7 ค่าใช้จ่ายในการซื้อบ้านปี 2566 มีอะไรบ้างที่ต้องเตรียมเงินไว้

"7 ค่าใช้จ่าย" ในการซื้อบ้านปี 2566 มีอะไรบ้าง จะได้ต้องเตรียมไว้ล่วงหน้า นี้เราได้รวบรวมมาให้ได้อ่านกันแล้ว

เบิกฤกษ์ต้นปี 2566 มาเชื่อว่าหลายๆคนคงอยากจะมีของขวัญชิ้นใหญ่เป็นของขวัญให้กับตนเอง ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ คอนโด ที่ดิน หรือว่า บ้าน ซึ่งถึงแม้ว่าในปัจจุบันขั้นตอนในการซื้อบ้านจะไม่ได้ยุ่งยากเหมือนแต่ก่อนแล้ว แต่หากเราเตรียมความพร้อมให้ดีก็จะทำให้การซื้อบ้านของเราลุล่วงไปได้ด้วยดี ซึ่งวันนี้เราจะพาไปดูว่าต้องมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้างก่อนซื้อบ้าน จะมีอะไรบ้างทางด้านฐานเศรษฐกิจได้รวบรวมไว้ให้แล้วมีดังนี้ไปอ่านกันเลย
7 ค่าใช้จ่ายในการซื้อบ้านปี 2566 มีอะไรบ้างที่ต้องเตรียมเงินไว้

เงินวางดาวน์

ต้องเตรียมเงิน สำหรับวางเงินดาวน์ 10-20%  สำหรับบ้านหลังที่สองหลังที่สามราคาไม่เกิน10ล้านบาทและบ้านราคาเกิน 10 ล้านบาทขึ้นไป หลัง มาตรการผ่อนผัน LTV  ตามนโยบายธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) สิ้นสุด เมื่อสิ้นปีที่ผ่านมา /บ้านหลังแรกกู้ได้100% 

 

ค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์
ตามปกติแล้วมักจะเป็นการตกลงที่จะร่วมกันแบ่งจ่ายระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย แต่ก็ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของการซื้อขายแต่ละครั้ง โดยค่าธรรมเนียมในการโอนกรรมสิทธิ์ ตามอัตราปกติ  จะคิดอยู่ที่อัตรา 2% ของราคาประเมินที่ดินรวมสิ่งปลูกสร้าง

เช่นหากซื้อบ้านราคา 1,000,000 บาทต่อหน่วย  ต้องเสียค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์ เท่ากับ 1,000,000 x 2% เป็นเงิน 20,000 บาท เป็นต้น  หากบ้านราคา 2,000,000 บาท ค่าโอน 40,000 บาท บ้านราคา 3,000,000 บาท ค่าโอน 60,000 บาทเป็นต้น

สำหรับมาตรการใหม่ รัฐบาลลดหย่อนค่าธรรมเนียมการโอน ฯ 1% สำหรับบ้านราคาไม่เกิน 3,000,000 บาทเท่ากับ บ้านราคา1,000,000 บาท ต้องเสียค่าธรรมเนียมการโอนฯ 10,000 บาท  บ้านราคา2,000,000 บาท ค่าโอนเหลือ20,000 บาท บ้านราคา3,000,000 บาทค่าโอนเหลือ 30,000 บาท ซึ่งเพิ่มขึ้น 100เท่าเมื่อเทียบกับมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์รอบที่ผ่านมา ค่าโอนอยู่ที่ 0.01%

 

ค่าจดจำนอง

ค่าจดจำนองเป็นอีก หนึ่งค่าธรรมเนียมที่ต้องจ่ายสำหรับผู้ซื้อบ้าน ด้วยวิธีการกู้ขอสินเชื่อ ซึ่ง เกือบ 100%  มักใช้วิธีกู้สินเชื่อแทบทั้งสิ้น  น้อยรายจะซื้อด้วยเงินสดเพราะคนไทยส่วนใหญ่เป็นมนุษย์เงนเดือน ในกรณีที่มีเงินทุนแต่ต้องการผ่อนกับธนาคารเป็นเพราะต้องการเก็บเงินสดไว้หมุนเวียนเพื่อลงทุน  

ดังนั้น จึงเป็นค่าใช้จ่ายที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยค่าจดจำจองตามอัตราปกติ  จะคิดอยู่ที่อัตรา 1% ของยอดเงินกู้ทั้งหมด แต่คิดสูงสุดไม่เกิน 20,000 บาท ยกตัวอย่างเช่น บ้านราคาหลังละ 1,000,000 บาท


กู้ได้ยอดเต็มจำนวนจะต้องเสียค่าจดจำนองเท่ากับ1,000,000 x 1% เป็นเงิน 10,000 บาท  แต่ รัฐบาลได้คงมาตรการลดหย่อน ไว้ที่ 0.01% ทำให้ เหลือค่าธรรมเนียมซึ่งเป็นค่าใช้จ่าย ที่ต้องชำระ เพียง 100บาท  

เท่ากับว่าการซื้อบ้านในปี2566 หากซื้อบ้าน ราคา1,000,000บาท ต้องเตรียมค่าใช้จ่ายไว้ที่ 10,100 บาท แต่ทั้งนี้ ต้องรอการประกาศในราชกิจจานุเบกษา  แต่หากรัฐไม่ลดหย่อนให้ สองส่วนนี้จะมีค่าใช้จ่าย รวม30,000บาท

 

 

ค่าประเมินราคาห้องชุด(คอนโดฯ)
หากเป็นการขอสินเชื่อกับทางธนาคารเพื่อซื้อคอนโด จะมีค่าประเมินราคาห้องชุดที่เราต้องจ่ายให้กับธนาคารด้วย ซึ่งราคาเฉลี่ยจะอยู่ที่ประมาณไม่เกิน 3,000 บาท ต่อการประเมิน นั่นหมายความว่าหากเรายื่นกู้ธนาคารหลาย ๆ แห่งพร้อมกัน ก็จะต้องเสียค่าประเมินราคาคอนโดหลายครั้งนั่นเอง อย่างไรก็ตามแต่ละธนาคารจะคิดค่าใช้จ่ายไม่เท่ากัน โดยเฉพาะธนาคารของรัฐอาจจะคิดในราคาที่ถูกกว่าธนาคารพาณิชย์

           

ค่าประกันสินเชื่อและประกันวินาศภัย
ปกติแล้วในการขอสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยกับทางธนาคาร ลูกค้าจะต้องทำประกันสินเชื่อ หรือประกันชีวิตด้วย ซึ่งเผื่อหากผู้ขอกู้เสียชีวิตไป จะได้มีเงินจากบริษัทประกันมาผ่อนชำระต่อแทน นอกจากนั้นแล้วก็ยังมีประกันวินาศภัย ที่ครอบคลุมภัยที่อาจเกิดขึ้นกับบ้านได้ เพื่อให้หากเกิดเหตุธนาคารจะได้รับการเยียวยาจากบริษัทประกัน

ค่าใช้จ่ายของประกันทั้ง 2 ชนิดเมื่อต้องซื้อบ้านแนวราบหรือคอนโดมิเนียมนี้ จะแตกต่างไปตามสิทธิประโยชน์ที่เลือกแต่ก็ถือว่าเป็นเงินจำนวนไม่น้อยเลยทีเดียว

 


ค่าตกแต่งที่อยู่อาศัย

จริงอยู่ที่ปัจจุบันมีบ้านและคอนโดมิเนียมพร้อมอยู่ให้ซื้อได้เลย แต่คำว่าพร้อมอยู่ อาจต้องแลกมาด้วยราคาที่สู้ไม่ไหว หรือไม่ก็ไม่ได้มีการตกแต่ง รวมเฟอร์นิเจอร์ที่ครบครัน  ส่วนใหญ่ของคนที่ซื้อบ้านซื้อคอนโดมิเนียม มักมีค่าใช้จ่ายสำหรับการตกแต่ง ต่อเติม หรือเพิ่มเฟอร์นิเจอร์เข้าไปด้วยเสมอเพื่อให้อยู่ได้อย่างสะดวกสบายในแบบที่ใจต้องการในทางกลับกัน หลายโครงการอาจมีโปรโมชั่นแจกแถมเฟอร์นิเจอร์ให้ อาจตัดภาระเงินก้อนนี้ไป

 

ค่าภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
แม้ ปี2566 กระทรวงการคลังจะลดภาษีที่ดินลง 15% แต่เมื่อพิจารณาจากราคาประเมินที่ดินใหม่ที่เพิ่มขึ้น หรือไม่เปลี่ยนแปลง อาจจะ อยู่ในระดับราคาที่เพิ่มขึ้นหรือเท่าเดิม แต่จะมีค่าใช้จ่ายตัวนี้เพิ่มเข้ามาหรือไม่ ขึ้นอยู่ที่ว่าเป็นบ้านหลังแรกหรือบ้านหลังที่สองมูลค่ามากน้อยแค่ไหนตามราคาประเมินที่ดินปี2566-2569 ของกรมธนารักษ์

ข้อมูล ฐานเศรษฐกิจ
ติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ Thainews