"หมอธีระ"เปิดข้อมูลใหม่ Long COVID ตอกย้ำชัด ไม่ติดโควิด ดีกว่าเยอะ

"หมอธีระ" รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ออกมาโพสต์ข้อความ ระบุถึง สถานการณ์โควิด-19

"หมอธีระ" รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ ระบุว่า

23 มีนาคม 2565

ทะลุ 474 ล้าน

เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่มสูงถึง 1,623,537 คน ตายเพิ่ม 4,363 คน รวมแล้วติดไปรวม 474,014,306 คน เสียชีวิตรวม 6,109,954 คน

5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ เกาหลีใต้ เยอรมัน ฝรั่งเศส เวียดนาม และอิตาลี

เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 8 ใน 10 อันดับแรก และ 16 ใน 20 อันดับแรกของโลก

จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 90.67 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 75.33

การติดเชื้อใหม่ในทวีปเอเชียนั้นคิดเป็นร้อยละ 38.51 ของทั้งโลก ส่วนจำนวนเสียชีวิตเพิ่มคิดเป็นร้อยละ 29.49

"หมอธีระ"เปิดข้อมูลใหม่ Long COVID ตอกย้ำชัด ไม่ติดโควิด ดีกว่าเยอะ

...สถานการณ์ระบาดของไทย

เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่ รวม ATK สูงเป็นอันดับ 10 ของโลก และอันดับ 3 ของเอเชีย

ในขณะที่จำนวนเสียชีวิตเมื่อวาน สูงเป็นอันดับ 14 ของโลก

...อัพเดตการระบาดจาก WHO

ล่าสุดองค์การอนามัยโลกเผยแพร่รายงาน WHO Weekly Epidemiological Update เมื่อคืนนี้ 22 มีนาคม 2565

สถิติรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ทั่วโลกมีการติดเชื้อใหม่เพิ่มขึ้น 7% โดยจำนวนเสียชีวิตลดลง 23%

หากเจาะดูภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การติดเชื้อใหม่ลดลง 23% และเสียชีวิตลดลง 18%

ทั้งนี้ดูสถิติรอบสัปดาห์ของไทยเราจาก Worldometer จะพบว่าการติดเชื้อใหม่ยังเพิ่มขึ้น 7% และเสียชีวิตเพิ่มขึ้น 16% สะท้อนให้เห็นว่าสวนทางกับค่าเฉลี่ยของกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดังนั้นประชาชนจึงต้องไม่ประมาท ป้องกันตัวอย่างสม่ำเสมอ

 

....สายพันธุ์ที่ระบาด

WHO รายงานว่าในช่วงเดือนที่ผ่านมา สายพันธุ์ Omicron ครองการระบาด 99.8% ในขณะที่เดลต้ามีเพียง 0.1%

สำหรับ Omicron นั้น มีสายพันธุ์ย่อยทั้ง BA.1, BA.1.1, BA.2 และ BA.3

อย่างไรก็ตาม จากการเฝ้าระวังพบว่าปัจจุบัน BA.2 ครองการระบาดทั่วโลกมากกว่าสายพันธุ์อื่นมาตั้งแต่ปลายกุมภาพันธ์เป็นต้นมา ล่าสุด 85.96% และมีแนวโน้มขยายตัวมากขึ้นอย่างชัดเจนในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ดังตาราง) โดย BA.2 มีสมรรถนะในการแพร่ไว้กว่า BA.1 และทำให้เกิดการติดเชื้อทั้งในครัวเรือนและนอกครัวเรือนมากกว่า BA.1

"หมอธีระ"เปิดข้อมูลใหม่ Long COVID ตอกย้ำชัด ไม่ติดโควิด ดีกว่าเยอะ

...อัพเดต Long COVID

1. อัตราการเกิด Long COVID ในกลุ่มบุคลากรที่ทำงานในสถานพยาบาลของเยอรมัน 47.1%

Gruber R และคณะจากเยอรมัน ศึกษาในบุคลากรที่ปฏิบัติงานในสถานพยาบาลที่มีประวัติติดเชื้อโรคโควิด-19 จำนวน 221 คน จากสถานพยาบาล 3 แห่งในเมืองโคโลญ ในช่วงมีนาคม 2563 ถึงพฤษภาคมม 2564

พบว่า มีคนที่ประสบปัญหา Long COVID สูงถึง 47.1% โดยที่คนส่วนใหญ่มีประวัติติดเชื้อโดยที่มีอาการเพียงเล็กน้อย

งานวิจัยนี้ตอกย้ำให้เห็นว่า Long COVID เกิดขึ้นได้ แม้ตอนติดเชื้อจะมีอาการเล็กน้อยก็ตาม การป้องกันตัวอย่างเต็มที่ ไม่ติดเชื้อย่อมจะดีที่สุด

2. หลังติดเชื้อโควิด-19 แล้วอาจตรวจพบการทำงานผิดปกติในอวัยวะต่างๆ ได้แม้ผ่านไป 6-12 เดือน

Dennis A และคณะจากสหราชอาณาจักร ทำการศึกษาในผู้ป่วยที่เคยติดเชื้อโควิด-19 จำนวน 536 คน ติดตามไปนาน 12 เดือน และประเมินอาการต่างๆ รวมถึงตรวจทางห้องปฏิบัติการหลากหลายระบบ

พบว่าคนที่เคยติดเชื้อโควิด-19 มาก่อน ตรวจพบอาการผิดปกติในลักษณะของ Long COVID และมีความผิดปกติในระบบต่างๆ ของร่างกายได้สูงถึง 59% ณ 6 และ 12 เดือนหลังการติดเชื้อ

งานวิจัยนี้นอกจากตอกย้ำให้เห็นถึงความสำคัญในการป้องกันตัวไม่ให้ติดเชื้อแล้ว สำหรับคนที่เคยติดเชื้อมาก่อน การหมั่นประเมินสุขภาพของตนเอง สังเกตอาการผิดปกติ หรือไปตรวจเช็คสุขภาพเป็นระยะ ก็น่าจะเป็นประโยชน์ เพื่อที่จะได้รับการดูแลรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ

"หมอธีระ"เปิดข้อมูลใหม่ Long COVID ตอกย้ำชัด ไม่ติดโควิด ดีกว่าเยอะ