เช็กสัญญาณ Long Covid เกิดขึ้นกับใครมากที่สุด รักษาอย่างไรถึงหาย

เช็กสัญญาณลองโควิด (Long COVID) อาการหลงเหลือหลังติดเชื้อโควิด-19 เกิดขึ้นกับใครมากที่สุด ต้องรักษาอย่างไรถึงหาย

เกาะติดสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทย โดยเฉพาะโควิดสายพันธุ์โอไมครอน หรือ โอมิครอน (Omicron) ทำให้มีผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มสูงขึ้น สร้างความกังวลให้กับให้ประชาชนจำนวนมาก เพราะถึงผู้ป่วยโควิดบางคนรักษาตัวจนหายป่วยโควิดแล้ว แต่ก็มียังภาวะอาการลองโควิด (Long COVID) อาการหลงเหลือหลังติดเชื้อโควิด-19 ทำให้ร่างกายกลับมาไม่เหมือนเดิม อาทิ เหนื่อยง่าย หายใจไม่อิ่ม อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามตัวตามข้อ กล้ามเนื้อไม่มีแรง ไอเรื้อรัง การรับรสและได้กลิ่นผิดปกติ รู้สึกเหมือนมีไข้ ปวดศีรษะ มึนศีรษะ นอนไม่หลับ ความจำไม่ดี ไม่มีสมาธิ มีภาวะวิตกกังวล ซึมเศร้า เครียด ใจสั่น แน่นหน้าอก ท้องเสีย ท้องอืด เป็นต้น

 

เช็กสัญญาณ Long Covid เกิดขึ้นกับใครมากที่สุด รักษาอย่างไรถึงหาย

ล่าสุดเมื่อวันที่ 20 มี.ค. 65 หมอธีระวัฒน์ ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์เฟซบุ๊กเกี่ยวกับ อาการลองโควิด (Long COVID) โดยระบุว่า ลองโควิดเป็นกลุ่มอาการที่เกิดขึ้นหลังจากที่การติดเชื้อได้จบสิ้น (เชื้อไม่พบแล้ว)

 

เช็กสัญญาณ Long Covid เกิดขึ้นกับใครมากที่สุด รักษาอย่างไรถึงหาย


1. อาการของลองโควิด ไม่ขึ้นอยู่กับความหนักเบาของอาการที่เป็นตอนแรก


2. เกิดได้ทุกอายุ ได้ทุกเพศ


3. เกิดอาการได้ตั้งแต่หัวจดเท้า หลายระบบหรืออวัยวะพร้อมกัน 


4. อาการที่มีขณะติดเชื้อไม่สงบ แม้ว่าการติดเชื้อจบไปแล้ว และอาการสามารถรุนแรงขึ้นได้ และสามารถทอดยาวนานกว่าสามเดือนต่อไปอีก หรือ อาการที่เกิดขึ้นเป็นอาการใหม่ ที่ไม่ได้ปรากฎขณะที่ยังติดเชื้อ 

5. กลุ่มอาการเป็นลักษณะที่เรารู้จักกันดีมานานแล้ว ในรูปของ chronic fatique syndrome หรือ Myalgia encephalomyelitis แต่โควิดเกิดได้รุนแรง และยาวนานกว่าไวรัสตัวอื่นๆมาก


6. กลุ่มอาการทางสมองและจิตอารมณ์พบได้ 30% หรือมากกว่า และส่งผลทำให้เฉื่อยชา คิดช้า ความจำสั้น สมองเสื่อมและอารมณ์แปรปรวน โดยเฉพาะคนที่เป็นอยู่แล้วหรือกำลังจะเป็น โรคสมองเสื่อม เช่น อัลไซเมอร์ หรือพาร์กินสัน 


7. หลักในการบำบัดต้องทำการพิสูจน์ให้แน่ชัดว่ายังมีการอักเสบอยู่ในร่างกายและในสมองหรือไม่ และถ้ามีต้องทำการยับยั้งโดยคำนึงถึงผลข้างเคียงของยาที่ใช้รักษาด้วย และยังตั้งประกอบด้วยการหลีกเลี่ยงที่จะทำให้มีการกระตุ้นการอักเสบในร่างกายเพิ่มขึ้น ได้แก่ หลีกเลี่ยงอาหารร้อนแรงที่ทำให้เกิดการอักเสบ เช่น เนื้อแดง ระวังพืชผักผลไม้ที่ปนเปื้อนด้วยสารเคมีฆ่าหญ้าฆ่าแมลง รวมกระทั่งถึงมลพิษพีเอ็ม 2.5 เป็นต้น


8. จากปรากฏการณ์นี้อาจเป็นเครื่องเตือนใจว่าไม่ควรปล่อยตัวให้ติด เพราะอาจเคราะห์ร้ายระยะยาว

 

ขอบคุณ FB : ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha