รัสเซียปฏิเสธเสียงแข็ง ไม่ได้เป็นต้นเหตุวิกฤตอาหารโลกที่กำลังเกิดขึ้น

รัสเซียปฏิเสธเสียงแข็ง ไม่ได้เป็นต้นเหตุของวิกฤตอาหารโลกที่กำลังเกิดขึ้น โบ้ยโทษการคว่ำบาตรของชาติตะวันตก

รัสเซียปฏิเสธเสียงแข็ง ไม่ได้เป็นต้นเหตุวิกฤตอาหารโลกที่กำลังเกิดขึ้น จากสถานการณ์สงครามรัสเซีย-ยูเครนทำให้เกิดผลกระทบไปทั่วโลก ทว่ารัฐมนตรีต่างประเทศของรัสเซียปฏิเสธว่ารัสเซียไม่ได้เป็นต้นเหตุของวิกฤตอาหารโลกที่กำลังเกิดขึ้น ระหว่างการเดินทางเยือนอียิปต์ และโทษการคว่ำบาตรของชาติตะวันตกที่ทำให้วิกฤตด้านอาหารมีแนวโน้มที่จะรุนแรงมากกว่าเดิม

 

รัสเซียปฏิเสธเสียงแข็ง ไม่ได้เป็นต้นเหตุของวิกฤตอาหารโลกที่กำลังเกิดขึ้น โทษการคว่ำบาตรของชาติตะวันตก

โดย เซอร์เก ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศของรัสเซียที่เดินทางไปเยือนอียิปต์ ได้พูดปฏิเสธข้อกล่าวหาของชาติตะวันตกที่บอกว่ารัสเซียเป็นต้นเหตุวิกฤตอาหารโลกที่กำลังเกิดขึ้น และบอกว่าการคว่ำบาตรรัสเซียของชาติตะวันตกมีแต่จะทำให้วิกฤตอาหารโลกมีแนวโน้มที่จะรุนแรงกว่าเดิม ซึ่งต้นตอของวิกฤตนี้มาจากการระบาดของโควิด ไม่ใช่สงครามในยูเครน

 


อีกทั้ง ลาฟรอฟ อธิบายว่าการคว่ำบาตรของชาติตะวันตกที่รุนแรงต่อรัสเซีย แสดงให้เห็นชัดเจนว่า ชาติตะวันตกพยายามจะควบคุมกฎระเบียบโลก แต่เป็นกฎระเบียบที่ชาติตะวันตกเขียนขึ้นมาเพื่อให้สถานการณ์ต่างๆ บนโลกใบนี้เป็นไปตามทางที่เป็นประโยชน์กับฝ่ายของตัวเองเท่านั้น ซึ่งรัสเซียรู้สึกขอบคุณประเทศในทวีปแอฟริกาที่มีจุดยืนที่เป็นกลาง แต่ก็บอกว่าหากมาอยู่ฝ่ายเดียวกับรัสเซียจะดีกว่า เพราะรัสเซียจะช่วยปลดปล่อยประเทศในแอฟริกาให้หลุดพ้นจากการเป็นอาณานิคม

รัสเซียปฏิเสธเสียงแข็ง ไม่ได้เป็นต้นเหตุของวิกฤตอาหารโลกที่กำลังเกิดขึ้น โทษการคว่ำบาตรของชาติตะวันตก

อันที่จริง รัสเซียและยูเครนเป็นประเทศส่งออกธัญพืชรายใหญ่สู่แอฟริกา คิดเป็นมากกว่า 40% ซึ่งวิกฤตด้านอาหารที่เกิดขึ้นทำให้หลายประเทศในแอฟริกาได้รับผลกระทบ ซึ่งลาฟรอฟมีกำหนดการที่จะเดินทางเยือนหลายประเทศในทวีปแอฟริกา โดยเริ่มจากอียิปต์ แล้วไปเอธิโอเปีย อูกานดา และสาธารณรัฐคองโก เพื่อหารือเรื่องการให้ความช่วยเหลือประเทศเหล่านี้ แลกกับการสนับสนุนรัสเซียบนเวทีโลก

 

อย่างไรก็ตาม เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา รัสเซียและยูเครนได้ลงนามข้อตกลงที่เมืองอิสตันบูลของตุรกี เพื่อส่งออกธัญพืชร่วมกัน โดยตามข้อตกลง รัสเซียจะไม่โจมตีเรือขนส่งสินค้าของยูเครนที่แล่นออกจากทะเลดำ ทำให้ยูเครนสามารถระบายธัญพืชกว่า 20 ล้านตัน ซึ่งตกค้างอยู่ในท่าเรือที่ทะเลดำสู่ตลาดโลกได้ ซึ่งถือว่าเป็นข่าวดี เพราะจะช่วยแก้ไขวิกฤตด้านอาหาร แต่หลายฝ่ายก็กังวลว่าข้อตกลงดังกล่าวจะถูกยกเลิกหรือเปล่า หากการสู้รบในยูเครนทวีความรุนแรงมากขึ้นกว่าเดิม

รัสเซียปฏิเสธเสียงแข็ง ไม่ได้เป็นต้นเหตุของวิกฤตอาหารโลกที่กำลังเกิดขึ้น โทษการคว่ำบาตรของชาติตะวันตก


ติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ Thainewsonline