วราวุธ ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา เปิดใจให้สัมภาษณ์ รายการเนชั่น สุดสัปดาห์ กับ3บก. ย้ำจุดยืนหลังเลือกตั้ง วางเป้าร่วมรัฐบาล เสียงข้างมาก


    นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ฐานะหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา ได้เปิดใจกับ เนชั่นสุดสัปดาห์ Exclusive โดย 3 บก. นายสมชาย มีเสน , นายวีรศักดิ์ พงษ์อักษร และ นายบากบั่น บุญเลิศ ทาง NationTV ช่อง 22 เกี่ยวกับเรื่องจุดยืนหลังการเลือกตั้ง และการตัดสินใจร่วมงานการเมืองกับพรรคต่างๆ ยืนยัน ต้องพิจารณาเสียงข้างมากก่อน  

   โดย"ท็อป"วราวุธ ศิลปอาชา ในฐานะว่าที่แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีพรรคชาติไทยพัฒนา ได้เปิดใจถึงความเป็น ทายาทการเมือง "ศิลปอาชา" กับเป้าหมายการเมืองสร้างสรรค์ และการถือนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนเป็นธงนำ พร้อมจุดยืนกับดีลจัดตั้งรัฐบาลหลังเลือกตั้ง 2566  ประเทศไทยจะก้าวไปข้างหน้า หรือกลับสู่วังวนเดิม??

"วราวุธ" วางเป้าร่วมรัฐบาลเสียงข้างมาก ไม่ปฎิเสธจับมือพรรคเพื่อไทย

   เมื่อถูกถามถึงการตัดสินใจร่วมงานการเมืองกับพรรคต่างๆ ท่าทีการร่วมจัดตั้งรัฐบาลหลังการเลือกตั้ง นายวราวุธ กล่าวว่า ต้องพิจารณาเสียงข้างมากก่อน เพราะการบริหารราชการแผ่นดิน ไม่สามารถบริหารได้ด้วยส.ว. หรือเสียงข้างน้อย เช่น การเสนอกฎหมายงบประมาณ หากไม่ผ่านต้องกลับไปเลือกตั้ง ซึ่งหลังการเลือกตั้ง ตนมองว่ากว่าจะตั้งรัฐบาลได้อาจเป็นช่วงกรกฎาคม หรือสิงหาคม จะเข้าสู่การพิจารณากฎหมายงบประมาณ หากรัฐบาลเป็นเสียงข้างน้อย อาจถูกเล่นงานและต้องกลับไปเลือกตั้งใหม่อีก
"วราวุธ" วางเป้าร่วมรัฐบาลเสียงข้างมาก ไม่ปฎิเสธจับมือพรรคเพื่อไทย

 


  ส่วนเรื่องการพร้อมจับมือกับพรรคเพื่อไทยหรือไม่  นายวราวุธ มีท่าทีไม่ปฎิเสธร่วมรัฐบาลเพื่อไทย ถึงเวลาแล้วเราต้องมานั่งดูกัน ขอดูจำนวน ส.ส. ก่อน โดยตอบว่า

 

  • ต้องดูว่าพรรคชาติไทยพัฒนาได้กี่เสียง คือหากเราได้เยอะเราจะเลือกเขา.....แต่หากได้น้อย เขาจะเลือกเราหรือเปล่า?? ดังนั้นไม่ใช่ว่าจะเอาหรือไม่ แต่ขึ้นอยู่กับว่าฝั่งไหนๆ เขาจะเลือกพรรคชาติไทยพัฒนาไหม

"วราวุธ" วางเป้าร่วมรัฐบาลเสียงข้างมาก ไม่ปฎิเสธจับมือพรรคเพื่อไทย

ด้านประเด็นนโยบายรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ นายวราวุธ กล่าวว่า มีความไม่สมบูรณ์มากขึ้นเรื่อยๆจนแม้แต่กระทั่งรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน เพราะทำให้ ส.ส.ถูกมัดมือ มัดขา ทำอะไรให้กับพี่น้องประชาชนไม่ได้เลย เข้ามาเกี่ยวข้องเรื่องงบประมาณไม่ได้เลย จะเป็นส.ส.ไปเพื่ออะไร  แม้ว่าส.ส. ในทางกฎหมายจะทำหน้าที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติ คือการยกร่างกฎหมาย แต่ในความเป็นจรงิ บริบทของประเทศไทยในปัจจุบัน มันไม่ใช่ เมื่อประชาชนเดือดร้อน ต้องมาขอความช่วยเหลือจากส.ส. ดังนั้นเมื่อรัฐธรรมนูญกำหนดห้าม ส.ส.เกี่ยวกับงบประมาณ ทำให้ไม่สามารถดูแลประชาชนได้เต็มที่ 

  • แน่นอนมันมีทั้งข้อดีและข้อด้อย แต่ต้องมาชั่งน้ำหนักกันว่า สิ่งที่มันเกิดขึ้น ทำให้ ส.ส.ทำงานได้ไม่เต็มที่ มันก็น่าเป็นห่วงมากกว่า เป็นที่มาว่าเราก็อย่างให้มีการเปลี่ยนแปลง ไปแก้รัฐธรรมนูญอีกครั้งหนึ่ง

 

   พรรคชาติไทยพัฒนา อยากให้ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ก่อนที่จะร่างใหม่ ควรไปตั้งกลไกโมเดลที่พ่อบรรหารทำ  จะต้องมีสภาร่างรัฐธรรมนูญ  สำหรับโมเดลการทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ จะใช้โมเดลสมัยนายบรรหาร ศิลปอาชา อดีตนายกฯ และหัวหน้าพรรคชาติไทย  คือ ให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.)  

 

  โดยมีประชาชนหลากหลายกลุ่มเข้ามามีส่วนร่วม ซึ่งสมัยนายบรรหารนั้น ยอมให้คนที่ด่านายบรรหารเข้ามาร่วมมเป็น ส.ส.ร. เพราะมองว่าจะทำให้เกิดความสมดุล มีการถ่วงดุล และยุคสมัยปัจจุบันที่มีคนหลาากหลายกลุ่มมากขึ้น ดังนั้นต้องปรับรายละเอียดเพื่อให้คนที่เห็นต่างเข้ามามีส่วนร่วมด้วย

"วราวุธ" วางเป้าร่วมรัฐบาลเสียงข้างมาก ไม่ปฎิเสธจับมือพรรคเพื่อไทย

  สำหรับพรรคชาติไทยพัฒนา ตั้งเป้า ส.ส. 25 -30 คน (ปัจจุบันมี ส.ส. 12 คน) ไม่ได้แปลว่าทำเพื่อให้ได้ร่วมรัฐบาล เพราะหากแม้พรรคจะเป็นฝ่ายค้าน แต่ยอมให้ฝ่ายรัฐบาลนำนโยบายของพรรคไปใช้ เพราะสิ่งที่พรรคนำเสนอนั้นเป็นการสร้างโซลูชั่นที่ยั่งยืนให้ประเทศชาติ โดยเป็นการแก้ปัญหาให้กับปัจจุบันและในอนาคต