รู้ได้อย่างไร ตนเองเกิดภาวะลองโควิด Long COVID เช็ก 8 อาการดังนี้

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ให้ข้อมูลผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 หลังจากรักษาหายแล้ว จะรู้ได้อย่างไรว่าเกิดภาวะลองโควิด เช็ก 8 อาการดังนี้

อาการลองโควิด (Long COVID) หรือ อาการหลงเหลือหลังติดเชื้อโควิด-19 ก็ยังเป็นสิ่งที่น่ากังวลสำหรับผู้ที่หายป่วยโควิด-19 เพราะทำให้ร่างกายกลับมาไม่เหมือนเดิม พบได้หลากหลายในทุกระบบของร่างกาย ล่าสุด สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้เปิดเผยข้อมูลสำหรับผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 หลังจากรักษาหายแล้ว จะรู้ได้อย่างไรว่าเกิดภาวะลองโควิด

 

รู้ได้อย่างไร ตนเองเกิดภาวะลองโควิด  Long COVID เช็ก 8 อาการดังนี้


ภาวะลองโควิด อาจมีอาการได้  ดังนี้

1. ไอ 


2. มีไข้ 


3. ปวดศีรษะ


4. การรับรู้กลิ่นหรือรสชาติลดลง 


5. เจ็บหน้าอก 


6. หายใจไม่อิ่ม 


7. เหนื่อยล้า 


8. ท้องเสีย 


อาการเหล่านี้เกิดจากการที่ภูมิคุ้มกันของร่างกายลดลง บางรายอาจมีอาการทางจิตใจ เช่น วิตกกังวล สมาธิสั้นลง หรือซึมเศร้าร่วมด้วย สำหรับผู้มีอาการดังกล่าวควรเข้ารับบริการขอคำแนะนำ ประเมินผู้ป่วยเบื้องต้นเพื่อคัดกรองและวินิจฉัยจากแพทย์เพื่อหาสาเหตุ ให้การดูแลรักษาที่เหมาะสม และเพื่อค้นหาโรคอื่นๆ

วิธีการใช้สิทธิรักษาภาวะลองโควิด


- สิทธิบัตรทอง (สิทธิ 30 บาท) สิทธิ สปสช. หรือ สิทธิหลักประกันสุขภาพ สามารถเข้ารับบริการที่หน่วยบริการหรือสถานพยาบาลในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้ทุกแห่ง เช่นโรงพยาบาลรัฐ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ศูนย์บริการสาธารณสุขในพื้นที่ กทม. และคลินิกเอกชนที่เข้าร่วมโครงการ หรือสถานพยาบาลตามสิทธิที่ท่านไปรักษาเป็นประจำ


- สิทธิองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ไปสถานพยาบาลภาครัฐทุกแห่ง 


- สิทธิประกันสังคม ไปโรงพยาบาลที่ลงทะเบียนเลือกไว้ในระบบประกันสังคมทุกแห่ง สอบถามเพิ่มเติมสายด่วนประกันสังคม 1506/ประกันสังคมเขตพื้นที่ 


- สิทธิข้าราชการกรมบัญชีกลาง ไปสถานพยาบาลภาครัฐทุกแห่ง สอบถามเพิ่มเติมสายด่วนกรมบัญชีกลาง 02-2706400


- แรงงานต่างด้าว/สิทธิอื่น เช่น ครูเอกชน หน่วยงานรัฐอื่น ติดต่อสถานพยาบาลภาครัฐใกล้บ้าน
 

ทั้งนี้ ผู้ป่วยโควิด-19 ใน กทม. ที่หายป่วยมากกว่า 1 เดือนขึ้นไป สามารถรับบริการได้ที่โรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร ทั้ง 9 แห่ง ดังนี้


1. โรงพยาบาลกลาง ทุกวันพฤหัสบดี เวลา 13.00-16.00 น. ณ คลินิกประกันสุขภาพ


2. โรงพยาบาลตากสิน ทุกวันจันทร์ เวลา 13.00-16.00 น. ณ ARI Clinic


3. โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ ทุกวันพุธ เวลา 13.00-16.00 น.ณ คลินิกอายุรกรรม


4. โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินธฺโร อุทิศ ทุกวันพฤหัสบดี เวลา 13.00-16.00 น. ณ คลินิกอายุรกรรม


5. โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์ ทุกวันพฤหัสบดี เวลา 13.00-16.00 น. ณ คลินิกอายุรกรรม


6. โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร ทุกวันอังคาร เวลา 08.00-12.00 น. ณ คลินิกอายุรกรรม


7. โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ ทุกวันพุธ เวลา 13.00-16.00 น. ณ ARI Clinic


8. โรงพยาบาลสิรินธร ทุกวันอังคาร เวลา 08.00-12.00 น. ณ คลินิกวัณโรค


9. โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน ทุกวันพุธ 13.00-16.00 น. ณ คลินิกผู้ป่วยนอก 


โดยนัดหมายรับบริการของโรงพยาบาลทั้ง 9 แห่ง และเตรียมขยายช่องทางให้บริการตรวจรักษาผ่านระบบ telemedicine ในแอปพลิเคชัน "หมอ กทม." เพื่อรองรับการให้บริการแก่ประชาชนในพื้นที่กทม. ผ่านการเบิกจ่ายค่ารักษาตามสิทธิ


ทั้งนี้ สอบถามเพิ่มเติมการใช้สิทธิบัตรทอง สายด่วน สปสช. 1330 หรือช่องทางระบบออนไลน์ทั้งไลน์ สปสช. @nhso หรือคลิก https://lin.ee/zzn3pU6 และ Facebook : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

 

รู้ได้อย่างไร ตนเองเกิดภาวะลองโควิด  Long COVID เช็ก 8 อาการดังนี้

 

ติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ Thainewsonline