เลขาฯ กพฐ. ปิ๊งไอเดียทางออก ดราม่าเงินเดือนครู บอกไม่ต้องลงประกาศ

ชาวเน็ตยกนิ้วให้เลย เลขาฯ กพฐ. ปิ๊งไอเดียทางออก ดราม่าครูเงินเดือน 5,000 บอกไม่จำเป็นต้องโปร่งใสถึงขั้นประกาศ

กลายเป็นดราม่าเดือดอีกรอบ หลังจากที่ก่อนหน้านี้ มีประเด็นเรื่อง เงินเดือนครู อัตราจ้างที่อยู่ประมาณ 3,000 บาท หรือ 5,000 บาท กระทั่งกลายเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์ถึงความเหมาะสม ที่ครูหลายคนมานะเรียนจนจบกว่า 5 ปี แต่กลับมีค่าตอบแทนน้อยกว่าเงินเดือนคนจบปริญญาตรีคนอื่นๆ ที่เริ่มต้น 15,000 บาท

ชาวเน็ตยกนิ้วให้เลย เลขาฯ กพฐ. ปิ๊งไอเดียทางออก ดราม่าครูเงินเดือน 5,000 บอกไม่จำเป็นต้องโปร่งใสถึงขั้นประกาศ
 

ล่าสุด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ประชุมผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (ผอ.สพท.) ทั่วประเทศ ครั้งที่ 3/2565 ซึ่งมีการไลฟ์ผ่านช่อง ยูทูบ OBEC Channel ซึ่งมีช่วงหนึ่งที่ นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) พูดถึงประเด็นดราม่าในโลกออนไลน์เกี่ยวกับเงินเดือน ค่าตอบแทนของครูอัตราจ้าง

 


นายอัมพร พินะสา ระบุว่า อยากให้ท่านผู้อำนวยการเน้นย้ำเรื่อง การจ้างครูอัตราจ้าง ซึ่งตนเองก็ทราบดีว่ามีเงินผ้าป่า มีเงินระดมทรัพยากรเข้ามาเพื่อช่วยโรงเรียน เป็นสิ่งที่ดี แต่เราก็ไม่อยากเห็นดราม่า ในทางสื่อว่าจ้างครูเงินเดือน เดือนละ 3,000 เดือนละ 4,000 เดือนละ 5,000 บ้าง ซึ่งตนเข้าใจดีว่าในกลไกและวิถีของความเป็นจริง มันมีจริงในพื้นที่ มันมีจริงในการปฏิบัติ

ชาวเน็ตยกนิ้วให้เลย เลขาฯ กพฐ. ปิ๊งไอเดียทางออก ดราม่าครูเงินเดือน 5,000 บอกไม่จำเป็นต้องโปร่งใสถึงขั้นประกาศ

"แต่วิธีการก็ไม่จำเป็นต้องโปร่งใสถึงขั้นที่ประกาศในอินเทอร์เน็ตหรือเว็บไซต์นะครับ เพราะมันเป็นการจ้างปกติ สามารถดำเนินการด้วยตัวของโรงเรียนเอง ถ้าจะเกิดให้เกิดความเป็นธรรม หรืออย่างไรเนี่ย ท่านก็อย่าคัดเอง ก็ให้กรรมการสถานศึกษาเป็นคนคัดมันก็จบ หรือจะคัดวิธีการยังไงที่ให้มันโปร่งใส แต่ไม่ต้องไปประกาศรับสมัครโดยทั่วไปนะครับ"

ชาวเน็ตยกนิ้วให้เลย เลขาฯ กพฐ. ปิ๊งไอเดียทางออก ดราม่าครูเงินเดือน 5,000 บอกไม่จำเป็นต้องโปร่งใสถึงขั้นประกาศ


ก่อนจะอธิบายฝากเน้นย้ำอีกว่า "ซึ่งมันก็โปร่งใสได้ด้วยวิธีการ เพียงแต่เราไม่ชี้เท่านั้นเอง ก็เน้นย้ำว่าให้ท่านผู้อำนวยการเขต ทำความเข้าใจกับ ผอ. ให้ชัดว่าวิธีการที่ถูกต้อง ต้องทำยังไง ไม่ใช่ทำเป็นประกาศเป็นทางการขึ้นเว็บไซต์ แล้วก็มีคนอื่นไปเห็นแล้วก็ดราม่า พอสุดท้ายก็แก้ไขกัน ก็จบลงด้วยวิธีเดิมอยู่ดี เพราะฉะนั้นอยากให้ป้องกันมากกว่าแก้ไข ซึ่งก็มีอย่างนี้ทุกปีในห้วงเวลาใกล้เปิดภาคเรียน"