ความสำเร็จทางความมั่นคง!! กับท่าทีที่เปลี่ยนไปของสหรัฐ หลังเชิญ"บิ๊กป้อม"หารือ ฟื้นสัมพันธ์"กลาโหม" ในรอบหลายสิบปี!!

ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

ท่าทีของรัฐบาลสหรัฐที่โจมตีรัฐบาลทหารไทยมาโดยตลอด โดยเฉพาะตั้งแต่รัฐประหาร  นับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์รัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พ.ค.2557 สหรัฐก็แสดงออกมาโดยตลอดว่าต้องการที่จะลดระดับการฝึกปฏิบัติการนี้ร่วมกับไทย ถึงขั้นที่ครั้งหนึ่งเคยมีข่าวว่าการฝึกเมื่อปี 2558 จะย้ายไปที่ประเทศออสเตรเลียเลยทีเดียว

 

 รัฐบาลสหรัฐได้ตัดงบประมาณความช่วยเหลือทางทหารต่อไทย และลดระดับความสัมพันธ์ทางการทูต และทางการทหารกับไทย เจ้าหน้าที่ระดับสูงของกระทรวงต่างประเทศสหรัฐ นายแดเนียล รัสเซล  เคยกล่าวสุนทรพจน์ที่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็ได้กล่าวโจมตีรัฐบาลทหารของไทยอย่างรุนแรง ทำให้ฝ่ายไทยไม่พอใจเป็นอย่างมาก เมื่อวันที่ 26 ม.ค. 2558  มีอยู่ว่า

 

“....ผมขอกล่าวอย่างตรงไปตรงมาว่า เมื่อผู้นำที่มาจากการเลือกตั้งถูกปลดออกจากตำแหน่ง ถูกถอดถอนโดยผู้มีอำนาจที่ก่อรัฐประหาร และตกเป็นเป้าด้วยข้อหาอาญาในขณะที่กระบวนการและสถาบันพื้นฐานในระบอบประชาธิปไตยต้องหยุดชะงักลง  ประชาคมโลกจึงเกิดความรู้สึกว่า ขั้นตอนเหล่านี้อาจเกิดจากแรงจูงใจทางการเมือง....”

 

อีกทั้งท่าทีของนายกลิน ที. เดวีส์ เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำ ร่วมเป็นประธานในพิธีเปิดการฝึก คอบร้าโกลด์ 2559 ด้วยการเหน็บแนมเรื่องการเลือกตั้งของไทย ก็สะท้อนภาพของสหรัฐฯภายใต้ฉากหน้าว่าเป็นมิตร แต่กลับมองไปถึงเรื่องผลประโยชน์แทบทั้งนั้น

 

ครั้งหนึ่งนายกลิน ที. เดวีส์ ได้กล่าว สุนทรพจน์ในพิธีเปิดการฝึกซ้อมคอบร้าโกลด์ ตอนหนึ่งว่า "การเปิดการฝึกซ้อมคอบร้าโกลด์ 2559 เพื่อแสดงถึงพันธสัญญาอันยาวนาน ไม่คลอนแคลนของสหรัฐ ที่มีต่อภูมิภาคนี้ พันธสัญญานี้เข้มแข็งและยืนยง อันรวมถึง พันธสัญญาที่มีต่อประเทศไทยซึ่งสามารถข้ามผ่านอุปสรรคท้าทายชั่วคราวที่เกิดขึ้น ในความสัมพันธ์ของเรา

 

แต่ท่าทีทั้งหมดต้องเปลี่ยนไป ภายหลังจากที่ นายโดนัลด์ ทรัมป์ ได้ครองตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีคนที่ 45 ของสหรัฐฯ ซึ่งได้ให้สัมภาษณ์กับ"วีโอเอภาคภาษาไทย" ระบุว่า.. "สหรัฐฯ ต้องการเห็นความสมานฉันท์ในประเทศไทย และคิดว่าช่วงเวลาการเลือกตั้งของไทยเป็นเรื่องสำคัญอันดับรองลงมา"

 

"ไม่มีประเทศใดต้องการถูกสั่งสอน และว่าตนคิดว่ารัฐบาลชุดปัจจุบันของไทยเข้าใจดีว่ากระบวนการประชาธิปไตยจะทำให้ไทยเข้มแข็งขึ้น"

สำหรับความเป็นไปได้ที่ประธานาธิบดีทรัมป์จะพบกับ นายกรัฐมนตรีไทย พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา  ในห้องรูปไข่ ทำเนียบขาว กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ดูคล้ายกับเป็นเครื่องยืนยันทิศทางความสัมพันธ์ที่ดีขึ้น และล่าสุด กระทรวงกลาโหมสหรัฐก็ได้เชิญ พล.อ. ประวิตร วงศ์สุวรรณ รัฐมนตรีกลาโหมของไทย ไปเยือนสหรัฐ และได้มีการพบปะหารือกัน ซึ่งจากผลการหารือกันในครั้งนี้ ก็น่าจะทำให้ความสัมพันธ์ทางทหารไทย-สหรัฐ กระชับแน่นแฟ้นมากขึ้นไปอีก หลังห่างหายการเยือนในส่วนของรมว.กห.หลายสิบปี ทั้งสองฝ่ายพร้อมเพิ่มความร่วมมือด้านมั่นคงทุกมิติ   เมื่อวันที่ 21 - 27 เม.ย. 61 ที่ผ่านมา

 

 

พล.อ. ประวิตร เข้าพบหารือกับ พล.อ. เจมส์ แมตทิส (James Mathis) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ  ได้กล่าวถึงความสัมพันธ์และมิตรภาพระหว่างไทยกับสหรัฐฯ ได้ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องยาวนานกว่า 200 ปี และยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ให้การต้อนรับพันธมิตรที่เก่าแก่ที่สุดของสหรัฐฯ ในภูมิภาคเอเชีย ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศย้อนไปตั้งแต่ปี ค.ศ. 1818 โดยสมัยรัชกาลที่ 4 ได้เสนอส่งช้างมาสนับสนุนสหรัฐฯ ในช่วงสงครามกลางเมืองของสหรัฐฯ แม้ว่าประธานาธิบดีลินคอล์นจะมิได้ตอบรับข้อเสนอดังกล่าว แต่สหรัฐฯ มีความซาบซึ้งใจและเป็นเครื่องสะท้อนให้เห็นถึงมิตรไมตรีที่มีมายาวนานของทั้งสองประเทศได้เป็นอย่างดี
 

 

ความสำเร็จทางความมั่นคง!! กับท่าทีที่เปลี่ยนไปของสหรัฐ หลังเชิญ"บิ๊กป้อม"หารือ ฟื้นสัมพันธ์"กลาโหม" ในรอบหลายสิบปี!!



พร้อมทั้งกล่าวว่า สหรัฐฯ ตระหนักว่าไทยเป็นศูนย์กลางที่จะช่วยเสริมสร้างเสถียรภาพในภูมิภาค ในฐานะที่เป็นพันธมิตรที่ใกล้ชิด สหรัฐฯ ยึดมั่นที่จะร่วมมือกับไทยเพื่อคงความมีเสถียรภาพและการเสริมสร้างขีดความสามารถในการปฏิบัติการร่วมกันระหว่างกองทัพของทั้งสองประเทศ เพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิก ที่เปิดกว้างและเสรี (Free and Open Indo-Pacific) ของสหรัฐฯ และได้เน้นย้ำความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างไทยกับสหรัฐฯ โดยเฉพาะภายหลังจากที่ทั้งสองประเทศได้ออกแถลงการณ์วิสัยทัศน์ร่วม ว่าด้วยการเป็นพันธมิตรด้านการป้องกันประเทศระหว่างไทย-สหรัฐฯ ค.ศ. 2012 (2012 Joint Vision Statement for Thai-U.S. Defense Alliance) นอกจากนั้นยังคาดหวังว่า ความสัมพันธ์อันดีที่ผ่านมากว่า 200 ปี จะนำไปสู่ความสัมพันธ์อันแนบแน่นในอีก 200 ปีข้างหน้าเช่นกัน

 

ความสำเร็จทางความมั่นคง!! กับท่าทีที่เปลี่ยนไปของสหรัฐ หลังเชิญ"บิ๊กป้อม"หารือ ฟื้นสัมพันธ์"กลาโหม" ในรอบหลายสิบปี!!



นอกจากนั้นไทยพร้อมสนับสนุนสหรัฐฯ ในการสร้างความตระหนักรู้ทางทะเล (Maritime Domain Awareness: MDA) และความร่วมมือด้านความมั่นคงทางทะเลในกรอบอาเซียน เพื่อความสงบสุขร่วมกันของภูมิภาค และพร้อมสนับสนุนแนวคิดของสหรัฐฯ เรื่องความริเริ่มความร่วมมือด้านการขนส่งทางอากาศในภูมิภาค (Movement Coordination Center-Pacific: MCC-P) และแนวคิดในการจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมบุคลากรด้านการส่งกำลังบำรุง (Regional Logistics Center) พร้อมทั้งคาดหวังการสนับสนุนและเสนอแนะจากสหรัฐฯ เพื่อความสมบูรณ์ในการทำหน้าที่ของไทยในตำแหน่งประธานอาเซียน ปี 2562   

สำหรับความคืบหน้าการจัดทำความตกลง ระหว่างกระทรวงกลาโหมไทยกับสหรัฐฯ ว่าด้วยการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารด้านการวิจัยและพัฒนา (Master Information Exchange Agreement: MIEA) คาดว่าจะสามารถลงนามร่วมกันได้ภายในเดือนกันยายน 2561 ซึ่งจะเป็นส่วนผลักดันให้เกิดการวิจัยและพัฒนาทางทหารร่วมกันมากขึ้น รวมทั้งเกื้อกูลต่ออุตสาหกรรมป้องกันประเทศของไทย ตลอดจนแนวนโยบาย Thailand 4.0 และในตอนท้ายรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้กล่าวแสดงความขอบคุณรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ที่พร้อมให้การสนับสนุนความพยายามของรัฐบาลในการเดินหน้าจัดการเลือกตั้งสู่การเป็นประเทศประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ เพื่อเสถียรภาพที่มั่นคงและยั่งยืนของประเทศไทย

 

 

จากนั้นพล.อ.ประวิตร  ได้หารือข้อราชการกับ นส. Clair M. Grady รมช.กระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิสหรัฐฯและคณะ   เพื่อสานต่อและเสริมสร้างความร่วมมือด้านความมั่นคงในมิติอื่นๆ ที่นอกเหนือจากการทหาร

 

 

ความสำเร็จทางความมั่นคง!! กับท่าทีที่เปลี่ยนไปของสหรัฐ หลังเชิญ"บิ๊กป้อม"หารือ ฟื้นสัมพันธ์"กลาโหม" ในรอบหลายสิบปี!!

 

ทั้งสองฝ่ายได้หารือร่วมกัน ถึงความร่วมมือด้านความมั่นคงระหว่างกัน ในประเด็นความมั่นคงไซเบอร์ ความมั่นคงทางทะเล  การต่อต้านการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติ  โดยเห็นพ้องที่จะกระชับและผลักดันความร่วมมือต่างๆ ให้แน่นแฟ้นและมีผลเป็นรูปธรรมมากขึ้น เพื่อป้องกันภัยคุกคามต่างๆ  ที่อาจกระทบต่อความมั่นคงของทั้งไทยและสหรัฐฯ   

 

          นับเป็นความสำเร็จของการทำงานของกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ 15 ปีที่ผ่านมา  เห็นได้ชัดจากรัฐบาล ทรัมป์ และกระทรวงกลาโหมสหรัฐ ได้ปรับเปลี่ยนท่าทีต่อไทยไปมาก โดยเฉพาะการยุติพฤติกรรมที่จะถูกมองว่า เป็นการแทรกแซงกิจการภายในของไทย ซึ่งก็ทำให้ความสัมพันธ์ทางทหารไทย-สหรัฐ ในปัจจุบันดูดีขึ้นมาก