บริษัท แอสตราเซนเนกา โว ฉีดเข็มแรก ลดรุนแรง-เสียชีวิต จากเชื้อกลายพันธุ์สูง

บริษัท แอสตราเซนเนกา (ประเทศไทย) จำกัด อ้างผลการศึกษาจากเครือข่ายการวิจัยการสร้างภูมิคุ้มกันโรคของแคนาดา ว่า ประสิทธิผลของวัคซีนแอสตร้าฯ หลังจากฉีดเข็มแรกช่วยลดการเจ็บป่วยรุนแรงและป้องกันการเสียชีวิต จากสายพันธุ์เบตา/แกมมาได้ 82 % และเดลตาได้ 87 %

วันนี้ ( 5 ส.ค.64) บริษัท แอสตราเซนเนกา  (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยผลการศึกษาข้อมูลการใช้วัคซีนป้องกันโควิด-19 จากผลการศึกษาจากเครือข่ายการวิจัยการสร้างภูมิคุ้มกันโรคของแคนาดา (Canadian Immunization Research Network - CIRN) ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานสาธารณสุขของแคนาดาและสถาบันวิจัยสุขภาพแห่งชาติ แคนาดา ได้แสดงประสิทธิผลของวัคซีนหลังจากฉีดเข็มแรกช่วยลดการเจ็บป่วยในระดับที่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและป้องกันการเสียชีวิตที่เกิดจากการติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์เบตา/แกมมาได้ 82% และเดลตาได้ 87%

 

"บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า

 

ลาซาด้า

 

ผลการวิเคราะห์จากการศึกษาครั้งนี้เป็นการรวบรวมข้อมูลจากผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด-19 จำนวน 69,533 คน ในช่วงระหว่างเดือน ธ.ค.63- พ.ค.64 ในรัฐออนแทรีโอ ประเทศแคนาดา โดยแบ่งเป็นผู้ป่วยติดเชื้อในสายพันธุ์ที่ไม่น่ากังวลจำนวน 28,705 คน (6.8%) และในสายพันธุ์ที่น่ากังวลจำนวน 40,828 คน (9.7%)

โดยผลการศึกษาพบว่า วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตราฯ 1 โดส มีประสิทธิผลสูงถึง 82% ช่วยลดการเจ็บป่วยในระดับที่ต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล หรือการเสียชีวิตที่เกิดจากการติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์เบตา และสายพันธุ์แกมมา นอกจากนี้ ข้อมูลยังแสดงให้เห็นว่าวัคซีนมีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันสายพันธุ์เดลตา ( อินเดีย ) และสายพันธุ์อัลฟา ( อังกฤษ ) โดยช่วยลดอาการป่วยรุนแรงที่ต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลหรืออัตราการเสียชีวิตได้ถึง 87% และ 90% ตามลำดับ

ทั้งนี้ ผลการทดสอบประสิทธิผลของวัคซีน หลังการฉีดเข็มแรกเพื่อป้องกันการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลหรือการเสียชีวิตนั้น มีระดับตัวเลขที่ไม่แตกต่างกับวัคซีนอื่นๆ  โดยระยะเวลาในการติดตามผลยังไม่เพียงพอที่จะรายงานประสิทธิภาพหลังการฉีดเข็มที่สอง แต่มีงานวิจัยอื่นๆ ที่แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นหลังการฉีดวัคซีนเข็มที่สองตามคำแนะนำในการเว้นระยะเวลาระหว่างการฉีดวัคซีนเข็มแรกและเข็มที่สอง

ประสิทธิภาพของวัคซีนในการป้องกันการติดเชื้อแบบมีอาการไม่ว่าในระดับใดจากโรคโควิด-19 สายพันธุ์เบตา และแกมมาอยู่ที่ประมาณ 50% และ 70% และ 72% สำหรับสายพันธุ์เดลตาและอัลฟา ตามลำดับ

การทดลองในเฟสที่ 1 และ 2 ที่จัดทำโดยมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดและมหาวิทยาลัยวิทวอเตอร์สแรนด์ ในเดือน ม.ค.64 แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพที่จำกัดในการป้องกันอาการที่ไม่รุนแรงในขั้นต้นที่เกิดสายพันธุ์เบตา โดยการทดลองยังไม่สามารถตรวจสอบประสิทธิภาพของวัคซีนในการป้องกันอาการที่รุนแรงได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งการลดจำนวนผู้ป่วยที่ต้องเข้ารักษาในโรงพยาบาลและอัตราการเสียชีวิต เนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่ยังอยู่ในวัยหนุ่มสาว มีสุขภาพดี และมีอาการของโรคไม่รุนแรง

เซอร์ เมเน แพนกาลอส รองประธานบริหารฝ่ายวิจัยและพัฒนาด้านยาชีวเภสัชภัณฑ์ เผยว่า วัคซีน Vaxzevria หรือวัคซีนป้องกันโควิดของแอสตราฯ และวัคซีนอื่นๆ ที่ใช้อยู่ในแคนาดา มีศักยภาพในการป้องกันโรคโควิด-19 ที่แสดงอาการรุนแรงในระดับสูงหลังจากการฉีดเพียงเข็มแรก ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งในการสร้างเกราะปกป้องให้กับผู้คนที่อยู่ทั่วทุกมุมโลกให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อนำไปสู่การยับยั้งไวรัสที่ร้ายแรงนี้

 

"บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า

 

ลาซาด้า