ไทย หวั่นโควิดไฮบริด แลกเปลี่ยนสายพันธุกรรม เกิดลูกผสม"เดลตา+โอไมครอน"

ไทย หวั่นโควิดลูกผสมเดลตา-โอมิครอน แลกเปลี่ยนสายพันธุกรรมของเชื้อ 2 ตัวในร่างกายคนๆ เดียว หลังเคยตรวจพบสายพันธุ์ทั้งเดลตาและอัลฟาในคนเดียว


    ศ.เกียรติคุณ ดร.วสันต์ จันทราทิตย์ หัวหน้าศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล  กังวลสถานการณ์โควิดที่มีการระบาดในปัจจุบัน ของ เดลตา ครองพื้นที่เเละมี โอไมครอน เข้ามา หาก1คน ติด2สายพันธุ์จะเกิดอะไรขึ้น หวั่นลูกผสมเดลตา-โอไมครอน แลกเปลี่ยนสายพันธุกรรม


โดย หัวหน้าศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี  กล่าวว่า ศูนย์จีโนมฯ มีการถอดรหัสพันธุกรรมเชื้อก่อโรคโควิด-19 โดยสุ่มตรวจเชื้อจากกลุ่มตัวอย่างทั่วประเทศ รวมทั้งมีหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่ส่งสิ่งส่งตรวจมาให้ถอดรหัสพันธุกรรม ยังไม่พบสายพันธุ์โอมิครอน มีเพียงรายแรกที่กรมวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ส่งมาให้ศูนย์จีโนมฯ ถอดรหัสยืนยันผล ในรายอื่นๆ กรมวิทย์ฯ ดำเนินการเอง ซึ่งก็มีเครือข่ายรพ.ในสังกัดกระจายอยู่ในแต่ละพื้นที่

ไทย หวั่นโควิดไฮบริด แลกเปลี่ยนสายพันธุกรรม เกิดลูกผสม"เดลตา+โอไมครอน"

ขณะนี้ กรมวิทย์ฯ ได้ประสานโรงเรียนแพทย์ที่เป็นภาคี ร่วมกันสุ่มตรวจสายพันธุ์ให้ได้ประมาณ 1% จากผู้ติดเชื้อรายใหม่ซึ่งขณะนี้มีประมาณ 3,000-4,000 รายต่อวัน ข้อมูลที่ได้เป็นประโยชน์อย่างมากต่อการประเมินว่าการตรวจเชื้อด้วย PCR ยังใช้ได้ดีหรือไม่ ยา ชุดตรวจต่างๆ ยังใช้ตรวจได้ผลดีหรือไม่ รวมถึงวัคซีนใช้ได้หรือไม่ อย่างเช่นที่แอฟริกาใต้ที่มีการสุ่มตรวจไม่ถึง 1% ยังพบสายพันธุ์โอมิครอนและแจ้งไปทั่วโลกทราบ ขณะนี้ทั่วโลกก็พยายามกระตุ้นให้แต่ละประเทศช่วยกันตรวจหาสายพันธุ์
 

ไทย หวั่นโควิดไฮบริด แลกเปลี่ยนสายพันธุกรรม เกิดลูกผสม"เดลตา+โอไมครอน"
 

ไทย หวั่นโควิดไฮบริด แลกเปลี่ยนสายพันธุกรรม เกิดลูกผสม"เดลตา+โอไมครอน"
  ศ.เกียรติคุณ ดร.วสันต์ กล่าวอีกว่า ขณะเดียวกันที่กังวลคือ ขณะนี้มีการระบาดของเชื้อเดลตาที่ครองพื้นที่ และมีโอมิครอนเข้ามา หากคน ๆ หนึ่งติดเชื้อ2 สายพันธุ์อะไรจะเกิดขึ้นโดยเฉพาะหากมีการแลกเปลี่ยนสายพันธุกรรมจนเกิดลูกผสมหรือไฮบริด อาจจะก่อให้เกิดลักษณะเด่นพิเศษที่ไม่เหมือนโอมิครอน ยังไม่สามารถคาดเดาได้ว่า หากมีการแลกเปลี่ยนสายพันธุกรรมของเชื้อ 2 ตัวในร่างกายคนๆ เดียว จะส่งผลต่อการแพร่กระจายรวมถึงจะก่อให้เกิดอาการรุนแรงมากขึ้นหรือน้อยลง จึงต้องสุ่มตรวจเพื่อติดตามเฝ้าระวัง

ไทย หวั่นโควิดไฮบริด แลกเปลี่ยนสายพันธุกรรม เกิดลูกผสม"เดลตา+โอไมครอน"

ที่ผ่านมาเคยพบเพียงการติดเชื้อ 2 สายพันธุ์ทั้งเดลตาและอัลฟาในคนเดียวกันที่คสัสเตอร์แคมป์คนงานที่กรมวิทย์ฯ เคยรายงาน แต่ไฮบริด 2 สายพันธุ์ในคนเดียวกันที่มีการแลกเปลี่ยนสายพันธุกรรมจนเกิดลูกผสมขึ้นมายังไม่เคยเกิดขึ้น และจากข้อมูลที่ผ่านมาในต่างประเทศเคยมีการผสมแลกเปลี่ยนสายพันธุ์ในคนๆเดียวระหว่างเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 ผสมกับไข้หวัดธรรมดา แต่ไม่พบอาการรุนแรง

ไทย หวั่นโควิดไฮบริด แลกเปลี่ยนสายพันธุกรรม เกิดลูกผสม"เดลตา+โอไมครอน"

 ดังนั้นการสุ่มตรวจสายพันธุ์ในจำนวนมากๆ เป็นสิ่งจำเป็น เมื่อพบความผิดปกติจะได้ควบคุม หากพบในคลัสเตอร์ใด กรมควบคุมโรคก็ต้องรีบเข้าไปบริหารตัดตอนไม่ให้เกิดการแพร่กระจายออกไป ดังนั้นการฉีดวัคซีนจึงมีบทบาทเช่นกัน เมื่อมีโควิดโอมิครอนเข้ามา ก็วางแผนกันว่าระยะเวลาเข็ม 3 กับเข็ม 2 อาจร่นเวลาเหลือ 3 เดือน เข็ม 4 ก็อาจจะลดลงมา 6 เดือนก็ได้ รวมถึงอาจจะต้องเปลี่ยนหัวเชื้อใหม่ที่ทันต่อการระบาดในปัจจุบัน ระยะห่างระหว่างเข็มควรเป็นเท่าไหร่ 

ไทย หวั่นโควิดไฮบริด แลกเปลี่ยนสายพันธุกรรม เกิดลูกผสม"เดลตา+โอไมครอน"

cr.
bangkokbiznews.com