ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ หมอเตือนติดโควิด-19 เสี่ยงเจอโรคนี้ทั้งเด็ก-ผู้ใหญ่

ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ หมอธีระ เตือนติดโควิด-19 เสี่ยงเจอโรคนี้ทั้งเด็ก-ผู้ใหญ่ แถมอีก 14 อาการ กระทบชีวิตหลังหายป่วยโควิด

เกาะติดสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทย โดยเฉพาะโควิดสายพันธุ์โอไมครอน หรือ โอมิครอน (Omicron) ทำให้มีผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มสูงขึ้น สร้างความกังวลให้กับให้ประชาชนจำนวนมาก เพราะถึงแม้ว่าสายพันธุ์โอไมครอน ถือว่าเป็นสายพันธุ์ที่แสดงอาการน้อย ลักษณะคล้ายไข้หวัด แต่ก็สามารถแพร่กระจายเชื้อได้อย่างรวดเร็ว

 

ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ หมอเตือนติดโควิด-19 เสี่ยงเจอโรคนี้ทั้งเด็ก-ผู้ใหญ่

ล่าสุด หมอธีระ รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก Thira Woratanarat ถึงโรคที่อาจเกิดขึ้นหลังจากติดโควิด-19 เสี่ยงเป็นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ โดยระบุว่า "ติดโควิด-19 เสี่ยงเบาหวาน ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ หากจำกันได้ US CDC ได้ระบุให้ทราบก่อนหน้านี้แล้วว่า เด็กที่ติดเชื้อโรคโควิด-19 จะเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 (IDDM) เพิ่มขึ้นกว่าเด็กที่ไม่ติดเชื้อถึง 166% หรือ 2.66 เท่า

 

ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ หมอเตือนติดโควิด-19 เสี่ยงเจอโรคนี้ทั้งเด็ก-ผู้ใหญ่


แต่ล่าสุด งานวิจัยจากเยอรมัน เพิ่งเผยแพร่ในวารสารการแพทย์ระดับสากลด้านโรคเบาหวาน Diabetologia เมื่อ 16 มีนาคม 2565 ที่ผ่านมา พบว่า ผู้ใหญ่ที่ติดเชื้อโรคโควิด-19 จะมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 (NIDDM) สูงกว่าคนทั่วไปที่เคยมีประวัติดิดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนจากสาเหตุอื่นๆ ถึง 28% หรือ 1.28 เท่า


ทั้งนี้หากเปรียบเทียบอัตราอุบัติการณ์เบาหวานชนิดที่ 2 ที่เกิดขึ้นในผู้ใหญ่ที่ติดเชื้อโรคโควิด-19 กับอัตราในผู้ใหญ่ทั่วไปที่มีอายุเฉลี่ยพอๆ กัน ซึ่งเคยสำรวจในภูมิภาคตะวันตกเฉียงใต้ของเยอรมันเมื่อปี 2010 จะพบว่าเกิดเบาหวานมากกว่าถึง 81% หรือ 1.81 เท่า จากข้อมูลทางการแพทย์ที่มีจนถึงปัจจุบัน ชี้ให้เห็นว่า การติดเชื้อโรคโควิด-19 จะทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ ดังนั้นการป้องกันตัวอย่างสม่ำเสมอจึงสำคัญมาก ไม่ติดเชื้อย่อมดีที่สุดครับ

 

ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ หมอเตือนติดโควิด-19 เสี่ยงเจอโรคนี้ทั้งเด็ก-ผู้ใหญ่

นอกจากนี้ หมอธีระ ยังย้ำเตือนภาวะ Long Covid  ที่จะต้องเจอ นอกเหนือจากโรคเบาหวาน เมื่อหายจากโควิด คือ

- อ่อนเพลียอ่อนล้าง่าย

-ปวดตามกล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ

- ไม่สามารถทำงาน หรือทำกิจกรรมประจำวันที่เคยทำได้

- หอบเหนื่อย

- คิดอะไรไม่ออก วิเคราะห์สิ่งต่าง ๆ ด้วยความยากลำบาก

- นอนไม่หลับ

- เครียด วิตกกังวล

- ซึมเศร้า หดหู่ หมดหวัง คิดทำร้ายตนเอง

- สมองเสื่อม

- โรคหลอดเลือดสมอง

- หัวใจเต้นผิดปกติ

- กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

- กล้ามเนื้อหัวใจและเยื่อบุหัวใจอักเสบ

- ปัญหาเกี่ยวกับฮอร์โมนเพศ

- โรคเบาหวาน 


ซึ่งปัญหาต่างๆข้างต้น เป็นกลุ่มอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นหลังติดเชื้อโรคโควิด-19 ที่เราเรียกว่า Long COVID หรือ Post-acute COVID syndrome พบได้ทั้งเด็ก และผู้ใหญ่ ทั้งเพศชายและหญิง ทั้งคนที่ติดเชื้อแบบไม่มีอาการ อาการน้อย หรืออาการรุนแรง ล้วนมีความเสี่ยงที่จะประสบกับปัญหา Long COVID ได้ ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นระยะยาว ไม่ใช่แค่สมรรถนะร่างกายหรือจิตใจของผู้ป่วย แต่จะส่งผลต่อครอบครัว ทั้งในด้านภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาและความสัมพันธ์ 


ในระดับประเทศ หากมีคนป่วยเช่นนี้มาก ผลิตภาพของประเทศก็จะลดลง ประสบปัญหาขาดแคลนแรงงาน และค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพก็สูงขึ้นเป็นเงาตามตัว ดังนั้นการป้องกันตัวอย่างสม่ำเสมอจึงสำคัญมาก สถานการณ์ปัจจุบัน การระบาดยังรุนแรง อย่าประมาท

 

ขอบคุณ FB : Thira Woratanarat