"บิ๊กตู่"อย่าเข้าใจผิด! ดันปลากัดเป็นสัตว์น้ำประจำชาติ.. สิทธิบัตร กับ ลิขสิทธิ์ คนละส่วนกัน!!

สืบเนื่องจากกรณีกระแสขอเรียกร้องเรื่องข้อเสนอประกาศปลากัด สายพันธุ์เบตตาสเปลนเดนส์ (Betta Splendens)ให้เป็นสัตว์น้ำประจำชาติ โดยมีประชาชนได้เข้าร่วมลงชื่อผ่านแคมเปญบนเว็บไซด์​ Change.org เรียกร้องให้รัฐบาลประกาศให้ปลากัดเป็นสัตว์น้ำประจำชาติ​ มีผู้เข้าร่วมลงชื่อกว่าหมื่นคน​ แสดงถึงความตื่นตัวและการรับรู้ถึงความสำคัญของปลากัดต่อสาธารณะ

"บิ๊กตู่"อย่าเข้าใจผิด! ดันปลากัดเป็นสัตว์น้ำประจำชาติ.. สิทธิบัตร กับ ลิขสิทธิ์ คนละส่วนกัน!!

 

ล่าสุด 16 ต.ค.61- พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ...

กรณีที่มีเสียงเรียกร้องให้รัฐบาลขึ้นทะเบียนปลากัดที่มีสีเป็นลายธงชาติไทยเป็นสัตว์ประจำชาตินั้น มันใช่ที่ไหนเล่า เพราะสัตว์ประจำชาติไทย คือช้าง ส่วนกรณีของสัตว์น้ำทำได้ในรูปแบบของการจดลิขสิทธิ์ว่าปลากัดที่มีสีดังกล่าวเป็นลิขสิทธิ์ของประเทศเรา เพื่อไม่ให้ใครนำไปขยายพันธุ์ต่อ ทั้งนี้กระทรวงพาณิชย์กำลังดำเนินการเรื่องการจดลิขสิทธิ์ แต่ยังไม่สามารถทำได้เสร็จทันที เพราะต้องใช้เวลาทำในหลายๆอย่าง.

 

"บิ๊กตู่"อย่าเข้าใจผิด! ดันปลากัดเป็นสัตว์น้ำประจำชาติ.. สิทธิบัตร กับ ลิขสิทธิ์ คนละส่วนกัน!!

ขณะเดียวกันทางด้าน  Noppanan Arunvongse Na Ayudhaya หนึ่งในผู้ที่ขับเคลื่อน กรณีดังกล่าวได้ออกมาชี้แจงวัตถุประสงค์ที่แท้จริง โดยระบุว่า..

 

ขอชี้แจงว่า..1. ไม่มีใครเรียกร้องให้ขึ้นทะเบียนปลากัดสีธงชาติให้เป็นสัตว์น้ำประจำชาติ แต่เรียกร้องให้ขึ้นทะเบียนปลากัด (Betta Splendens) เป็นสัตว์น้ำประจำชาติ

 

2. สัตว์ประจำชาติ (National Animal) กับ สัตว์น้ำประจำชาติ (National Aquatic Animal) เป็นคนละส่วนกัน ประเทศไทยมีสัตว์ประจำชาติ แต่ยังไม่มีสัตว์น้ำประจำชาติเหมือนประเทศอื่น ๆ

 

3. ช้างเป็นสัตว์บก ไม่ใช่ สัตว์น้ำ

 

4. ลิขสิทธิ์ (Copyright) กับ สิทธิบัตร (Patent) เป็นคนละส่วนกัน และเราไม่สามารถจดทะเบียนสัตว์กับทั้งลิขสิทธิ์หรือสิทธิบัตรได้ตามกฎหมายไทย ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ได้ยืนยันแล้ว

 

5. การประกาศให้เป็นสัตว์น้ำประจำชาตินั้นทำได้โดยมติคณะรัฐมนตรี ซึ่งจะมีผลคุ้มครองปลากัดในเชิงเอกลักษณ์ชาติโดยตรง และป้องกันไม่ให้ต่างชาติจดสิทธิบัตรโดยอ้อมได้ในกฎหมายสิทธิบัตรของประเทศอื่น

 

6. การพิจารณาเรื่องสัตว์น้ำประจำชาติไม่ใช่หน้าที่ของกระทรวงพาณิชย์ แต่เป็นหน้าที่ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ และคณะรัฐมนตรี

 

7. นายกรัฐมนตรีควรจะศึกษาข้อมูลเบื้องต้นให้ถูกต้อง และรอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจาณาให้แล้วเสร็จก่อนที่จะแถลงข่าวโดยขาดความเข้าใจ

 

"บิ๊กตู่"อย่าเข้าใจผิด! ดันปลากัดเป็นสัตว์น้ำประจำชาติ.. สิทธิบัตร กับ ลิขสิทธิ์ คนละส่วนกัน!!