ติดตามเรื่องราวดีๆ ได้ที่ www.tnews.co.th

เปิดตำนานสยองขวัญ “ยายกะลา ตากะลี”

เจ้าที่เจ้าทางตามคติ การนับถือผีบรรพบุรุษของกลุ่มชนชาวไทยดั้งเดิม!!!

หากพูดถึงเรื่องตำนาน ความเชื่อ หรือเรื่องราวในอดีตที่เคยเป็นมาความเชื่อโบราณที่มีมาตั้งแต่ก่อนโบราณกาลก็คงจะมีมากมายหลากหลายความเชื่อหรือหลายตำนาน

วันนี้เราจะพาทุกคนมารู้จักกับหนึ่งตำนานโบราณของไทย“ตำนาน ยายกะลา ตากะลี”

ความเชื่อวันนี้ ตำนาน “ยายกะลา ตากะลี” เป็นชื่อของเจ้าที่เจ้าทางตามคติการนับถือผีบรรพบุรุษของกลุ่มชนชาวไทยดั้งเดิมก่อนที่พุทธศาสนาจะเข้ามาแพร่หลายในดินแดนแถบนี้

แต่เดิมเชื่อว่าเป็นผีผู้สร้างโลก โดยทั้งคู่ได้ปั้นมนุษย์ขึ้นเป็นคู่แรกต่อมาพอความเชื่อทางพุทธและพราหมณ์เข้ามาแทนที่ทั้งสองจึงกลายเป็น ผีผู้คุมเหล่าผีทั้งหลายในป่าช้าหรือที่ บางทีพวกหมอผีจะเรียกว่า นายป่าช้ายายกะลา ตากะลี จัดเป็นผีที่มีอิทธิพลสูงในทางไสยศาสตรก่อนที่

เปิดตำนาน!!นายป่าช้า.."ยายกะลา ตากะลี"ผีเจ้าที่เจ้าทาง เป็นที่ยำเกรงของเหล่าหมอผี.. แม้แต่ผีด้วยกันเอง..ยังเกรงกลัว..

หมอผีจะเข้าไปทำกิจอันใดในป่าช้าจะต้องบวงสรวงซะก่อนว่าจะยินยอมให้ทำกิจนั้นๆ ได้หรือไม่ เช่นการขุดศพเพื่อนำน้ำเหลืองไปทำน้ำมันพรายเป็นต้นถ้า นายป่าช้าไม่ยอมหรือไม่พอใจในเครื่องเส้นไหว้หมอผีคนนั้นๆ ก็จะไม่สามารถทำพิธีต่อไปได้เพราะถ้าฝืนไปจะต้องเกิดอันตรายขึ้นแก่ตัว สมัยก่อนเวลาเผาศพ เราจึงมักได้ยินคนแก่ในบางพื้นที่โยนเงินเหรียญลงไปในโลงแล้วพูดว่า

“ยายกะลา ตากะลี ขอซื้อที่ ๓ วา ๒ ศอก”เหมือนเป็นการซื้อที่อยู่ให้กับผู้ตาย

เปิดตำนาน!!นายป่าช้า.."ยายกะลา ตากะลี"ผีเจ้าที่เจ้าทาง เป็นที่ยำเกรงของเหล่าหมอผี.. แม้แต่ผีด้วยกันเอง..ยังเกรงกลัว..

เพราะในสมัยก่อนนั้นศพของผู้ตายมักจะฝังไว้ก่อนแล้วค่อยนำมาเผาทีหลัง

หรือในบางพื้นที่ก็จะเรียกต่างกันไปเช่น ปู่สังกะสา ย่าสังกะสี ก็มีและยังมีอีกมากมาย

เช่นคนไทลื้อ เรียก ปู่ย่าผู้ให้กำเนิดนี้ว่า ปู่สังกะสา-ย่าสังกะสีคนไท ยวนเชียงใหม่ เรียก ปู่สังสะ-ย่าสังไส้ หรือ ปู่สองสี ย่าสองไส้ ก็มีคนไทเขินเชียงตุง เรียก ปู่สังกะสี-ย่าสังกะไส้ หรือ ปู่แถน-ย่าแถนคนอิสานเรียก ปู่สังกะสา-ย่าสังกะสี เหมือนไทลื้อ

เปิดตำนาน!!นายป่าช้า.."ยายกะลา ตากะลี"ผีเจ้าที่เจ้าทาง เป็นที่ยำเกรงของเหล่าหมอผี.. แม้แต่ผีด้วยกันเอง..ยังเกรงกลัว..

ขอขอบพระคุณท่านเจ้าของภาพ เจ้าของบทความ และที่มาข้อมูล

soccersuck.com

แอพเกจิ – AppGeji