ปรองดองต้องอยู่ที่ประชาชน !!!  "สุดช็อค" เปิดสถิติความเหลื่อมล้ำของคนไทย ไร้ความมั่นคงในชีวิต 99.99% (รายละเอียด)

ย้อนกลับไปก่อนหน้านี้ มีการเปิดสถิติวิเคราะห์สถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำในประเทศไทย มีเพียง0.1%ที่มีเงินฝากเกิน10ล้านบาทขึ้นไป

ประเด็นสำคัญ คือ เรื่องของการปรองดองยังเป็นที่พูดถึงและถูกวิพากษ์วิจารณ์จากประชาชนอยู่ไม่น้อยเพราะ นอกจากนี้ยังมีนักการเมืองหลายๆท่านออกมาพูดถึงเรื่องการปรองดองอยู่เรื่อยๆ จนพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีต้องออก มาพูดถึงเรื่องการปรองดองว่าเรื่องการปรองดองไม่ใช่เฉพาะแค่นักการเมือง แต่มีเรื่องที่ดิน เรื่องความเหลื่อมล้ำ ความไม่เท่าเทียมของประชาชนในสังคมด้วย

ปรองดองต้องอยู่ที่ประชาชน !!!  "สุดช็อค" เปิดสถิติความเหลื่อมล้ำของคนไทย ไร้ความมั่นคงในชีวิต 99.99% (รายละเอียด)

ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 17 มกราคม 2560 พล.อ.ประยุทธ์ ได้กล่าวถึงเรื่องการปรองดองว่า "วันนี้เราต้องทำให้ภาคประชาสังคม ประชาชน ทุกคนในประเทศรู้ก่อนว่าพรรคการเมืองแต่ละพรรค เป็นอย่างไร ต้องการอะไร และจะปฏิรูปประเทศกันหรือไม่ ที่สำคัญจะสร้างความปรองดองได้อย่างไร แล้วใครที่ทำให้เกิดความขัดแย้ง ซึ่งไม่ใช่ผม หรือรัฐบาลนี้ รวมถึงไม่ใช่เพราะผมเข้ามาจึงทำให้เกิดความขัดแย้ง ผมเข้ามาเพื่อยุติความขัดแย้ง ซึ่งก็เห็นอยู่แล้ว ตั้งแต่ตนเองเข้ามาทุกอย่างก็เงียบ หยุดทุกอย่าง ผมถึงเข้ามาแบบนี้ ซึ่งผมก็ต้องทำหน้าที่นี้ต่อไป จนกว่าคณะกรรมการชุดนี้จะสรุปผลต่างๆ ขึ้นมาว่าจะทำอย่างไรแล้วไปดำเนินการต่อ และเรื่องแบบนี้ไม่ได้จบภายใน 1-2 วัน” นายกฯกล่าว

นายกฯกล่าวว่า พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม บอกว่าจะต้องใช้เวลาในการหารือพูดคุย ประมาณ 3 เดือน เพื่อให้ได้ข้อยุติ ว่าใครต้องการอะไร อย่างไร ปัญหาอยู่ตรงไหน แล้วก็ปฏิรูปลงมา จากนั้นไปว่ากันต่อในขั้นที่ 2 และ 3 อย่าใจร้อน เรื่องนี้ถ้าใจร้อนแล้ว มีเรื่องทุกที

นอกจากนี้ยังกล่าวว่าเรื่องการปรองดองไม่ใช่เฉพาะแค่นักการเมือง แต่มีเรื่องที่ดิน เรื่องความเหลื่อมล้ำ ความไม่เท่าเทียมของประชาชนในสังคมด้วย

เพราะฉะนั้นแล้ว หากกล่าวถึงในประเด็นความเหลื่อมล้ำและความไม่เท่าเทียมกันในสังคม เมื่อลองสืบค้นข้อมูลจากรายงานการวิเคราะห์สถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำในประเทศไทย ปี 2555 ที่เผยแพร่โดย

“สภาพัฒน์” สามารถสะท้อนภาพความเหลื่อมล้ำในประเทศไทยได้อย่างชัดเจน โดยวิเคราะห์ได้จากรายได้ส่วนใหญ่จะกระจุกตัวอยู่ในคนกลุ่มเล็กๆ โดยคนรวยที่สุด 10% ถือครองรายได้กว่า 39.3%ของรายได้ทั้งหมด ขณะที่คนจนที่สุดจำนวน 10% ถือครองรายได้เพียง 1.6% เท่านั้น หรือรายได้ระหว่างกลุ่มคนที่รวยที่สุดกับกลุ่มคนที่จนที่สุด ซึ่งเมื่อเฉลี่ยแล้วห่างกันถึง 25.2 เท่า

ถ้าหากลองดูในเรื่องของทรัพย์สินพบว่าความเหลื่อมล้ำในการถือครองทรัพย์สินระหว่างคนรวยกับคนจนมีความแตกต่างที่ชัดเจน ในเรื่องของการถือครองที่ดินซึ่งรัฐบาลกำลังมีแนวคิดจัดเก็บภาษีที่ดินอยู่นั้น พบว่าทุกวันนี้ที่ดินกว่า 79.9% ถือครองโดยคนเพียง 20% ขณะที่ผู้ถือครองที่ดินจำนวนน้อยที่สุด 20% มีสัดส่วนถือครองที่ดินรวมกันเพียง 0.3 %ของพื้นที่ทั้งหมด หรือคิดเป็นความแตกต่างกันระหว่างคนสองกลุ่มกว่า 325.7 เท่า

ส่วนเงินฝากในบัญชีธนาคารพบว่า “คนรวย” ที่มีเงินฝากในบัญชีเกิน 10 ล้านบาทขึ้นไป มีจำนวนน้อยมากเพียงแค่ 0.1% ของบัญชีทั้งหมด แต่กลับมีเงินฝากรวมกันสูงถึง 46.5% ของเงินฝากทั้งหมด

ส่วนเงินฝากของ “คนส่วนใหญ่” ที่มีเงินไม่เกิน 10 ล้านบาทมีจำนวน 99.99% ของจำนวนบัญชีทั้งหมด แต่มีเงินรวมกันเพียง 53.5% ของเงินฝากทั้งหมด

โดยมีนักเศรษฐศาสตร์จากสถาบันอนาคตไทยศึกษา บอกว่าหากประเทศไทยไม่สามารถแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำได้ภายใน 10 ปี ความเหลื่อมล้ำจะกัดกร่อนสังคมไทยไปเรื่อยๆ การขยายตัวของเศรษฐกิจจะมีข้อจำกัด

สาเหตุของความเหลื่อมล้ำหลักๆมาจาก โครงสร้างเศรษฐกิจเอี้อประโยชน์ต่อเจ้าของทุนมากกว่าเจ้าของแรงงาน,การกระจายบริการพื้นฐานของรัฐมีความเหลื่อมล้ำทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ อันเป็นผลจากการพัฒนาที่กระจุกตัวอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลรวมทั้งเมืองใหญ่ต่างๆ , โครงสร้างภาษียังไม่เป็นธรรมจึงไม่ช่วยสนับสนุนการกระจายผลประโยชน์จากการพัฒนา, ปัญหาระบบกรรมสิทธิ์ที่ดิน มีความเหลื่อมล้ำในการถือครองที่ดิน ปัญหากรรมสิทธิ์ และความขัดแย้งระหว่างราษฎรและภาครัฐ , คนจนยังไม่สามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้อย่างทั่วถึง และ การบริหารราชการแผ่นดินที่ขาดประสิทธิภาพและความโปร่งใส

นอกจากนี้ปัจจัยหลักที่เสี่ยงก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำคือ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของครอบครัว ครัวเรือนที่มีผู้สูงอายุอาศัยอยู่ด้วยและมีโรคเรื้อรัง แนวโน้มการเจ็บป่วยของผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นมีผลต่อภาระค่าใช้จ่าย แรงงานนอกระบบยังขาดหลักประกันรายได้รองรับเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ รัฐยังไม่มีนโยบายส่งเสริมการมีงานทำของผู้สูงอายุที่ชัดเจน การผลิตกำลังคนยังไม่ตอบสนองตลาดแรงงาน กระแสโลกาภิวัตน์และการเปิดเสรีการค้าการลงทุน ท้าให้แรงงานเคลื่อนย้ายเสรี

ปัญหาความเหลื่อมล้ำจึงถือเป็นด่านแรกที่ต้องแก้ไขให้ได้ก่อน จึงจะสามารถเข้าถึงการปรองดองอย่างแท้จริงได้ เนื่องจากคนที่มีกำลังใช้จ่ายกระจุกตัวอยู่แค่กลุ่มเดียว เกิดภาวะสมองไหล เพราะคนที่มีความสามารถก็จะทำงานนอกประเทศมากขึ้น เนื่องจากสังคมที่ไม่เป็นธรรม ขณะที่นักการเมืองก็จะเห็นช่องทางในการเพิ่มคะแนนเสียง ด้วยการเพิ่มโครงการประชานิยม โดยอ้างว่าเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ ปัญหาการคอร์รัปชันก็จะเพิ่มขึ้น เพราะการเข้าถึงทรัพยากรจำกัดเฉพาะคนรวย การแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ จึงมีความจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศในระยะยาว ก่อนที่ภาวะคนรวยกระจุกตัว จะกลายเป็นระเบิดเวลาลูกใหม่ ซึ่งทำให้เกิดปัญหาความวุ่นวายทางการเมืองระลอกใหม่ตามมา


ขอบคุณข้อมูล.... จากรายงานการวิเคราะห์สถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำในประเทศไทย ปี 2555
และ ความยากจนและความเหลื่อมล้ำ อานันท์ชนก สกนธวัฒน

 

เรียบเรียงโดย สินีนุช สำนักข่าวทีนิวส์