เคล็ดลับบูชาเทพเจ้าเทพไฉ่ ซิ้ง เอี้ย เทพเจ้าแห่งความร่ำรวย บูชาตามปีนักษัตร!  เพื่อสร้างความมั่งคั่ง บูชาได้แม้ไม่ใช่วันตรุษจีน!

ติดตามเรื่องราวดีๆ อีกมากมายได้ที่ http://panyayan.tnews.co.th

เคล็ดลับบูชาเทพเจ้าเทพไฉ่ ซิ้ง เอี้ย เทพเจ้าแห่งความร่ำรวย บูชาตามปีนักษัตร!  เพื่อสร้างความมั่งคั่ง บูชาได้แม้ไม่ใช่วันตรุษจีน!

             ในทำเนียบของเทพเจ้าจีน มีเทพเจ้าสำคัญอีกองค์หนึ่งที่เป็นที่รู้จักกันดีของคนจีนทั่วโลก และมีความสำคัญอย่างมาก คือเทพเจ้าแห่งโชคลาภ หรือในภาษาจีนเรียกว่า “ ไฉ่ ซิ้ง เอี้ย ” เป็นเทพเจ้าที่ให้คุณทางด้านโชคลาภ ทรัพย์สมบัติ และการค้าขาย และทางของไทยนั้นได้เรียกชื่อท่านเป็น ท้าวเวสสุวรรณโณ (กุเวร) ซึ่งเชื่อว่าเป็นเทพองค์เดียวกัน

             คนจีนนั้นไม่ว่าจะอยู่ที่ใดในโลก ทุกตรุษจีนหรือวันขึ้นปีใหม่ จะต้องมีการกราบไหว้อัญเชิญเทพเจ้าองค์นี้ เข้ามาสู่เคหสถานบ้านเรือนร้านค้า เพื่อความมีโชคดีทำธุรกิจเจริญรุ่งเรือง ในปีนั้นๆ ความเชื่อเหล่านี้มีมานานนับพันปี ในหมู่คนจีนทั่วโลก แม้กระทั่งในระดับฮ่องเต้ของจีน ก็ต้องประกอบพิธีอัญเชิญเทพเจ้าแห่งโชคลาภในเทศกาลปีใหม่ แสดงให้เห็นถึงความสำคัญและมีความเป็นสากล

             เคล็ดคาถานี้บูชาสำหรับท่านที่เกิดปีต่าง ๆ ทั้ง 12 นักษัตร อันเป็นหัวใจคาถาของทิเบตจารึก เป็นภาษาสันสกฤตมาแต่ครั้งโบราณ โดยให้ตั้งจิตให้สงบระลึกถึงความดี และบุญกุศลที่ได้ประกอบมา แล้วท่องคาถาหัวใจมหาเศรษฐีชัมภล อธิษฐานขอพรจากท่าน

ท่านที่เกิดในปี ฉลู – มะโรง – มะแม – จอ
คาถาหัวใจมหาเศรษฐีชัมภล คือ “โอม ชัมภาลา จาเลน ไนเยน สวาหะ”

ท่านที่เกิดในปี  ขาล – เถาะ
คาถาหัวใจมหาเศรษฐีชัมภล คือ “โอม อา ฮูโฮฮัม กษะสะ โอม ชัมภาลา ลาจาเลน ไนเยน สวาหะ”

ท่านที่เกิดในปี มะเส็ง – มะเมีย
คาถาหัวใจมหาเศรษฐีชัมภล คือ “โอม ชัมภาลา จาเลน ไนเยน ธะนัม เมธิ หะรี ทากินี ชัมภาลา สะ

มะภารา สวาหะ”

ท่านที่เกิดในปี วอก – ระกา
คาถาหัวใจมหาเศรษฐีชัมภล คือ “โอม ปัทมะ โกรธะ อรยะ ชัมภาลา หฤทัย หู ผะฏะ”

ท่านที่เกิดในปี กุน – ชวด
คาถาหัวใจมหาเศรษฐีชัมภล คือ “โอม ชัมภะละ ชะเลนทะรา เย สะวาหา โอม อินทะระ ฌิมขัม ภะ

มะริ สวาหา”

               ไช้ซิ้งเอี้ย เป็นเทพแห่งความร่ำรวยโชคลาภ ตามความเชื่อของชาวจีนมีรูปหน้าสีดำ หนวดเครารุงรัง มีถือแส้สีดำ สวมชุดนักรบ นั่งเสือเป็นพาหนะ บางทีก็มีรูปทองแท่ง เงินหยวนเป่า และเพชรนิลจินดาของมีค่ามากมาย เป็นการแสดงถึงความร่ำรวยและมีโชคลาภ

เคล็ดลับบูชาเทพเจ้าเทพไฉ่ ซิ้ง เอี้ย เทพเจ้าแห่งความร่ำรวย บูชาตามปีนักษัตร!  เพื่อสร้างความมั่งคั่ง บูชาได้แม้ไม่ใช่วันตรุษจีน!

               การมีฐานะมั่งคั่งร่ำรวยเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องการด้วยกันทั้งสิ้น แต่จะร่ำรวยได้นั้นนอกจากต้องทำงานอย่างเต็มที่แล้ว การบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ก็มีส่วนสำคัญที่ช่วยให้ชีวิตและความเป็นอยู่ดีขึ้นเช่นกัน

             ชาวจีนเชื่อว่าการบูชาเทพร่ำรวยโชคลาภ คือ การบูชาเทพที่ประทานความมีโชคลาภหรือความร่ำรวยโดยตรง จึงให้ความสำคัญกับการเซ่นไหว้เทพเจ้าร่ำรวยโชคลาภเป็นอย่างมาก

                  การบูชานั้น จะเลือกเอาวันประสูติของเทพร่ำรวยโชคลาภซึ่งตรงกับวันขึ้น 2 ค่ำเดือนอ้ายของจีน ตามจันทรคติ แต่บางตำนานบอกว่าเป็นวันขึ้น 5 ค่ำเดือนอ้ายก็มี ในวันนั้นชาวบ้านจะนำเครื่องเซ่นต่างๆ มาบูชาขอพร “เคล็ดสำคัญที่ขาดไม่ได้ก็คือ การแลกเงิน เพราะชาวจีนเชื่อว่าได้นำเงินทองของเทพร่ำรวยโชคลาภกลับบ้าน จะทำให้เงินทองไม่ขัดสน มีเงินใช้ตลอดปี”

 

            สำหรับคนไทยทั่วไป สามารถบูชาเทพเจ้าองค์นี้ในนามของท้าวเวสสุวรรณโณ (กุเวร) ได้เช่นกันเพราะเชื่อว่าท่านเป็นองค์เดียวกัน แต่คนในพื้นที่ต่างๆ นั้นเรียกต่างกัน

              ท้าวเวสสุวรรณ เป็นเทพเจ้าแห่งความร่ำรวย สัญลักษณ์แห่งมหาเศรษฐี ในหนังสือเทวกำเนิดของพระยาสัจจาภิรมย์ ระบุชื่อท้าวเวสสุวรรณ ล้วนมุ่งหมายทางมหาเศรษฐีมั่งมีทรัพย์ อาทิ ท้าวรัตนครรถ (ผู้มีเพชรเต็มพุง) ท้าวกุเวรธนบดี (ผู้เป็นใหญ่ในทรัพย์) ท้าวธเนศวร (เจ้าทรัพย์) องค์อิฉาวสุ (ผู้มั่งมีได้ตามใจ) ท้าวเวสสุวรรณ (ยิ่งด้วยทอง) ซึ่งถ้าใครมีบูชากันทุกบ้านร่ำรวยทุกคน ขับไล่ภูติผีปีศาจ วิญญาณร้าย

เคล็ดลับบูชาเทพเจ้าเทพไฉ่ ซิ้ง เอี้ย เทพเจ้าแห่งความร่ำรวย บูชาตามปีนักษัตร!  เพื่อสร้างความมั่งคั่ง บูชาได้แม้ไม่ใช่วันตรุษจีน!

             สารานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่มที่ 3 หน้า 1439 กล่าวถึงท้าวกุเวรหรือท้าวเวสวัณไว้ว่า กุเวร-ท้าว พระยายักษ์ผู้เป็นเจ้าแห่งขุมทรัพย์มียักษ์ และคุยหกะ (ยักษ์ผู้เฝ้าขุมทรัพย์) เป็นบริวาร ท้าวกุเวรนั้น บางทีก็เรียกว่าท้าวไวศรวัน (เวสสุวรรณ) ภาษาทมิฬเรียก "กุเวร" ว่า "กุเปรัน" ซึ่งมีเรื่องอยู่ในรามเกียรติ์ว่า เป็นพี่ต่างมารดาของทศกัณฐ์ และทศกัณฐ์ไปแย่งบุษบกของท้าวกุเวรไป ท้าวกุเวรมีรูปร่างพิการผิวขาว มีฟัน 8 ซี่ และมีขาสามขา (ภาพท้าวเวสวัณจึงมักเขียนท่ายืนแยงแย ถือไม้กระบองยาว อยู่หว่างขา) เมืองท้าวกุเวรชื่อ "อลกา" อยู่บนเขาหิมาลัย มีสวนอุทยานอยู่ไหล่เขาแห่งหนึ่งของเขาพระสุเมรุ ชื่อว่า "สวนไจตรต" หรือ "มนทร" มีพวกกินนรและคนธรรพ์เป็นผู้รับใช้ ท้าวกุเวรเป็นโลกบาลประจำทิศเหนือ คนจีนเรียกว่า "โต้เหวน" หรือ "โต้บุ๋น" คนญี่ปุ่นเรียกว่า "พสมอน"

บทสวดท้าวเวสสุวรรณโณ

ตั้งนะโม 3 จบ

อิติปิ โส ภะคะวา ยมมะราชาโน ท้าวเวสสุวรรณโณ

มะระณัง สุขัง อะหัง สุคะโต นะโม พุทธายะ

ท้าวเวสสุวรรณโณ จาตุมะหาราชิกา ยักขะพันตา ภัทภูริโต

 

 

 

 

จินต์จุฑา รายงาน

ขอบคุณข้อมูลจาก : ธ. ธรรมรักษ์  https://torthammarak.wordpress.com