ระวัง อย่าแตะต้อง "อูฐ" ที่ตายในทะเลทราย แล้วจะหาว่าไม่เตือน

ระวังไว้! ถ้าเจออูฐตาย อย่าแตะต้อง "อูฐ" เด็ดขาด เพราะที่ตายในทะเลทรายนั้น อันตรายกว่าที่ทุกคนคิด แล้วจะหาว่าไม่เตือน!

สำหรับ อูฐ เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อยู่ในสกุล Camelus จัดอยู่ในวงศ์ Camelidae เป็นสัตว์ที่มีความอดทนสูง สามารถอาศัยอยู่ได้โดยไม่ต้องกินอาหารหรือน้ำเลย 2 สัปดาห์ เพราะมีไขมันสะสมไว้ในหนอกและร่างกายเก็บรักษาน้ำได้เป็นอย่างดี จึงสามารถอยู่ในที่ทุรกันดารเช่นทะเลทรายได้เป็นอย่างดี กินอาหารประเภทใบไม้ในทะเลทราย ตัวโตเต็มที่มีความสูงถึงบ่าประมาณ 1.85 เมตร และหนอกสูงอีก 75 เซนติเมตร 
ระวัง! อย่าแตะต้อง "อูฐ" ที่ตายในทะเลทราย แล้วจะหาว่าไม่เตือน

ความสามารถ วิ่งได้เร็ว 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และเดินด้วยความเร็วคงที่ประมาณ 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แบกน้ำหนักได้ 150-200 กิโลกรัม อุณหภูมิร่างกายเปลี่ยนแปลงได้จาก 35 องศาเซลเซียสในตอนกลางคืนมาเป็น 41 องศาเซลเซียสในตอนกลางวัน ปัจจุบันสัตว์ในตระกูลอูฐได้ถูกนำมาเลี้ยงเป็นสัตว์เศรษฐกิจในบางประเทศ แต่ใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ได้แก่ เป็นอาหาร ตัดขน รีดนม และใช้เนื้อเพื่อบริโภค

ระวัง! อย่าแตะต้อง "อูฐ" ที่ตายในทะเลทราย แล้วจะหาว่าไม่เตือน

ซึ่งร่างกายของอูฐทนทานชนิดที่มันไม่จำเป็นต้องดื่มน้ำได้นาน 2 สัปดาห์และไม่กินอะไรเลยได้นาน 1 เดือนก็ยังรอดชีวิตได้ แต่ไม่ว่าตัวอะไรล้วน ‘ตายได้’ ทั้งนั้น และความตายของอูฐที่น่ารักอาจอันตรายกว่าที่คาดคิด เพราะซากอูฐนั้นอาจเกิด ‘ระเบิด’ ขึ้นได้ ใช่ เราหมายถึง ‘ระเบิด’ จริงๆ ไม่ใช่เปรียบเปรย อูฐที่ตายในทะเลทรายส่วนใหญ่มักตายจากโรคหรืออุบัติเหตุหลังจากที่ร่างกายหยุดทำงานแล้วจุลินทรีย์ในตัวมันจะเริ่มทำปฏิกิริยา 
ระวัง! อย่าแตะต้อง "อูฐ" ที่ตายในทะเลทราย แล้วจะหาว่าไม่เตือน

โดยในร่างกายของอูฐมีปัจจัยสำคัญอยู่ 2 ส่วนคือแบคทีเรียในลำไส้และกระเพาะที่ยังทำงาน มันจะสร้างก๊าซจากการย่อยมากขึ้นเรื่อยๆ อีกส่วนหนึ่งคือไขมันก้อนใหญ่ในโหนกที่จะเปลี่ยนเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน กรดอินทรีย์ รวมถึงโปรตีนจะถูกย่อยเป็นก๊าซพิษอื่นๆ ประจวบเหมาะกับสภาพแวดล้อมที่ร้อนและแห้งแล้งของทะเลทรายนั้นเอื้อต่อการแพร่พันธุ์ของแบคทีเรียอย่างมาก ทำให้ซากอูฐถูกย่อยไปอย่างรวดเร็วและก๊าซต่างๆ ในร่างกายที่เกิดจากการย่อยเพิ่มขึ้นๆ ในระยะเวลาอันสั้น 

ระวัง! อย่าแตะต้อง "อูฐ" ที่ตายในทะเลทราย แล้วจะหาว่าไม่เตือน

ก๊าซเหล่านั้นล้วนเป็นพิษและอันตราย เมื่อผิวหนังหนาๆ ของซากอูฐเริ่มโป่งพองนั่นคือสัญญาณของ ‘ระเบิดเวลา’ ที่อาจ ‘บึ้ม’ ขึ้นได้ทุกเมื่อ โดยเฉพาะหากมีใครไปแตะมันเข้าผิวหนังที่เปราะบางอาจระเบิดได้ทันที  ‘ระเบิดอูฐ’ นั้นใหญ่พอจะสร้างอันตรายให้กับสัตว์อื่นๆ และมนุษย์ ดังนั้นถ้าหากคุณไปทะเลทรายและพบซากอูฐกลางแสงแดด จงหลีกเลี่ยงไปให้ไกล ความจริงแล้วไม่ใช่แค่อูฐเท่านั้น ซากของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอีกหลายชนิด เช่น วาฬ ก็สามารถระเบิดได้เช่นกัน แต่ด้วยโครงสร้างร่างกายและสภาพแวดล้อมอูฐทำให้มีปฏิกิริยาที่รวดเร็วและอันตรายกว่า

ระวัง! อย่าแตะต้อง "อูฐ" ที่ตายในทะเลทราย แล้วจะหาว่าไม่เตือน

ที่มา brandthink.me

ชมคลิป

ติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ thainewsonline