อนามัยโลกยัน "คุณแม่ติดโควิด" และหญิงฉีดวัคซีน สามารถให้นมบุตรได้

สำนักงานองค์การอนามัยโลก (WHO) ประจำภูมิภาคยุโรป เปิดเผยว่าไม่มีการตรวจพบเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคโควิด-19 ในน้ำนมมารดา และมารดาไม่จำเป็นต้องหยุดให้นมบุตรระหว่างติดเชื้อหรือหลังจากฉีดวัคซีน

องค์การอนามัยโลก (WHO) ประจำภูมิภาคยุโรป เปิดเผยว่าไม่มีการตรวจพบเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคโควิด-19 ในน้ำนมมารดา และมารดาไม่จำเป็นต้องหยุดให้นมบุตรระหว่างติดเชื้อหรือหลังจากฉีดวัคซีน

 

ลาซาด้า

 

แม้จะอิงจาก “การศึกษาในวงจำกัด” แต่ผลการศึกษาล่าสุด ทำให้องค์การฯ มั่นใจว่ามารดาสามารถให้นมบุตรต่อไปได้อย่างปลอดภัย แม้จะติดเชื้อโรคโควิด-19 ตราบใดที่ปฏิบัติตามคำแนะนำ

“ในฐานะแม่ที่ให้นมลูก 3 คน ฉันรู้ดีว่าน้ำนมแม่เป็นหนึ่งในแหล่งโภชนาการที่ดีที่สุดสำหรับทารก ซึ่งรวมถึงทารกที่มีแม่ติดเชื้อ หรือต้องสงสัยว่าติดเชื้อโรคโควิด-19” นาตาชา อัซโซปาร์ดี มัสกัต ผู้อำนวยการด้านนโยบายสุขภาพขององค์การฯ แถลง พร้อมเสริมว่า “ตราบใดที่แม่ผู้ติดเชื้อปฏิบัติตามคำแนะนำที่เหมาะสม เธอก็สามารถให้นมลูกได้”

คำแนะนำขององค์การฯ ประกอบด้วยการสวมหน้ากากอนามัยหรือผ้าปิดปากและจมูกระหว่างให้นมบุตร ล้างมือด้วยสบู่และน้ำเป็นเวลา 20 วินาทีก่อนและหลังสัมผัสบุตร และทำความสะอาดฆ่าเชื้อพื้นผิวที่เคยสัมผัสเป็นประจำ

 

"คุณแม่ติดโควิด" และหญิงฉีดวัคซีน สามารถให้นมบุตรได้

 

นอกจากนี้ ผลการศึกษายังพบว่าการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ให้มารดาที่กำลังให้นมบุตรเพื่อป้องกันการติดเชื้อนั้น ไม่มีความเสี่ยงใดๆ ต่อบุตร

“มารดาที่กำลังให้นมบุตรที่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 แล้ว จะมีแอนติบอดีในน้ำนม ซึ่งอาจช่วยปกป้องลูกน้อยของพวกเธอจากการติดเชื้อนี้ได้” องค์การฯ ชี้

ผลการศึกษาดังกล่าวได้รับการเผยแพร่เพื่อเฉลิมฉลองสัปดาห์นมแม่โลก (World Breastfeeding Week) ตั้งแต่วันที่ 1-7 ส.ค. ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่องค์การฯ เรียกร้องให้สตรีที่กำลังให้นมบุตรเข้ารับวัคซีน เพื่อไม่ให้พวกเธอหยุดให้นมบุตรเพียงเพราะว่าไปฉีดวัคซีนมา

“การเลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแม่เป็นหนึ่งในวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการรับประกันสุขภาพและความอยู่รอดของทารก อันรวมถึงสร้างแอนติบอดีและการป้องลูกจากเชื้อ” องค์การฯ เสริม

ทั้งนี้ สถิติจากองค์การฯ ชี้ว่าปัจจุบันมีทารกเพียงร้อยละ 13 ในสำนักงานองค์การฯ ภูมิภาคยุโรป (53 ประเทศ) ที่ได้รับนมมารดาเพียงอย่างเดียวในช่วง 6 เดือนแรกหลังคลอด ซึ่งต่ำที่สุดในบรรดาสำนักงานทุกภูมิภาคขององค์การฯ ขณะที่มีเพียงแค่ 1 ใน 3 ของประชากรผู้ใหญ่ในภูมิภาคยุโรปที่ได้รับวัคซีนครบโดสแล้ว ท่ามกลางโรคโควิด-19 สายพันธ์ุเดลตาที่กำลังกลายเป็นสายพันธุ์หลัก

“ประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และปฏิสัมพันธ์ระหว่างแม่-ลูก เพื่อป้องกันการติดเชื้อ และส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาการของเด็กนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่ง ในยามที่บริการสุขภาพหยุดชะงักหรือถูกจำกัดเพราะการระบาดใหญ่” มัสกัต กล่าว

 

"คุณแม่ติดโควิด" และหญิงฉีดวัคซีน สามารถให้นมบุตรได้

 

ที่มา xinhuathai

 

ลาซาด้า