วีรบุรุษผู้ถูกลืม!! จากสามัญชน สู่ เจ้านายในพระราชวงศ์จักรี เปิดประวัติ "พระองค์เจ้าขุนเณร" ปรมาจารย์การรบกองโจรแห่งสงครามเก้าทัพ !!

ติดตามเรื่องราวดีๆ อีกมากมายได้ที่ http://www.tnews.co.th

วีรบุรุษผู้ถูกลืม!! จากสามัญชน สู่ เจ้านายในพระราชวงศ์จักรี เปิดประวัติ "พระองค์เจ้าขุนเณร" ปรมาจารย์การรบกองโจรแห่งสงครามเก้าทัพ !!

 

            ประวัติศาสตร์ในการทำศึกสงครามนั้น นับว่าได้สงครามเก้าทัพ ที่เป็นสงครามระหว่างอาณาจักรพม่ากับราชอาณาจักรไทย หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ เป็นราชธานีแห่งใหม่ เป็นสงครามครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์ไทย ในเวลานั้นบ้านเมืองอยู่ในช่วงผ่านศึกสงครามมาใหม่ๆ ประจวบทั้งการสร้างบ้านแปลงเมือง รวมทั้งปราสาทราชวังต่างๆ ในปี พ.ศ. ๒๓๒๘ พระเจ้าปดุง กษัตริย์พม่า หลังจากบรมราชาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์อังวะแล้ว ทำสงครามรวบรวมเมืองเล็กเมืองน้อยรวมถึงเมืองประเทศราชให้เป็นปึกแผ่น แล้วก็ได้ยกกองกำลังเข้ามา โดยมีจุดประสงค์ทำสงครามกับกรุงรัตนโกสินทร์

 

วีรบุรุษผู้ถูกลืม!! จากสามัญชน สู่ เจ้านายในพระราชวงศ์จักรี เปิดประวัติ "พระองค์เจ้าขุนเณร" ปรมาจารย์การรบกองโจรแห่งสงครามเก้าทัพ !!

            ในสงครามครั้งนี้มีผู้ร่วมกันกอบกู้ที่มีบทบาทสำคัญมากมาย เช่น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท และอีกมากมาย แต่ในประวัติศาสตร์นั้นมีการพูดถึงผู้ร่วมกอบกู้ในศึกครั้งนี้อย่าง "พระองค์เจ้าขุนเณร" เชื่อว่าหลายคนไม่เคยได้ยินนามนี้มาก่อน แต่หารู้ไม่ว่า พระองค์ทรงเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญอย่างหนึ่งในการรับมือกับสงครามเก้าทัพในครั้งนี้

วีรบุรุษผู้ถูกลืม!! จากสามัญชน สู่ เจ้านายในพระราชวงศ์จักรี เปิดประวัติ "พระองค์เจ้าขุนเณร" ปรมาจารย์การรบกองโจรแห่งสงครามเก้าทัพ !!

          เมื่อครั้งที่สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ได้ยกกองทัพไปถึงเมืองกาญจนบุรี ตั้งรับทัพอยู่บริเวณทุ่งลาดหญ้า เชิงเขาบรรทัด สกัดกั้นไม่ให้ทัพพม่าได้เข้ามารวบรวมกำลังพลกันได้ นอกจากนี้ยังจัดกำลังไปตัดการลำเลียงเสบียงของพม่าเพื่อให้กองทัพขาดเสบียงอาหาร แล้วยังใช้อุบาย โดยทำเป็นถอยกำลังออกในเวลากลางคืน ครั้นรุ้งเช้าก็ให้ทหารเดินเข้ามาผลัดเวร เสมือนว่ามีกำลังมากมาเพิ่มเติมอยู่เสมอ เมื่อทัพพม่าขาดแคลนเสบียงอาหารประจวบกับคิดว่ากองทัพไทยมีกำลังมากกว่า จึงไม่กล้าจะบุกเข้ามาโจมตี สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทเมื่อสบโอกาสทำการโจมตีกองทัพ ๘-๙ จนถอยร่นพระเจ้าปดุงเมื่อเห็นว่าไม่สามารถบุกโจมตีต่อได้ประจวบกับทั้งกองทัพขาดเสบียงอาหารจึงได้ถอยทัพกลับ สำหรับการโจมตีทางด้านอื่น ทางด้านเหนือพระเจ้ากาวิละเจ้าเมืองลำปางสามารถป้องกันทัพพม่าที่ยกมาทางหัวเมืองฝ่ายเหนือได้สำเร็จ

 

วีรบุรุษผู้ถูกลืม!! จากสามัญชน สู่ เจ้านายในพระราชวงศ์จักรี เปิดประวัติ "พระองค์เจ้าขุนเณร" ปรมาจารย์การรบกองโจรแห่งสงครามเก้าทัพ !!

          จากการยกทัพครั้งนี้เอง ผู้ที่ได้รับหน้าที่ "หัวหน้ากองโจร" คอยตัดการลำเลียงเสบียงเพื่อตัดกำลังของฝ่ายพม่า นั่นก็คือ "พระองค์เจ้าขุนเณร" วีรบุรษผู้ถูกลืมผู้นี้เองที่เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการศึกครั้งนี้ ผู้เป็นปรมาจารย์การรบกองโจร วีรบุรุษแห่งสงครามเก้าทัพ

          พระองค์เจ้าขุนเณร โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็นเจ้านายในพระราชวงศ์จักรี โดยเป็นพระโอรสบุญธรรมใน สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ กรมพระยาเทพสุดาวดี พระองค์เจ้าขุนเณร เป็นพระโอรสของ พระอินทรรักษา หรือหม่อมเสม ซึ่งเป็นพระภัสดาของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ กรมพระยาเทพสุดาวดี พระภคินีเธอในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระองค์เจ้าขุนเณร ทรงเป็นเจ้านายนอกพระราชวงศ์จักรี เพราะพระชาติประสูติของพระองค์นั้นเกิดกับหญิงสามัญ ซึ่งเป็นอนุภริยาในพระอินทรรักษา สำหรับพระองค์เจ้าขุนเณร นับว่าเป็นเจ้านายที่พระปรีชาการศึกสงครามพระองค์หนึ่ง ทรงประทับที่วังบ้านปูน แต่พระชีวประวัติเท่าที่สืบค้นมีน้อยมาก ไม่มีระบุเหตุของการสิ้นพระชนม์

 

วีรบุรุษผู้ถูกลืม!! จากสามัญชน สู่ เจ้านายในพระราชวงศ์จักรี เปิดประวัติ "พระองค์เจ้าขุนเณร" ปรมาจารย์การรบกองโจรแห่งสงครามเก้าทัพ !!

           สำหรับพระประวัติของพระองค์เจ้าขุนเณรในการศึกสงครามที่สำคัญ นั่นก็คือ การรบในสมัยสงครามเก้าทัพ กรณียกิจที่ปรากฏชัดเจนและมีความสำคัญยิ่งขึ้น คือ เหตุการณ์ในการทำสงครามกับพม่า ที่เรียกว่าสงครามเก้าทัพ ณ เมืองกาญจนบุรี ในปี พ.ศ. ๒๓๒๘ ในแผ่นดินสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระองค์เจ้าขุนเณรได้รับหน้าที่เฉพาะกิจโดย กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทโปรดเกล้าฯ ให้เป็นหัวหน้ากองโจร คอยทำลายกองกำลังของพม่า ตัดกำลัง แย่งชิงเสบียงอาหารและยุทโธปกรณ์ของพม่า รบกวน รังควานแย่งชิง ทำลายกองเกวียนกองช้างกองม้าที่นำเสบียงมาจากเมืองเมาะตะมะ เมืองทวาย และตะนาวศรี นำกำลังเข้าไปทางบก และทางน้ำแทรกซึมเข้าไปในพื้นที่ตั้งของข้าศึก และอาศัยภูมิประเทศ เหตุการณ์ดินฟ้าอากาศในขณะนั้น จู่โจม โจมตีทำลาย และจับกุมกำลังทหารของพม่า ทำให้ข้าศึกพะวักพะวน ต้องดึงกำลังมารักษาพื้นที่ส่วนหลังมากขึ้น เป็นการทำลายขวัญของพม่าให้ลดถอยในการสู้รบ พระองค์เจ้าขุนเณรใช้กองทัพนินจาที่พระองค์ทรงฝึกเองเพียง ๑,๘๐๐ คนเท่านั้น ที่จะต้องยันกองทัพพม่า ที่ยกมาเป็นจำนวนนับแสน ซึ่งในการปฏิบัติงานสำคัญ เป็นภารกิจเสี่ยงต่อภัยอันตรายตลอดเวลา ยากที่กำลังพลปกติทั่วไปจะกระทำได้สำเร็จ

วีรบุรุษผู้ถูกลืม!! จากสามัญชน สู่ เจ้านายในพระราชวงศ์จักรี เปิดประวัติ "พระองค์เจ้าขุนเณร" ปรมาจารย์การรบกองโจรแห่งสงครามเก้าทัพ !!

          ต่อมาพระกรณียกิจในการสงครามครั้งสุดท้ายของพระองค์คือ สงครามปราบเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์ กรณียกิจครั้งสุดท้ายของพระเจ้าขุนเณร ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ จากเอกสารของ ขุนนคเรศฯ เรื่อง "บันทึกลับ เจ้าพระยาบดินทร์เดชาฯ" ได้พบพระนามของพระองค์เจ้าขุนเณรอีก ได้พิจารณาข้อความตอนหนึ่งที่ขุนนางผู้ใหญ่ ได้นำหนังสือกราบบังคมทูลถึงการปฏิบัติการรบกับกองทัพพระเจ้าอนุเวียงจันทน์ ในฐานะกองโจร และกรมพระราชวังบวรสถานมงคลแม่ทัพหลวงทรงตรัสว่า

"พระองค์เจ้าขุนเณรเขาเคยได้กระทำการศึกสงครามชำนิชำนาญ มาแต่ครั้งแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง แต่ครั้งท่านเสด็จไปตีพม่าที่เขาชะงุ้ม ราชบุรี ครั้งนั้น พระองค์เจ้าขุนเณรเขาได้เป็นนายทัพกองโจรไปตีกองลำเลียงพม่า เขาเคยมีชัยชนะมาแล้ว"

           ทั้งนี้ยังมีข้อความตอนหนึ่งกล่าวว่าในปี พ.ศ. ๒๔๖๙ สันนิษฐานว่าพระองค์เจ้าขุนเณรมีพระชนมายุเกิน ๖๐ พรรษา และได้รับโปรดเกล้าฯให้เป็นนายทัพกองโจรคุมกำลังกองโจร ซึ่งเป็นคนพม่า คนทวาย และเป็นนักโทษมาแล้ว จำนวน ๕๐๐ คน ภายหลังให้ทหารเมืองนครราชสีมามารวมด้วยอีก ๕๐๐ คน โดยให้พระณรงค์สงครามเป็นหัวหน้า

           นับว่าพระองค์เจ้าขุนเณร พระองค์ทรงมีบทบาทสำคัญและเป็นวีรบุรุษที่มีความกล้าหาญ ร่วมกอบกู้เอกราช ปกป้องแผ่นดินไทยด้วยหัวใจที่เข้มแข็งและเด็ดเดี่ยว เชื่อว่าหลายคนคงได้รู้ถึงพระประวัติและได้รับรู้ถึงที่มาที่ไปอีกแง่มุมหนึ่งของประวัติศาสตร์ชาติไทยว่า ครั้งหนึ่งเคยมีผู้ที่กล้าหาญ ร่วมปกป้องแผ่นดินไทยมาถึงทุกวันนี้

 

 

 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : https://th.wikipedia.org/wiki/พระองค์เจ้าขุนเณร

                           https://th.wikipedia.org/wiki/สงครามเก้าทัพ

ขอบคุณเจ้าของภาพมา ณ โอกาสนี้ด้วย