เปิดประวัติ ประเพณีรับบัว หนึ่งเดียวในประเทศไทย

เปิดประวัติ ประเพณีรับบัว ของชาวอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทปราการ ที่สืบทอดมาตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน มีแห่งเดียวในโลก และ หนึ่งเดียวในประเทศไทย

ประวัติ ประเพณีรับบัว หลายคนอาจจะเคยได้ยิน รับบัว โยนบัว แต่อาจจะไม่รู้ลึกขนาดที่ว่า เริ่มต้นมาตั้งแต่เมื่อไหร่ และจัดขึ้นเพื่ออะไร วันนี้ทีมข่าวไทยนิวส์ออนไลน์และปาฏิหาริย์ จะพาไป เปิดประวัติ ประเพณีรับบัว หนึ่งเดียวในประเทศไทย ว่ามีความเป็นมาอย่างไร

เปิดประวัติ ประเพณีรับบัว หนึ่งเดียวในประเทศไทย

ประเพณีรับบัว 2566

มีความสำคัญในด้านความเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่บรรพบุรุษของชาวบางพลีได้มอบไว้ให้ลูกหลานของตน มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์อันแสดงให้เห็นถึงอัตลักษณ์ชุมชนและความหลากหลายทางวัฒนธรรมและชาติพันธุ์ แสดงให้เห็นถึงแบบอย่างของภูมิปัญญาบรรพบุรุษที่ได้ร่วมกันสร้าง อัตลักษณ์ชุมชนบนพื้นฐานของความเป็นกัลยาณมิตร เอื้ออาทรช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ทั้งอาชีพการงาน ตลอดจนความเชื่อในเรื่องบุญกุศลทั้งภพนี้และภพหน้า

ซึ่งในปัจจุบันประเพณีรับบัว เป็น ประเพณีหนึ่งเดียวในโลก ที่มีประชาชนเรือนหมื่น ทั้งในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการและจังหวัดใกล้เคียงต่างพากันมา นมัสการหลวงพ่อโต โดยจะมีการอัญเชิญองค์หลวงพ่อโตจำลอง ลงเรือบุษบกแห่ไปตามลำคลองสำโรง เพื่อให้ชาวบ้านที่พักอาศัยอยู่ริมสองฝั่งคลอง ได้ร่วมสักการะบูชา เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ครอบครัว ซึ่งจะจัดเป็นประจำทุกปีเริ่มตั้งแต่ขึ้น 13 ค่ำ เดือน 11 ถึง ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ก่อนวันออกพรรษา และประเพณีรับบัว ได้ประกาศขึ้นบัญชีเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม เมื่อปี พ.ศ. 2554 โดย กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม

เปิดประวัติ ประเพณีรับบัว หนึ่งเดียวในประเทศไทย

เปิดประวัติ ประเพณีรับบัว หนึ่งเดียวในประเทศไทย 

เป็นประเพณีเก่าแก่ของชาวอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ที่มีการสืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ แต่ไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่าเริ่มมาตั้งแต่ยุคใดสมัยใด ซึ่งมีข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับความเป็นมาของประเพณีรับบัว 3 ประการดังนี้
 
1. ในสมัยก่อนอำเภอบางพลีมีประชากรอาศัยอยู่ 3 พวก คือ คนไทย รามัญและลาว ซึ่งแต่ละพวกจะมีหัวหน้าคอยดูแลและทำมาหากินในอาชีพต่างๆ กัน และทั้ง 3 พวกก็ปรึกษาหารือกันว่าสมควรช่วยกันหักล้างถางพงให้กว้างขวางยิ่งขึ้น เพื่อทำไร่ทำสวนต่อไป เมื่อพวกคนไทย รามัญและลาว ช่วยกันหักล้างถางพงเพื่อขยายพื้นที่ทำมาหากินมาถึงทาง 3 แยก คือ ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือเป็นคลองสลุด ทางเหนือเป็นคลองชวดลากข้าวและทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือเป็นคลองลาดกระบัง จึงตกลงกันว่าเราควรแยกกันเพื่อไปทำมาหากินคนละทางจะดีกว่าจะได้รู้ว่าภูมิประเทศว่าด้านไหนจะทำมาหากินได้คล่องกว่ากัน โดยพวกคนไทยเลือกไปทางคลองชวดลากข้าว พวกรามัญไปทางคลองลาดกระบัง และพวกลาวเลือกไปทางคลองสลุด แต่พวกรามัญทำมาหากินอยู่ประมาณ 2-3 ปี ก็ไม่ได้ผล เพราะมีนก หนู ชุกชุมรบกวนพืชผลต่างๆ จนเสียหายมากมาย เมื่อทำมาหากินไม่ได้ผล พวกรามัญเลยอพยพกลับถิ่นเดิมที่ปากลัด (พระประแดง) โดยเริ่มอพยพกันในตอนเช้ามืดของเดือน 11 ขึ้น 14 ค่ำ ก่อนไปก็ได้เก็บดอกบัวบริเวณบึงไปด้วย คนไทยที่คุ้นเคยกับพวกรามัญจึงไต่ถามว่าเก็บดอกบัวไปทำไมมากมายเพียงนี้ พวกรามัญบอกว่าจะเอาไปบูชาพระคาถาพัน (เทศน์มหาชาติ) ที่ปากลัด และได้สั่งเสียกับคนไทยที่รักและสนิทชอบพอกันว่าในปีต่อมาเมื่อมาถึงเดือน 11 ขึ้น 14 ค่ำ ให้ช่วยเก็บดอกบัวรวบรวมไว้ที่วัดหลวงพ่อโตนี้เดี๋ยวพวกตนจะมารับ ด้วยคนไทยเป็นคนโอบอ้อมอารีรักพวกพ้องจึงตอบตกลง จากนั้นพวกรามัญก็นมัสการหลวงพ่อโตพร้อมทั้งขอน้ำมนต์ไปเพื่อเป็นสิริมงคลและลากลับถิ่นฐานเดิมที่ปากลัดและนำดอกบัวไปบูชาพระคาถาพันปี ปีต่อมาในเดือน 11 ขึ้น 14 ค่ำ คนไทยบางพลีก็จะเก็บดอกบัวรวบรวมไว้ที่วัดบางพลีใหญ่ (วัดหลวงพ่อโต) ตามคำขอร้องของชาวรามัญ พวกชาวรามัญก็จะมารับดอกบัวทุกปี ซึ่งจะเดินทางมารับในช่วงกลางคืน โดยใช้เรือขนาดจุ 50-60 คน จะมาถึงวัดบางพลีประมาณตี 1-4 ของทุกครั้งที่มาและมีการตีฆ้องร้องเพลงตลอดทางอย่างสนุกสนาน พร้อมทั้งมีการละเล่นต่างๆ ในเรือ ผู้ที่คอยต้อนรับก็พลอยสนุกสนานไปด้วยไมตรีจิตอันดียิ่ง คนไทยก็จะทำอาหารคาวหวานไว้คอยเลี้ยงรับรอง โดยใช้ศาลาวัดเป็นที่เลี้ยงอาหารกันเมื่ออิ่มหนำสำราญแล้วก็จะรับดอกบัวไปนมัสการหลวงพ่อโต จากนั้นก็นำดอกบัวกลับไปบูชาพระคาถาพันที่ปากลัด

เปิดประวัติ ประเพณีรับบัว หนึ่งเดียวในประเทศไทย


2. มีเรื่องเล่ากันจากชาวรามัญที่อพยพเข้ามาในประเทศไทยพร้อมกับเจ้าพระยามหาโยธา (เจ่ง คชเสนีย์) และมาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ปากลลัด (พระประแดง) มีอาชีพทำนาอยู่ที่อำเภอบางพลี เล่าว่าในสมัยกรุงธนบุรีการอพยพของชาวรามัญ เนื่องจากพระเจ้ามังระคิดจะตีกรุงธนบุรี จึงเกณฑ์พวกรามัญซึ่งเป็นเมืองขึ้นของพม่ามาช่วยรบกวนชาวรามัญนั้นได้รับการข่มเหงจิตใจลูกเมียถูกฆ่าชาวรามัญ จึงก่อกบฏต่อพม่าโดยรวมตัวกันไปตีพม่าแต่แพ้สู้พม่าไม่ได้เลยหนีมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารของพระเจ้าตากสินมหาราช และได้นำเอาปี่พาทย์มอญเข้ามาด้วย เมื่อปี พ.ศ. 2317 พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้พวกรามัญไปตั้งภูมิลำเนาที่ปากเกล็ด แขวงนนทบุรี และปากโคก แขวงปทุมธานี ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเยอดฟ้าจุฬาโลก มหาราชทรงโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายครอบครัวชาวรามัญและพระยาเจ่ง มาอยู่ที่นครเขื่อนขันธ์ (พระประแดง) ในปี พ.ศ. 2367 ต่อมาชาวรามัญได้ทำความดีความชอบได้รับพระราชทานที่นาที่บางพลี จึงเป็นเหตุให้ชาวรามัญมาทำนาที่บางพลี ชาวรามัญนั้นจะมาเฉพาะฤดูทำนาเท่านั้น เมื่อเสร็จสิ้นฤดูทำนาก็จะกลับไปที่ปากลัด ชาวรามัญที่ปากลัดส่วนใหญ่จะเคร่งครัดในพระพุทธศาสนา เมื่ออกพรรษาก็จะกลับไปทำบุญที่วัดบ้านของตน โดยจะเก็บดอกบัวที่ตำบลบางพลีใหญ่ซึ่งมีมากมายในสมัยนั้นไปประกอบเป็น ดอกไม้ธูปเทียน ในการทำบุญที่มีการเทศน์คาถาพันส่งท้ายพรรษา ครั้งแรกก็เก็บเองต่อมาชาวอำเภอบางพลีเห็นว่าชาวรามัญมาเก็บดอกบัวทุกปี ในปีต่อๆมาจึงเก็บดอกบัวเตรียมไว้ให้ตามนิสัยคนไทยที่ชอบเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ซึ่งระยะแรกก็ส่งให้กับมือมีการไหว้ขอบคุณ ต่อมาเกิดความคุ้นเคยถ้าใกล้ก็ส่งมือต่อมือ ถ้าไกลก็โยนให้จึง เรียกว่า "รับบัว โยนบัว”

เปิดประวัติ ประเพณีรับบัว หนึ่งเดียวในประเทศไทย


3. ในอดีตตำบลบางพลีใหญ่นั้นเป็นตำบลที่มีดอกบัวมาก อำเภอต่างๆ ที่อยู่ใกล้เคียง เช่น อำเภอเมืองสมุทรปราการ อำเภอพระประแดง และอำเภอต่างๆที่อยู่ใกล้เคียง เมื่อถึงวันออกพรรษาก็จะมาเก็บดอกบัวที่นี้ไปบูชาพระเพราะถือว่าดอกบัวเป็นดอกไม้ทางพุทธศาสนา เช่น เวลาที่พระพุทธเจ้าประทับนั่ง ยืน เดิน จะมีดอกบัวมารองรับเสมออีกประการหนึ่งในเรื่องพระมาลัยได้กล่าวว่ามีชายเข็ญใจคนหนึ่งได้ถวายดอกบัวแก่พระมาลัยยังได้เกิดเป็นเทพบุตรได้ ดังนั้นในสมัยโบราณคนจังนิยมถวายดอกบัวแก่พระในวันออกพรรษาถือว่าได้บุญกุศลแรงมาก ถึงกับลงทุนนอนค้างอ้างแรมยังตำบลนี้เพื่อเก็บดอกบัว ในสมัยแรกๆคงเที่ยวหาเก็บกันเองแต่ในสมัยต่อมาชาวบางพลีก็เตรียมไว้เพื่อเป็นการทำบุญกุศลร่วมกัน

งานรับบัว 2566 งานโยนบัวหลวงพ่อโต เทศกาลงานบุญยิ่งใหญ่หนึ่งเดียวในประเทศไทย จัดขึ้นระหว่าง วันที่ 22-30 ตุลาคม 2566 ณ วัดบางพลีใหญ่ใน จังหวัดสมุทรปราการ จัดเต็ม 9 วัน 9 คืน

กำหนดการงานประเพณีรับบัว ประจำปี 2566 มีดังนี้

วันพุธที่ 25 ตุลาคม 2566

  • เวลา 10.30 น. พิธีเปิดงานประเพณีรับบัว (ราชาแห่งฤกษ์)

วันพฤหัสบดีที่ 26 ตุลาคม 2566

  • เวลา 08.00 น. ขบวนแห่หลวงพ่อโตทางรถ

วันศุกร์ที่ 27 ตุลาคม 2566 

  • เวลา 08.00 น. ขบวนแห่หลวงพ่อโตทางน้ำ
  • เวลา 06.00 น. ตักบาตรพระทางเรือ
  • เวลา 10.00 น. แข่งขันเรือพาย ชิงถ้วยพระราชทาน

วันเสาร์ที่ 28 ตุลาคม 2566

  • เวลา 07.00 น. พิธีโยนบัว สักการะองค์หลวงพ่อโต ชมการประกวดขบวนเรือสวยงาม ทำบุญวันออกพรรษา

เปิดประวัติ ประเพณีรับบัว หนึ่งเดียวในประเทศไทย