ติดตามเรื่องราวดีๆอีกมากมาย ได้ที่ http://www.tnews.co.th

คาถาบูชากรมหลวงชุมพร

( บทยาว ) นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ(สวด ๓ จบ)

ชุมพรจุติ อิทธิกะระณัง สุโข นะโมพุทธายะ มะอะอุ อิสะวาสุ สุสะวาอิ

อิทธิฤทธิ อิทธิฤทธัง อรหังพุทโธ พุทธมหาลาโภ มหาเทโว พุทโธโลกะนาถัง พุทธอรหังอะ นะมะพะทะ จะพะกะสะ หุลุ หุลู สวาหายะ ภวันตุ เต (เม)

 ( บทสั้น ) นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (สวด ๓ จบ)

ชุมพรจุติ อิทธิกะระณัง สุโข นะโมพุทธายะ​

เครื่องสักการะ

กุหลาบแดง, พวงมาลัยดอกมะลิหรือดอกเขี้ยวกระแต, จุดประทัดถวาย,ยิงปืนถวายด้วยกระสุนจริงหรือถวายสมอเรือ, พังงาเรือ,ปืนใหญ่จำลอง, เรือรบจำลอง

เครื่องสังเวย

น้ำตาลเมา ( โปรดเป็นพิเศษ ), เบียร์, บรั่นดี, ซิการ์ หรือ บุหรี่แบบซิกาแร็ต, น้ำชาจีน, ขนมจีนน้ำพริก ( โปรดเป็นพิเศษ ), ขนมและผลไม้ไทยทั่วไป กับข้าวแบบไทยทั่วไป (รสจัด), เป็ด, ไก่, ปลา, กุ้ง

พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพร เขตอุดมศักดิ์ ( ต้นราชสกุล อาภากร ) ทรงเป็น พระเจ้าลูกยาเธอ ในพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาล ที่ ๕ นับลำดับราชสกุลวงศ์เป็นพระองค์ที่ ๒๘ มีพระนามเดิมว่า " พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ " ประสูติใน พระบรมมหาราชวัง เมื่อวันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๒๓ ตรงกับวันอาทิตย์ แรม ๓ ค่ำ เดือนอ้าย ปีมะโรง

จุลศักราช ๑๒๔๒ เวลา ๑๔.๕๗ และทรงเป็น พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์ที่ ๑ ในเจ้าจอมมารดาโหมด ธิดาเจ้าพระยาสุยาสุรวงศ์ ไวยวัฒน์ ( วร บุนนาค ) พระองค์ทรงมีพระกนิษฐา และพระอนุชา

ร่วมพระมารดา ๒ พระองค์ คือ พระองค์เจ้าหญิงอรองค์อรรคยุพา ( สิ้นพระชนม์เมื่อทรงพระเยาว์ ) และพระองค์เจ้าสุริยงประยุรพันธ์

การศึกษา

เมื่อเสด็จในกรมหลวงชุมพรฯ ยังทรงพระเยาว์ ทรงได้รับการศึกษาชั้นแรก ในพระบรมมหาราชวัง

มีพระยาอิศรพันธ์โสภร (พูน อิศรางกูร) เป็นพระอาจารย์ และทรงศึกษา ภาษาอังกฤษกับ r.Morant ซึ่งเป็นชาวอังกฤษ และได้ทรงเข้าเป็นนักเรียน ในโรงเรียนหลวงณ พระตำหนักสวนกุหลาบอยู่จนถึงทรงโสกันต์

ในปี พ.ศ. ๒๔๓๖ เมื่อเสด็จในกรมหลวงชุมพรฯ ทรงมีพระชนมายุได้ ๑๓ พรรษา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้เสด็จในกรมฯ เสด็จไปทรงศึกษาต่อ ณ ประเทศอังกฤษ พร้อมกับ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ซึ่งในขณะนั้น ทรงดำรงพระอิสริยศักดิ์เป็น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ

เสด็จในกรมฯ จึงนับเป็น พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์แรก ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ได้เสด็จไปทรงศึกษา เกี่ยวกับ วิชาการทหารเรือ ยังต่างประเทศ ทั้งนี้เพราะ พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าฯ ทรงมีพระราชดำริว่า

"...กิจการทหารเรือไทย เท่าที่ได้เป็นอยู่ในขณะนั้น ต้องอาศัยชาวต่างประเทศเป็นผู้บังคับบัญชาการเรือ และป้อม อยู่เป็นอันมาก จึงไม่สู้ จะมีความมั่นคงเท่าใดนัก ดังจะเห็นได้จาก เหตุการณ์ ร.ศ.๑๑๒ (พ.ศ.๒๔๖๓) เป็นตัวอย่างอันดี จึงนับว่า เป็นพระราชดำริ ที่เหมาะสม ในการส่ง พระราชโอรส ไปทรงศึกษา วิชาการทหารเรือในครั้งนี้..."

น้อมรำลึก ๑๙ ธันวาคม ๒๕๖๐ คล้ายวันประสูติ \"เสด็จเตี่ย\"แนะเคล็ดบูชาอย่างถูกวิธี..พระองค์ไม่ทรงโปรดคล้องพวงมาลัยพระเศียร พะแนงเนื้อห้ามเด็ดขาด

น้อมรำลึก ๑๙ ธันวาคม ๒๕๖๐ คล้ายวันประสูติ \"เสด็จเตี่ย\"แนะเคล็ดบูชาอย่างถูกวิธี..พระองค์ไม่ทรงโปรดคล้องพวงมาลัยพระเศียร พะแนงเนื้อห้ามเด็ดขาด

เสด็จเตี่ย

ราชการทหารเรือ

หลังจากที่เสด็จในกรมฯ เสด็จกลับมาถึงกรุงเทพฯแล้ว ในวันที่ ๒๓ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๔๓ ได้รับ พระราชทานยศ เป็น นายเรือโท (เทียบเท่า นาวาตรีในปัจจุบัน) ทั้งนี้ ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ จะให้เป็น ผู้บังคับการเรือปืน ที่กำลังจัดซื้อ คือ ร.ล.พาลีรั้งทวีป หรือ ร.ล.สุครีพครองเมือง ลำใดลำหนึ่ง ในขั้นแรก ทรงรับราชการในตำแหน่ง "แฟลคเลบเตอร์แนล" (นายธง) ของผู้บัญชาการกรมทหารเรือ คือ พลเรือโทพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปคม เสด็จในกรมฯ ได้ทรงสำรวจการ ป้องกัน ลำน้ำเจ้าพระยา และได้ทูลเกล้าฯ ถวายรายงานต่อ ผู้บัญชาการกรมทหารเรือ โดยละเอียด ทรงริเริ่มกำหนด แบบสัญญาณธงสองมือ และโคมไฟ ตลอดจนเริ่มฝึกพล "พลอาณัติสัญญา" (ทัศนสัญญาณ) ขึ้นเป็นครั้งแรกในปีนี้ พลเรือโท พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปคม ผู้บัญชาการกรมทหารเรือทรงพอพระทัย ในการปฏิบัติงานของ เสด็จในกรมฯ มาก ทรงยกย่องว่า ทรงมีความรู้จริง และมีความกระตือรือร้น ที่จะทำงานในวันที่ ๓ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๔๔ เสด็จในกรมฯ ได้รับพระราชทานยศ เป็นนายเรือเอก (เทียบเท่า นาวาเอกในปัจจุบัน) และได้ตามเสด็จ พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสชวา ในเรือพระที่นั่งมหาจักรี ในระหว่างวันที่ ๕ พฤษภาคม ถึงวันที่ ๒๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๔๔ ครั้นต่อมา ในวันที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๔๔๔ จึงทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯให้เป็น รองผู้บัญชาการ กรมทหารเรือ ในวันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๔๗ ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนยศ เสด็จในกรมฯ จากนาวาเอก เป็นพลเรือตรี และคงทรงดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการกรมทหารเรือ ครั้นในวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ในปีเดียวกันนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระอิสริยศ เป็น กรมหมื่นชุมพรเขตอุดมศักดิ์

หมอพรของชาวบ้าน

"... เสด็จในกรมฯ ได้ทรงออกจากประจำการ ชั่วระยะเวลาหนึ่ง เมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๔ และได้ทรงศึกษาวิชาแพทย์ แผนโบราณ จากตำราไทย ทรงเขียนตำราสมุดข่อยด้วยฝีพระหัตถ์ ของพระองค์เอง ซึ่งกล่าวกันว่า ปัจจุบันสมุดข่อย ตำรายานี้ได้เคยเก็บรักษาอยู่ ณ ศาลกรมหลวงชุมพร นางเลิ้ง เป็นสมุดข่อยปิดทองที่สวยงามมาก มีภาพพระพุทธเจ้านั่งขัดสมาธิ เขียนด้วยหมึกสี ด้านซ้าย และด้านขวา เป็นภาพฤาษี ๒ องค์ นั่งพนมมือ ถัดมาเป็นรูปพระอาทิตย์ทรงราชรถ และมีอักษรเขียน เป็นภาษาบาลีว่า "กยิราเจ กยิราเถนํ"ขอบสมุดเขียน เป็นลายไทยสีสวยงาม หน้าต้นของสมุดตำรายานี้มีข้อความว่า "พระคัมภีร์อติสาระวรรค โบราณกรรม และปัจจุบันกรรม จบบริบูรณ์ของกรมหมื่นชุมพร เขตอุดมศักดิ์ ทรงค้นคว้า ตรวจหาตาม คัมภีร์เก่า เกือบจะสูญสิ้นอยู่แล้ว จนสำเร็จในปี พ.ศ.๒๔๕๘ "..." เมื่อทรงลาออกจาก ราชนาวีแล้ว ทรงอยู่ว่างๆ รำคาญพระทัยจึงลงมือศึกษาวิชาแพทย์แผนโบราณ จนชำนิชำนาญ และรับรักษาโรคให้ประชาชนพลเมืองทั่วไป โดยไม่คิดมูลค่า จนเป็นที่เลื่องลือว่ามีหมออภินิหารรักษาความป่วยไข้ได้เจ็บ ได้อย่างหายเป็นปลิดทิ้งทรงเห็นว่าการช่วยชีวิตคน เป็นบุญกุศลแก่พระองค์ จึงทรงตั้งหน้าเล่าเรียนกับพระยาพิษณุฯ หัวหน้าหมอหลวง แห่งพระราชสำนัก ซึ่งหัวหน้าฝ่ายยาไทยของประเทศไทยผู้นี้ ก็ได้พยายามถ่ายเทความรู้ให้ พระองค์ได้พยายามค้นคว้า และปรับปรุงอยู่ตลอดเวลา เช่น เอาสัตว์ปีกจำพวก นก เป็ด ไก่ ที่ตายแล้ว ใส่ขวดโหลดองไว้ ที่เป็นๆ ก็จับเลี้ยงไว้ในกรงอีกมากมายไว้ที่วัง ทรงหมกมุ่นอยู่กับการแยกธาตุ และทดลองทั้งวัน ถึงแม้ว่าจะทรงชำนิชำนาญ ในกิจการแพทย์ฝ่ายแผนโบราณ แล้วก็ตาม แต่จะไม่ทรงยินยอมรักษาใคร เป็นอันขาด จนกว่าจะได้รับการทดลองแม่นยำแล้วว่า เป็นยาที่รักษาโรคชนิดพื้นๆ ให้หายขาดได้ อย่างแน่นอน ให้ทรงทดลองให้สัตว์เล็กๆ กินก่อน เมื่อสัตว์เล็กกินหาย ก็ทดลองสัตว์โต เมื่อสัตว์โตหาย จึงทดลองกับคน และประกาศอย่างเปิดเผยว่า จะทรงสามารถ รักษาโรคนั้นโรคนี้ ให้หายขาดได้

น้อมรำลึก ๑๙ ธันวาคม ๒๕๖๐ คล้ายวันประสูติ \"เสด็จเตี่ย\"แนะเคล็ดบูชาอย่างถูกวิธี..พระองค์ไม่ทรงโปรดคล้องพวงมาลัยพระเศียร พะแนงเนื้อห้ามเด็ดขาด

เสด็จเตี่ย

เมื่อผู้คนพากันรู้ว่า เจ้าพ่อรักษาโรคได้ฉมังนัก จึงทำให้ร่ำลือ

และแตกตื่นกันทั้งบ้าน ทั้งเมือง ไม่ทรงให้ใครเรียกพระองค์ว่า

เสด็จในกรมฯ หรือยกย่อง เป็นเจ้านาย แต่ทรงเรียกพระองค์เองว่า "หมอพร" เมื่อมีประชาชน มาหาพระองค์ให้รักษา ก็ทรงต้อนรับ ด้วยไมตรีจิต และรักษาให้เป็นการฟรี ไม่คิดค่ารักษา แต่ประการใด นอกจากจะเชิญไปรักษาตามบ้าน ซึ่งเจ้าของไข้จะต้องหารถรา ให้พระองค์เสด็จไป และนำเสด็จกลับ โดยมากเป็นรถม้าเท่านั้น เมื่อกิตติศัพท์ร่ำลือกันว่า หมอพรรักษาโรคได้ฉมังนัก และไม่คิดมูลค่าเป็นเงินทองด้วย ประชาชนก็พาเลื่อมใสทั้งกรุงเทพฯ และระบือลือลั่นไปทั้งกรุง เป็นเหตุให้ ความนิยมพระองค์ ได้กว้างขวาง และกิตติศัพท์นี้ ก็ไปถึงพระกรรณ ในหลวง ร.๖ ซึ่งทำให้ทรงพิศวงไม่ใช่น้อย เหมือนกับว่า อนุชาของพระองค์เป็นผู้ที่ แปลกประหลาดอย่างยิ่งทีเดียว ทั้งๆ ที่ยังหนุ่มแน่น ทหารก็รักใคร่และเรียกเป็น "เจ้าพ่อ" เดี๋ยวนี้ประชาชนทั้งเมือง เลื่องลือกันว่าเป็นผู้วิเศษกันอีก ที่สำคัญคือไม่คิดเงินคิดทองผู้ไปรักษาจึงทำให้สภาวะของวังพระองค์ท่าน กลายเป็นโรงพยาบาลเล็ก ๆ ที่ต้อนรับผู้คนอย่างแน่นขนัดขึ้นมา ทุกวันจะมีคนไปที่วังแน่นขนัด และทรงต้อนรับด้วยดีทุกคน เมื่อไปถึงก็พากันกราบกราน ที่พระบาท ขอให้ "หมอพร" ช่วยชุบชีวิต คนเจ็บคนป่วย ก็ทรงเต็มพระทัยรักษาให้ จนหายโดยทั่วกัน...

จนกระทั่งชาวจีนย่านสำเพ็ง มีความซาบซึ้ง ในพระกรุณาธิคุณ

และได้เรียกพระองค์ท่านว่า "เตี่ย" ซึ่งหมายถึงพ่อ ทำให้ในเวลาต่อมาทหารเรือได้เรียกพระองค์ว่า "เสด็จเตี่ย" สำหรับในหมู่คนไข้ชาวไทย ที่พระองค์รักษานั้น มักจะเรียกขานนามพระองค์ว่า "หมอพร" พล.ร.อ.พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ทรงประชวร และสิ้นพระชนม์ ในขณะที่ประทับอยู่ที่หาดทรายรี ปากน้ำเมืองชุมพร เมื่อวันที่ ๑๙พ.ค. ๒๔๖๖ เวลา ๑๑.๔๐ น.

สิ่งที่ไม่โปรด

การเอาพวงมาลัยไปสวมพระเศียร

อาหารที่ปรุงด้วยเนื้อวัว เนื้อหมู

( โดยเฉพาะพะแนงเนื้อ ห้ามเด็ดขาด มีผู้เคยถวายแล้วเกิดอาเพศกับผู้นั้น )​


น้อมรำลึก ๑๙ ธันวาคม ๒๕๖๐ คล้ายวันประสูติ \"เสด็จเตี่ย\"แนะเคล็ดบูชาอย่างถูกวิธี..พระองค์ไม่ทรงโปรดคล้องพวงมาลัยพระเศียร พะแนงเนื้อห้ามเด็ดขาด

หมอพร

ขอขอบพระคุณท่านเจ้าของภาพ และที่มาเนื้อหาข้อมูลมา ณ ที่นี้

http://palungjit.org

ชมรมคนศรัทธาเสด็จเตี่ย(กรมหลวงชุมพรฯ)

เผยแผ่บารมี เทิดทูนเกียรติศักดิ์พระองค์ท่าน.