จับตา"โควิด-19"ในไทย เดือนพฤษภา ระวังให้ดีอาจมีงานใหญ่

"หมอธีระ" รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ออกมาโพสต์ข้อความ ไทยผ่านช่วงพีคมาตั้งแต่ 10 มีนาคม 2565

"หมอธีระ" รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ ระบุข้อความว่า

17 เมษายน 2565

ไทยผ่านช่วงพีคมาตั้งแต่ 10 มีนาคม 2565

ขาลงใช้เวลาราว 1.5 เท่าของขาขึ้น ตามลักษณะที่เห็นจากธรรมชาติการระบาดของประเทศอื่นๆ ทั่วโลก

จับตา"โควิด-19"ในไทย เดือนพฤษภา ระวังให้ดีอาจมีงานใหญ่

จึงสังเกตได้จากภาพที่ 3 และ 4 ว่ากราฟการระบาดที่แสดงจำนวนการติดเชื้อจากรายงานทางการ (RT-PCR) รวมกับจำนวน ATK มีลักษณะเหมือนกับต่างประเทศ

ทั้งนี้ด้วยเงื่อนไขของไทย ที่มีเสรีการใช้ชีวิตมากขึ้น กระตุ้นเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว ร่วมกับเทศกาลหยุดยาวสงกรานต์ ก็จะมีแนวโน้มที่จะทำให้เกิดการปะทุระบาดหนักมากขึ้นได้คล้ายกับหลายประเทศในยุโรป ซึ่งส่วนใหญ่จะปะทุจนทำให้จำนวนการติดเชื้อต่อวันสูงขึ้นเป็น 2-3 เท่าของ baseline ก่อนเกิดการปะทุ ภายในเวลา 3-4 สัปดาห์

ดังนั้นหากยอด RT-PCR รวมกับ ATK ในจุดที่ต่ำสุดอยู่ราว 30,000 การปะทุก็น่าจะทำให้เกิดจำนวนติดเชื้อมากขึ้นราว 2-3 เท่า ถ้าเป็นไปตามลักษณะของต่างประเทศ

แต่สิ่งที่ต้องระวังคือ สงกรานต์ปีที่แล้ว ในช่วง 2 สัปดาห์หลังของเมษายนเราพบว่าการติดเชื้อเฉลี่ยต่อวันสูงขึ้นเป็น 3 เท่าของช่วงก่อนสงกรานต์ และเกิดผลกระทบต่อเนื่องไปในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม ที่มีจำนวนสูงขึ้นไปอีกเป็น 2 เท่าของปลายเมษายน

จับตา"โควิด-19"ในไทย เดือนพฤษภา ระวังให้ดีอาจมีงานใหญ่

คงต้องติดตามดูต่อไปว่า การระมัดระวัง ป้องกันตัวของเราทุกคนจะช่วยลดโอกาสเกิดการปะทุซ้ำได้มากน้อยเพียงใด เพราะพฤษภาคมจะมีการเปิดเทอมของเด็กๆ ซึ่งหากจำนวนติดเชื้อในชุมชนสูงมาก ก็คงน่าเป็นห่วง เพราะมีเด็กเล็กอีกจำนวนไม่น้อย ที่ไม่ได้อยู่ในช่วงอายุที่จะรับวัคซีนได้ และมีอีกไม่น้อยที่แม้อยู่ในช่วงอายุที่รับวัคซีนได้ ก็ยังไม่ได้ไปรับ

การติดเชื้อ Omicron ในเด็กเล็ก นำไปสู่การเจ็บป่วยและเสียชีวิตได้มาก

ผู้ปกครองควรดูแล ป้องกันเด็กๆ ของเราให้ดี

จับตา"โควิด-19"ในไทย เดือนพฤษภา ระวังให้ดีอาจมีงานใหญ่

จับตา"โควิด-19"ในไทย เดือนพฤษภา ระวังให้ดีอาจมีงานใหญ่