โอไมครอนฟักตัวกี่วัน ไขข้อสงสัยตรวจ ATK ครั้งแรกไม่พบ

โอไมครอนฟักตัวกี่วัน ถึงกระจายแพร่เชื้อต่อไปได้ เช็คได้เลย ไขข้อสงสัย ทำไมติดเชื้อช่วงแรกๆ ถึงตรวจ ATK ไม่พบ

โอไมครอนฟักตัวกี่วัน กลายเป็นคำถามยอดฮิตในช่วงนี้ เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ได้กลับมาเข้มข้นอีกครั้งในประเทศไทย ซึ่งตามรายงานโควิดล่าสุดพบว่า วันจันทร์ที่ 21 มีนาคม 2565 มียอดผู้ติดเชื้อล่าสุด 23,441 ราย ซึ่งเป็นการตรวจแบบ PCR คือยืนยันแน่นอนว่าติดเชื้อ 100 เปอร์เซ็น ขณะที่มีผู้ติดเชื้อแบบตรวจ ATK 15,177 ราย ผู้ป่วย ปอดอักเสบ 1,464 ราย ใส่เครื่องช่วยหายใจ 514 ราย และเสียชีวิตนิวไฮ 88 ราย โอไมครอนฟักตัวกี่วัน ไขข้อสงสัยตรวจ ATK ครั้งแรกไม่พบ

โอไมครอนฟักตัวกี่วัน ถึงกระจายแพร่เชื้อต่อไปได้ เช็คได้เลย ไขข้อสงสัย ทำไมติดเชื้อช่วงแรกๆ ถึงตรวจ ATK ไม่พบ

แน่นอนว่า โควิดโอไมครอนได้แพร่กระจายปกคุลมไปทั่วทั้งประเทศไทยแล้ว ซึ่งผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่จะเป็นสายพันธุ์โอมิครอนเสียมากกว่า ดังนั้นจึงทำให้หลายคนเริ่มกังวลและสงสัยว่า อาการโอไมครอนฟักตัวกี่วัน ซึ่งถึงแม้ อาการของโอมิครอน ไม่รุนแรง และไม่แสดงอาการหรือมีอาการน้อย เมื่อได้รับวัคซีน ครบ 2 เข็ม หรือ ได้รับเข็มกระตุ้นที่ 3 แต่เชื่อว่าไม่มีใครอยากจะขึ้นชื่อว่าเป็นผู้ป่วยโควิดแน่นอน 

โอไมครอนฟักตัวกี่วัน ถึงกระจายแพร่เชื้อต่อไปได้ เช็คได้เลย ไขข้อสงสัย ทำไมติดเชื้อช่วงแรกๆ ถึงตรวจ ATK ไม่พบ


เพื่อให้คำสงสัยที่ว่า ติดหรือยัง? กลับมาอยู่ในหัวอีกครั้ง เมื่อไปสัมผัสใกล้ชิดผู้ติดเชื้อหรือผู้สัมผัสเสี่ยงสูง แต่ตรวจ ATK แล้วไม่พบเชื้อ ซึ่งทางเพจ Social Marketing Thaihealth by สสส. มีคำตอบให้ว่า เป็นเรื่องของระยะฟักเชื้อโควิด ซึ่งต้องมาทำความเข้าใจเรื่องนี้กัน จะได้ป้องกันตัวเอง และคนรอบข้างได้ดียิ่งขึ้น

 

ระยะฟักเชื้อโอไมครอน ที่ต้องระวัง และช่วงตรวจ ATK ที่แม่นยำ ซึ่งวันที่รับเชื้อ ส่วนใหญ่ตรวจ ATK จะยังไม่พบเชื้อ ซึ่งระยะฟักเชื้อ ตั้งแต่ติดเชื้อจนถึงมีอาการใช้เวลา 5-14 วัน วันเริ่มมีอาการ ระยะฟักเชื้อที่ต้องระวัง คือ 3 วันก่อนแสดงอาการ ซึ่งผู้ป่วยจะเริ่มแพร่เชื้อแม้ไม่มีอาการ เมื่อตรวจ ATK จะพบเชื้อ ซึ่งระยะตรวจ ATK ที่แม่นยำคือ ควรทำทันทีหลังมีอาการ ไม่เกิน 7 วัน

โอไมครอนฟักตัวกี่วัน ถึงกระจายแพร่เชื้อต่อไปได้ เช็คได้เลย ไขข้อสงสัย ทำไมติดเชื้อช่วงแรกๆ ถึงตรวจ ATK ไม่พบ

ด้านข้อควรจำ เมื่อรู้ว่าสัมผัสเสี่ยงสูง แม้ไม่มีอาการ ควรสังเกตตัวเอง เลี่ยงพบผู้คน โดยเฉพาะผู้มีความเสี่ยงป่วยหนักเป็นเวลา 14 วัน เพื่อให้ผ่านระยะฟักเชื้อที่อาจแพร่เชื้อได้ 

 


นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยต่างประเทศ ที่ตีพิมพ์เมื่อเดือน ธ.ค. ระบุว่า พบเชื้อกลายพันธุ์โอมิครอน ล่าสุด อาจจะไม่ใช่แค่อ่อนกว่าเชื้อกลายพันธุ์ก่อนหน้านี้เท่านั้น แต่ยังมีระยะฟักตัวที่สั้นกว่าด้วย โดยช่วงฟักตัวคือ ระยะเวลาที่ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนากลายพันธุ์ และเริ่มแสดงอาการออกมา ก่อนหน้านี้ มักจะมีอาการภายใน 5-6 วัน หลังจากติดเชื้อ เช่น เชื้อกลายพันธุ์เดลตา คาดว่ามีระยะฟักตัวประมาณ 4 วัน จากความรู้ที่มีอยู่ในปัจจุบันเกี่ยวกับ "โอมิครอน" อาการมักจะปรากฏภายใน 2-3 วัน หลังจากติดเชื้อ 

 

โอไมครอนฟักตัวกี่วัน ถึงกระจายแพร่เชื้อต่อไปได้ เช็คได้เลย ไขข้อสงสัย ทำไมติดเชื้อช่วงแรกๆ ถึงตรวจ ATK ไม่พบ


ขณะเดียวกัน ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (Centers for Disease Control and Prevention--CDC) ของสหรัฐฯ ได้เผยแพร่แนวปฏิบัติ สำหรับผู้ที่ตรวจพบว่า ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนาพบปะกับคนอื่นได้ หลังจากที่มีการกักตัว 5 วัน โดยปฏิบัติดังนี้ เมื่อติดโรคโควิด และมีอาการ กักตัวอย่างน้อย 5 วัน การคำนวณระยะเวลากักตัว 5 วัน ให้นับวันแรกที่มีอาการเป็นวันที่ 0 ถ้าไม่มีอาการอีกต่อไปแล้ว หรืออาการดีขึ้นหลังจาก 5 วัน ก็สามารถเลิกกักตัว และออกจากบ้านได้


อย่างไรก็ตาม นอกจากนั้น ควรเลี่ยงการเดินทางจนกว่าจะครบ 10 วันเต็ม หลังจากมีอาการวันแรก ถ้าหากต้องเดินทางในวันที่ 6-10 ให้สวมหน้ากากที่แนบสนิท เมื่อต้องอยู่กับคนอื่นตลอดช่วงที่เดินทาง และหากมีไข้ ให้กักตัวที่บ้านต่อไปจนกว่าจะหายไข้ และควรสวมหน้ากากเมื่ออยู่กับคนอื่นต่อไปอีก 5 วัน

 


โอไมครอนฟักตัวกี่วัน ถึงกระจายแพร่เชื้อต่อไปได้ เช็คได้เลย ไขข้อสงสัย ทำไมติดเชื้อช่วงแรกๆ ถึงตรวจ ATK ไม่พบ