ติดตามเรื่องราวดีๆได้ที่ http://www.tnews.co.th

รู้จักกับ “พระภูมิทั้ง 9” คู่บ้าน คู่เมืองชาวสยาม! เทวดาผู้ดูแลเรือกสวนไร่นาป่าเขา บูชาตามประเพณี คุ้มครองป้องภัย พลิกร้ายกลายดี  

บทความพิเศษโดย “ศรุดา เชื้อไทย”

 

ศาลเจ้า ถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่อุทิศให้กับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มีความสำคัญ ควรค่าแก่การนับถือและสักการะ หรือบุคคลสำคัญทางศาสนา

ศาลต่างๆที่ปรากฏอยู่ในสังคมไทยมีอยู่อย่างหลากหลาย เช่น ศาลเจ้าที่ ศาลเทพต่างๆ ในที่นี้จะขอกล่าวถึงศาลพระภูมิ

การตั้งศาลพระภูมินั้น ตามจารีตโบราณของชาวไทย นักปราชญ์หลายท่านได้สันนิษฐานไว้ว่า ได้รับอิทธิพลมาจากความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ที่แผ่ขยายเข้ามาในดินแดนแถบสุวรรณภูมิแห่งนี้ตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว ผนวกเข้ากับความเชื่อดั้งเดิมของชาวไทย

พระภูมิ เชื่อกันว่าเป็นเจ้าของพื้นที่ต่างๆในโลกนี้และมีหน้าที่ดูแลความสงบเรียบร้อย ณ สถานที่ต่างๆมีอิทธิฤทธิ์ช่วยปกป้องคุ้มครอง หรือดลบันดาลให้สิ่งร้ายกลายเป็นสิ่งดี และให้โชคลาภความสุข ความสำเร็จ ตามสมควรแก่บุคคลผู้ซึ่งแสดงความเคารพ ปฏิบัติบูชา เซ่นสังเวย ตามโอกาสอันควร และตั้งศาลให้เป็นที่สถิตของพระภูมิโดยถูกต้องตามแบบแผนประเพณี

 

ตามประวัติแล้ว เชื่อกันว่าการกำเนิดของพระภูมิผู้ดูแลสถานที่นั้น มีเรื่องเล่าสืบกันมาว่า กาลครั้งโบราณกาลนั้นมีพระราชาอยู่พระองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า "ท้าวทศราช" ปกครองกรุงพาลี ซึ่งถือกันว่าเป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ ทรงมีพระมเหสีพระนามว่าพระนางสันทรทุกเทวี มีพระราชโอรส 9 พระองค์ คือ

รู้จักกับ “พระภูมิทั้ง 9” คู่บ้าน คู่เมืองชาวสยาม! เทวดาผู้ดูแลเรือกสวนไร่นาป่าเขา บูชาตามประเพณี คุ้มครองป้องภัย พลิกร้ายกลายดี

(พระภูมิชัยมงคล องค์นี้ที่บ้านคนไทยนิยมตั้งไว้ดูแลบ้าเนรือน)

  • พระชัยมงคล: ทรงฉลองพระองค์อย่างกษัตริย์หรือเทพารักษ์โดยทรงสวมชฎาทรงสูง สวมพระภูษาห้อยชายมีสายธุรำ และสายสังวาลย์ ทรงสวมกำไล,ปั้นเหน่งและพาหุรัด สวมฉลองพระบาทเชิงงอน พระหัตถ์ซ้ายทรงถือถุงเงิน พระหัตถ์ขวาทรงถือพระขรรค์ ปกครองดูแลเคหสถานบ้านเรือนและร้านโรงต่างๆ

รู้จักกับ “พระภูมิทั้ง 9” คู่บ้าน คู่เมืองชาวสยาม! เทวดาผู้ดูแลเรือกสวนไร่นาป่าเขา บูชาตามประเพณี คุ้มครองป้องภัย พลิกร้ายกลายดี

 

พระนครราช: ทรงฉลองพระองค์เช่นเดียวกับพระภูมิชัยมงคลแต่พระหัตถ์ซ้ายถือช่อดอกไม้ ดูแลปกครองป้อม,ค่าย,ประตูเมือง,หอรบและบันไดต่างๆ

รู้จักกับ “พระภูมิทั้ง 9” คู่บ้าน คู่เมืองชาวสยาม! เทวดาผู้ดูแลเรือกสวนไร่นาป่าเขา บูชาตามประเพณี คุ้มครองป้องภัย พลิกร้ายกลายดี

 

- พระเทเพล หรือ พระเทเพน : ทรงฉลองพระองค์เช่นเดียวกับพระภูมิชัยมงคล แต่พระหัตถ์ซ้ายถือหนังสือหรือคัมภีร์ ปกครองดูแลฟาร์ม,ไร่และคอกสัตว์ต่างๆ

รู้จักกับ “พระภูมิทั้ง 9” คู่บ้าน คู่เมืองชาวสยาม! เทวดาผู้ดูแลเรือกสวนไร่นาป่าเขา บูชาตามประเพณี คุ้มครองป้องภัย พลิกร้ายกลายดี

 

- พระชัยศพน์ หรือพระชัยสพ : ทรงฉลองพระองค์เช่นเดียวกับพระภูมิชัยมงคล แต่พระหัตถ์ขวาถือหอก พระหัตถ์ซ้ายวางแนบอยู่บริเวณพระสะเอว ปกครองดูแลเสบียง,คลังและยุ้งฉางต่างๆ

รู้จักกับ “พระภูมิทั้ง 9” คู่บ้าน คู่เมืองชาวสยาม! เทวดาผู้ดูแลเรือกสวนไร่นาป่าเขา บูชาตามประเพณี คุ้มครองป้องภัย พลิกร้ายกลายดี

 

- พระคนธรรพน์ : ทรงฉลองพระองค์เช่นเดียวกับพระภูมิชัยมงคล แต่พระหัตถ์ซ้ายถือผะอบ ปกครองดูแลพิธีวิวาห์, เรือนหอและสถานบันเทิงต่างๆ

รู้จักกับ “พระภูมิทั้ง 9” คู่บ้าน คู่เมืองชาวสยาม! เทวดาผู้ดูแลเรือกสวนไร่นาป่าเขา บูชาตามประเพณี คุ้มครองป้องภัย พลิกร้ายกลายดี

- พระธรรมโหรา หรือ พระเยาวแผ้ว : ทรงฉลองพระองค์เช่นเดียวกับพระภูมิชัยมงคล แต่พระหัตถ์ซ้ายแพนหางนกยูง ปกครองดูแลโรงนา,ป่าเขา,ลำเนาไพรและเรือกสวนต่างๆ

รู้จักกับ “พระภูมิทั้ง 9” คู่บ้าน คู่เมืองชาวสยาม! เทวดาผู้ดูแลเรือกสวนไร่นาป่าเขา บูชาตามประเพณี คุ้มครองป้องภัย พลิกร้ายกลายดี

 

- พระเทวเถร (พระวัยทัตหรือ พระเทวเถรวัยทัต) : ทรงฉลองพระองค์เช่นเดียวกับพระภูมิชัยมงคลแต่พระหัตถ์ขวาถือธารพระกร ( ไม้เท้า ) ปกครองดูแลปูชนียสถาน,เจดีย์และวัดวาอารามต่างๆ

รู้จักกับ “พระภูมิทั้ง 9” คู่บ้าน คู่เมืองชาวสยาม! เทวดาผู้ดูแลเรือกสวนไร่นาป่าเขา บูชาตามประเพณี คุ้มครองป้องภัย พลิกร้ายกลายดี

 

- พระธรรมมิกราช หรือ พระธรรมมิคราช : ทรงฉลองพระองค์เช่นเดียวกับพระภูมิชัยมงคล แต่พระหัตถ์ซ้ายถือพวงมาลา ปกครองดูแลกิจต่างๆ อันเกี่ยวกับพืชพันธุธัญญาหารทั้งปวงและพระราชอุทยาน

รู้จักกับ “พระภูมิทั้ง 9” คู่บ้าน คู่เมืองชาวสยาม! เทวดาผู้ดูแลเรือกสวนไร่นาป่าเขา บูชาตามประเพณี คุ้มครองป้องภัย พลิกร้ายกลายดี

 

พระทาษธารา : ทรงฉลองพระองค์เช่นเดียวกับพระภูมิชัยมงคล แต่พระหัตถ์ไม่ได้ถืออะไร ปกครองดูแลบึง, ห้วยหนอง,คลองและลำธารต่างๆตลอดจนน้ำที่ตกลงมาจากฟ้า

 

ขอขอบคุณข้อมูล-รูปภาพจาก

https://www.gotoknow.org/posts/391607

http://jokertheshock.blogspot.com/2015/10/blog-post_0.html

http://ghostwiki.blogspot.com/2012/02/blog-post_8968.html

https://th.wikipedia.org/wiki/ศาลเจ้า

http://www.mordookrungsiam.com/san_knowledge_02.html

http://palungjit.org/threads/ประวัติชาติไทยตั้งแต่ต้นกัป-พุทธสาสนสุวัณณภูมิปกรณ-พิมพ์เป็นตัวอักษร.356194/page-2