สิ่งที่เหนือธรรมชาติ!! อำนาจแห่งอาคม!! "เบญจภาคีเครื่องราง" สุดยอดของแต่ละเกจิที่โด่งดัง!! มีอะไรบ้าง น่าสนใจจริงๆ???

ติดตามเรื่องราวดีๆ อีกมากมายได้ที่ http://www.tnews.co.th

เบญจภาคีเครื่องรางของขลัง
วัตถุมงคลที่ไม่ใช่รูปพระ ล้วนจะเรียกว่าเครื่องราง นักเลงพระรุ่นเก่า ได้บัญญัติเบญจภาคีเครื่องราง ต้องยอมรับเลยว่า เครื่องรางแต่ละชนิด ล้วนอยู่ในอันดับหนึ่งทั้งสิ้น ประกอบด้วย

1. ตะกรุดมหาโสฬสมงคล หลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง
ตะกรุดมหาโสฬสมงคล หลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง นนทบุรี หนึ่งในเบญจภาคีเครื่องรางยอดนิยม และถือว่าเป็นจักรพรรดิแห่งตะกรุดยอดนิยมอันดับหนึ่งของประเทศไทย มีอายุการสร้างเกินกว่า 100 ปี
หลวงปู่เอี่ยมท่านได้มีการสร้างตะกรุดไว้หลายคราว และมีหลายขนาด ส่วนใหญ่ตะกรุดของท่านทำมาจากโลหะแก่ทองเหลือง หรือที่เราเรียกเป็นที่รู้จักกันทั่วไปว่า เนื้อฝาบาตร ส่วนที่เป็นเนื้อทองแดง และเนื้อตะกั่วก็มี สันนิษฐานว่าเป็นการสร้างในยุคต้นๆ

สิ่งที่เหนือธรรมชาติ!! อำนาจแห่งอาคม!! "เบญจภาคีเครื่องราง" สุดยอดของแต่ละเกจิที่โด่งดัง!! มีอะไรบ้าง น่าสนใจจริงๆ???

2. เบี้ยเเก้ หลวงปู่รอด วัดนายโรง
การสร้างเบี้ยแก้ของหลวงปู่รอดวัดนายโรง ขั้นแรกจะต้องคัดตัวหอยเบี้ยที่มีฟัน 32 ซี่ ตามอาการทั้ง 32 ของมนุษย์จากนั้นตั้งศาลเพียงตา พร้อมเครื่องสังเวยบัดพลีเพื่อขอแบ่งปรอทจากวิทยาธรคนธรรพ์ ในอากาศ จากนั้นนําใบหญ้าคาลงพาดที่ปากเบี้ยปรอทก็จะมาจากในอากาศมีลักษณะเป็นเม็ดและจะวิ่งเข้าตัวเบี้ย 32 ตัวตามจํานวนฟันของเบี้ยแก้เมื่อปรอทเต็มก็จะกลายเป็นหนึ่งธาตุขันธ์ จากนั้นจึงนําแผ่นตะกั่วมาหุ้มปิดกันปรอทวิ่งออกจากตัวเบี้ย การหุ้มตะกั่วที่ตัวเบี้ยของหลวงปู่รอดนั้น จะหุ้มปิดปากเบี้ยและเปิดช่วงหลังเบี้ยไว้ บางตัวก็หุ้มปิดทั้งตัวเบี้ยก็มี และยังพบว่ายังมีที่ใช้ชันนะโรงไต้ดินอุดปิดปรอท หรือแม้กระทั้งใช้ผ้ายันต์ก็มีพบเช่นกัน จากนั้นหลวงปู่รอดท่านจะลงอักขระที่ตัวเบี้ยด้วยพระคาถาพระเจ้า 16 พระองค์และกํากับด้วยยันต์ตรีนิสิงเห แล้วจึงปลุกเสกอีกครั้งก่อนที่จะมอบให้แก้ศิษย์ต่อไป

สิ่งที่เหนือธรรมชาติ!! อำนาจแห่งอาคม!! "เบญจภาคีเครื่องราง" สุดยอดของแต่ละเกจิที่โด่งดัง!! มีอะไรบ้าง น่าสนใจจริงๆ???

3. ปลัดขิก หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก
พระคณาจารย์ที่สร้างปลัดขิกอันมีชื่อเสียง ในสมัยสงครามเอาเชียบูรพาคือ หลวงพ่อเหลือวัดสาวชะโงก แห่งจังหวัดฉะเชิงเทรา มีผู้เล่าให้ฟังว่า ครั้งหนึ่งท่านลงมาทำธุระในกรุงเทพฯได้พักอยู่ที่วัดปทุมคงคาราม มีคนไปนมัสการกราบไหว้ท่านมากเพราะได้ยินกิตติศัพท์กิตติคุณทางของขลังของท่าน ในวาระหนึ่งมีผู้ขอปลัดขิกอันมีชื่อที่ท่านสร้าง แต่ก่อนที่ท่านจะมอบปลัดขิกนั้นให้ ท่านได้นำเอาปลัดขิกใส่ลงในบาตรน้ำมนต์ของท่านสักครู่หนึ่ง ปลัดขิกวัตถุอาถรรพณ์นั้นจะวิ่งไปรอบ ๆ บาตรน้ำมนต์ตัวปลัดขิกดิ้นกระทบกับบาตรน้ำมนต์ด้วยเสียงอันดังได้เห็นกันหลายคน เมื่อท่านเห็นว่าปลัดขิกของท่านปลุก ขึ้นเป็นอย่างดีแล้วท่านจึงจะมอบให้กับผู้ที่ขอนั้นต่อไป

สิ่งที่เหนือธรรมชาติ!! อำนาจแห่งอาคม!! "เบญจภาคีเครื่องราง" สุดยอดของแต่ละเกจิที่โด่งดัง!! มีอะไรบ้าง น่าสนใจจริงๆ???

4. เขี้ยวเสือ หลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย (คลองด่าน)
เขี้ยวเสือของหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย จะต้องทำจากเขี้ยวเสือ
อย่างเดียวเท่านั้น จะไม่ใช้เขี้ยวชนิดอื่นๆ จะมีทั้งเต็มเขี้ยวและเขี้ยวซีก มีคุณสมบัติทึบแสง เขี้ยวเสือต้องกลวง เขี้ยวเสือกลวงจะมีอำนาจ ในตัวมาก บางท่านเรียกเขี้ยวโปร่งฟ้า เป็นเขี้ยวของพญาเสือโคร่ง มีอำนาจมาก มีตบะมาก แค่จ้องสัตว์อื่น สัตว์อื่นจะเหมือนถูกตรึงอยู่กับที่

สิ่งที่เหนือธรรมชาติ!! อำนาจแห่งอาคม!! "เบญจภาคีเครื่องราง" สุดยอดของแต่ละเกจิที่โด่งดัง!! มีอะไรบ้าง น่าสนใจจริงๆ???

5. หนุมาน หลวงพ่อสุ่น วัดศาลากุน
หลวงพ่อสุ่น เริ่มสร้างหนุมานในสมัยที่ท่านยังเป็นพระลูกวัดอยู่ ท่านได้นำต้นไม้ 2 ชนิด คือต้น พุดซ้อน และต้นรักซ้อน มาปลูกภายในวัดของท่าน ทุกวัน หลวงพ่อสุ่นจะนำน้ำมนต์มารดน้ำต้นไม้ทั้งสองจนเจริญเติบโตและแก่เต็มที่แล้วหลวงพ่อสุ่นจะดูฤกษ์ยาม แล้วขุดนำต้นไม้ทั้งสองมาตากแดดให้แห้ง แล้วไปตามช่างมาแกะเป็นรูปหนุมาน เมื่อได้จำนวนที่เพียงพอตามต้องการแล้ว ท่านจะนำหนุมานบรรจุไว้ในบาตร หลวงพ่อสุ่นจะนำหนุมานมาปลุกเสกในอุโบสถ ทุกวันเสาร์ โดยจะให้มัคทายก หรือพระลูกวัดนำศาสตราวุธต่าง ๆ เช่น ปืน มีด หอก ดาบ อื่น ๆ นำมากองรวมกัน แล้วหลวงพ่อสุ่นจะนั่งทับศาสตราวุธเหล่านั้น ทำการปลุกเสกหนุมานเหล่านั้น ว่ากันว่า หนุมานที่หลวงพ่อสุ่นกำลังปลุกเสกจะกระโดดโลดเต้นอยู่ภายในบาตร หลวงพ่อสุ่นปลุกเสกอยู่นานมากจนได้ที่แล้ว หลวงพ่อก็แจกจ่ายให้แก่ผู้มีจิตศรัทธาร่วมกันบริจาคเงินปฏิสังขรณ์วัดศาลากุน
ขอขอบคุณ ท่านเจ้าของภาพและเรื่อง

สิ่งที่เหนือธรรมชาติ!! อำนาจแห่งอาคม!! "เบญจภาคีเครื่องราง" สุดยอดของแต่ละเกจิที่โด่งดัง!! มีอะไรบ้าง น่าสนใจจริงๆ???

ที่มา ศิษย์สายวัดสะพานสูง

               แอพเกจิ – AppGeji