชั่วก็ผัวกู"จึงแสดงออกให้เห็นดังกล่าว
ในทางกลับกัน เมื่อมีคนวิพากษ์วิจารณ์พลเอกประยุทธ์ เป็นเผด็จการ บ้าอำนาจ บริหารประเทศผิดพลาด ปล่อยให้คนรอบข้างทุจริตคอร์รัปชั่น ก็จะมีคนอีกพวกหนึ่งด่าว่าคนที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างสาดเสียเทเสีย หาเหตุผลมาแก้ตัวต่างๆนานา คล้ายกับพวกเสื้อแดงที่ด่าว่าคนที่วิพากษ์วิจารณ์ทักษิณ เพราะคนพวกนี้เหมือนกัน ถูกครอบงำด้วยความรู้สึก จนไร้เหตุผล อุปมาเหมือนผัวกูกูด่าได้คนเดียว ถามว่าคนเหล่านี้รู้ไหมว่าการปฎิรูปล้มเหลว มีการคอร์รัปชั่นเกิดขึ้นมากมายแต่ตรวจสอบไม่ได้ ใช้ประชานิยมบริหารประเทศเหมือนทักษิณเคยทำจนต้องหาทางรีดภาษีไม่เว้นแม้แต่แม่ค้าพ่อค้าที่ขายผักขายปลาในตลาดสด ตอบว่าคนเหล่านี้รู้และรู้ดี แต่ด้วยมีความคิดความรู้สึกเหมือนพวกเสื้อแดงที่คลั่งทักษิณ จึงปิดกั้นตัวเองไม่ยอมรับเรื่องที่ผู้คนวิพากษ์วิจารณ์พลเอกประยุทธ์ พร้อมกลับกล่าวหาคนเหล่านั้นว่า ขายตัว เปลี่ยนขั้ว ไม่มีอุดมการณ์ ฯลฯ สารพัดข้อกล่าวที่ใส่ร้ายเขา แต่วิญญูชนทั้งหลายต้องเข้าใจและให้อภัยเพราะมันเป็นเรื่องจิตใต้สำนึก
 

ซีรี่ส์การเมืองเรื่อง “จะดีจะชั่วก็ผัวกู” จาก แกนนำกลุ่มอีสานกู้ชาติ ต้านระบอบทักษิณ หลังกระแสข่าวเปลี่ยนขั้ว จิตใต้สำนึกเราเป็นอย่างไร?
จิตใต้สำนึกที่เป็นประชาธิปไตย
-เคารพตนเอง
-เชื่อมั่นในตนเอง
-เชื่อมั่นในสิทธิและอำนาจของตนเอง
-กล้าลุกขึ้นมาทักท้วงตรวจสอบเมื่อผู้ปกครองทำผิด
-ไม่สิ้นหวังไม่ท้อแท้พร้อมลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลง ผู้ปกครองเสมอ เมื่อผู้ปกครองคนนั้นคณะนั้น สร้างความเสียหายให้กับประเทศชาติและประชาชน
จิตใต้สำนึกที่เป็นเผด็จการ
-ไม่เคารพตนเอง
-ไม่มั่นใจในตนเอง
-ไม่เชื่อในสิทธิและอำนาจของตนเอง
-ดูถูกเหยียดหยามคนอื่น
-หวาดกลัวไม่กล้าลุกขึ้นมาทักท้วงตรวจสอบ เมื่อผู้ปกครองทำผิด
-ชอบด่าและวิพากษ์วิจารณ์คนอื่นลับหลัง ไม่กล้าเผชิญหน้า
-คาดหวังว่าผู้ปกครองจะช่วยเหลือ หรือทำอะไรให้ตนเองตลอดเวลา
-สิ้นหวังท้อแท้ไม่กล้าลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงผู้ปกครอง ที่สร้างความเสียหายให้กับประเทศชาติและประชาชน
-หาข้ออ้างต่างๆนานามารองรับความคิดของตนเอง เพราะรู้สึกว่าใครเป็นผู้ปกครองก็โกงเหมือนกัน ฉะนั้นผู้ปกครองจะมาจากการเลือกตั้งหรือมาจากเผด็จการรัฐประหารก็ได้ขอให้เป็นคนดี

เผด็จการคือรูปแบบลักษณะการใช้อำนาจจะมาจากการเลือกตั้งก็เป็นเผด็จการได้ เช่น ฮิตเลอร์,เฟอร์ดินานด์ มาร์กอส,รอเบิร์ต มูกาเบ,ทักษิณ ชินวัตร ฯลฯ ส่วนคนที่ใช้กำลังยึดอำนาจมานั้น เป็นเผด็จอยู่แล้วเพราะวิธีการได้มาซึ่งอำนาจเป็นตัวกำหนดรูปแบบการใช้อำนาจ